เต้าเจี้ยว (soy paste) เป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่ได้จากการหมัก (fermentation) เพื่อการถนอมอาหารจัดในกลุ่มอาหารหมักเกลือ
(salt curing) มีวัตถุดิบสำคัญคือถั่วเหลือง (soybean)
เต้าเจี้ยวมาใช้เป็นส่วนประกอบอาหาร และเป็นเครื่องปรุงรส (condiment) สำหรับอาหารมีรสอูมามิ รสชาติคล้ายสารสกัดจาก
เนื้อสัตว์ จึงใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในการปรุงอาหาร ที่ปราศจากเนื้อสัตว์ เช่น อาหารเจ อาหาร
มังสะวิรัติ
ในแถบเอเซีย เช่น อาหารจีน อาหารญี่ปุ่น นำมาทำเป็นเครื่องปรุงรสในการประกอบอาหารตามตำรับจีน เช่น ทำแป๊ะซะ
ผัดราดหน้า ตลอดจนผัดผักชนิดต่างๆ ในอาหารไทยนำทำเป็นเครื่องจิ้ม เรียกว่า หลน หรือทำน้ำจิ้ม เช่น น้ำจิ้มข้าวมันไก่
การผลิตเต้าเจี้ยว เป็นการหมักถั่วเหลืองด้วยเกลือ โดยใช้เชื้อรา (mold) การผลิตเต้าเจ้าที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยต่อ
การบริโภค อาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการเพาะเลี้ยงเชื้อราที่บริสุทธิ์ (start culture) เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อ เพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพในการหมัก ลดระยะเวลาในการผลิต ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อรา และแบคทีเรีย ซึ่งสามารถเจริญได้ดี
ในสภาพที่มีปริมาณเกลือสูง (halophilic bacteria) ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการเน่าเสีย (microbial spoilage) และจุลินทรีย์
ก่อโรค (pathogen)
คุณค่าทางโภชนาการ
ถั่วเหลืองที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักเพื่อผลิตเต้าเจี้ยว เป็นถั่วเมล็ดแห้ง (legume) ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีนสูง
และเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพใกล้เคียงเนื้อสัตว์ ประกอบด้วยกรดแอมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) หลายชนิดและ
กรดไขมันที่จำเป็น (essential fatty acid) ซึ่งนอกเหนือจากเต้าเจี้ยวจะได้รสชาติดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มสารอาหารที่มีประโยชน์
แก่ร่างกายอีกด้วย