connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Pest control / การควบคุมสัตว์รบกวน

การควบคุมสัตว์รบกวน (pest) ได้แก่ แมลง หนู แมลงสาบไม่ให้แพร่พันธุ์ หรือไม่ให้เข้าไปรบกวนในบริเวณที่ผลิตอาหาร
หรือเก็บรักษาอาหาร เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนมากับสัตว์เหล่านี้

 

1. แมลงวัน

ความสำคัญด้านสุขาภิบาลอาหาร แมลงวันเป็นสัตว์ที่กินอาหารได้ทุกชนิด หาอาหารกินตามกองขยะ เศษอาหาร ซากสัตว์
อุจจาระของมูลสัตว์ ทำให้เกิดเชื้อโรคต่างๆ เช่น บิด ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค รวมทั้งไข่ของพยาธิ ซึ่งสามารถติดมากับแมลงวันได้
โดยติดมากับขนตามตัว ขนที่ขา หรือเชื้อโรคปะปนมากับของเหลวในกระเพาะอาหาร และระบบทางเดินอาหารแมลง
การควบคุมและกำจัด โดยมีแนวทางหลักๆ อยู่ 3 ประการคือ

  • การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เป็นการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลง โดยการกำจัดขยะมูลสัตว์ น้ำโสโครก
    ใช้ส้วมที่ถูกสุขลักษณะและจัดเก็บรักษาอาหารในตู้ที่มิดชิด
  • ทำลายตัวอ่อนแมลงวัน
    - โดยใช้ความร้อนจากแสงแดด ทำลายไข่ของแมลงวันโดยการนำไปตากแดด
    - ใช้สารเคมีกำจัดแมลงโดยใช้ความเข้มข้นตามฉลากระบุ เช่น ใช้ DDVP, Diazenon Chlorpyriphos, Malathion,
    Dipterex เป็นต้น การใช้สารเคมี หรือยาฆ่าแมลง ต้องเลือก และใช้อย่างระมัดระวัง เพราะเป็นพิษต่อมนุษย์และอาจ
    ปนเปื้อนลงไปในอาหาร ทั้งแบบที่เกิดเป็นพิษกับแมลงหลังจากบริโภคเข้าไป หรือแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย หรือเป็นแก๊ส
    ทำอันตรายต่อแมลงหลังจากหายใจเข้าไป

2. แมลงสาบ

ความสำคัญด้าน สุขาภิบาลอาหาร แมลงสาบเป็นแมลงพาหะนำโรคที่พบเห็นตามบ้านเรือนทั่วไป โดยมันจะกัดกิน หรือเดิน
ผ่านอาหารและจะสำรอก หรือถ่ายลงบนอาหารนั้น ซึ่งจะทำให้มีเชื้อโรคต่างๆ รวมทั้งพยาธิปนเปื้อนสู่อาหาร ทำให้ผู้บริโภค
ได้รับเชื้อโรคและเจ็บป่วยได้
แมลงสาบจะเป็นพาหะนำโรคต่างๆ เช่น อหิวาตกโรค วัณโรค บิด พยาธิต่างๆ และโปลิโอ เป็นต้น
การควบคุมและกำจัด

  • ทำลายแมลงสาบและไข่ของแมลงสาบ มี 3 วิธีคือ
    - การใช้กับดัก ซึ่งจะใช้อาหารล่อให้แมลงสาบเข้าไปในกับดักแต่ไม่สามารถออกมาได้
    - การใช้สารเคมีพวกคาร์บาเมต ออร์กาโนฟอสเฟต ส่วนในบริเวณห้องเก็บรักษาอาหาร และปรุงอาหาร ควรใช้กลุ่มไพเรทริน
    ฉีดพ่นตามแนวผนังและพื้น
    - การกำจัดไข่แมลงสาบ เมื่อพบไข่แมลงสาบ ควรกำจัดโดยการเผาทิ้ง
  • ทำลายแหล่งอาหารของแมลงสาบ โดยการกำจัดเศษอาหารหรือเศษขยะโดยการทิ้งในถังขยะปิดสนิท ผังหรือเผา
    และจัดเก็บวัตถุดิบ อาหารที่ปรุงเสร็จให้มิดชิด รวมทั้งความสะอาดของรางระบายน้ำและห้องส้วม เพื่อไม่ให้เป็นที่อยู่
    อาศัยของแมลงสาบ

3.  มด

ความสำคัญด้านสุขาภิบาลอาหาร มดเป็นสัตว์ที่มีนิสัยการกินอาหารไม่เลือก ถ้าหากเป็นอาหารที่เป็นของแข็ง มดจะปล่อย
น้ำย่อยออกมาย่อยให้อาหารให้ละลายก่อนแล้วจึงกินเข้าไป เนื่องจากนิสัยที่กินอาหารไม่เลือกและเดินไปทุกหนทุกแห่ง
ทำให้เป็นโอกาสอันดีให้เชื้อโรคปนเปื้อนจากบริเวณที่มดเดินผ่านติดไปกับขาและขนขา เข้าไปสู่อาหารนั้นๆ ได้ ซึ่งจะก่อให้เกิด
อันตรายต่อผู้บริโภค

การควบคุมและกำจัด

1. กำจัดรังมด

2. ใช้น้ำหล่อขาตู้หรือชั้นวางของ

3. ใช้สารเคมีพ่นตามพื้น เช่น พวกดิบเทอร์แรกซ์ หรือไบกอน

 

4.  หนู

ความสำคัญด้านสุขาภิบาลอาหาร หนูนอกจากจะเป็นตัวกัดแทะทำความเสียหายแก่เครื่องอุปโภคบริโภคแล้ว ยังพบว่า
หนูเป็นพาหะที่สำคัญในการแพร่โรค เช่น โรคซาลโมเนลโลซิส (salmonellasis) ซึ่งเกิดจากแบคทีเรีย Salmonella 
โรคกาฬโรค โรคพิษสุนัขบ้า โรคบิดมีตัว โรคไข้หนูกัด โรคพยาธิต่างๆ เป็นต้น

การควบคุมและกำจัด

  • โดยการกำจัดแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของหนู โดยการทำความสะอาดสถานที่ กำจัดขญะมูลฝอย
    และจัดเก็บรักษาวัตถุดิบและอาหารที่ปรุงสำเร็จให้สูงกว่าพื้นและปิดให้มิดชิด
  • การกำจัดหนู อาจทำได้ 2 วิธี คือ

      - การใช้กับดัก หรือกรงดัก การทำให้เกิดการสั่นสะเทือน การปิดทางเข้า-ออก

      - การใช้สารเคมี เช่น การรมควันด้วยแก๊สพิษ การวางยาเบื่อหนูโดยใช้สารเคมีผสมเหยื่อ เช่น ยาเบื่อหนูชนิด
ออกฤทธิ์เฉียบพลัน จะทำให้หนูตายใน 1-2 วัน เช่น พวกซิงค์ฟอสไฟด์, เร็คสควิล, สารหนูแอนทู ยาชนิดนี้เหมาะกับ
บริเวณที่มีหนูจำนวนมากและลดปริมาณหนูอย่างรวดเร็ว ส่วนยาเบื่อหนูชนิดออกฤทธิ์ช้าใช้เพื่อกำจัดหนูในระยะยาว
เช่น พวกวอร์ฟาริน ราคูมิน เป็นต้น โดยจะต้องใช้ยาเบื่อหนูในอัตราส่วนที่กำหนด

 

 



(เข้าชม 1,809 ครั้ง)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก