นมผง (milk powder) เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำนม (dairy product) ที่ได้จากน้ำนมดิบ (raw milk) ที่ผ่านกรรมวิธีฆ่าเชื้อ และระเหยน้ำออกด้วยกรรมวิธีการทำแห้ง (dehydration) เช่น การทำแห้งแบบพ่นฝอย (spray drier) จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นผง
กรรมวิธีการผลิตนมผง
การทำแห้งแบบลูกกลิ้ง
การทำแห้งระบบลูกกลิ้ง (drum drier) เมื่อผ่านน้ำนมเข้มข้นไปบนพื้นผิวร้อนของลูกกลิ้ง เพื่อระเหยเอาน้ำออกจนได้แผ่นนมแห้ง ซึ่งถูกขูดออกจากผิวลูกกลิ้งโดยใบมีด ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะเป็นเกล็ดต้องนำมาบดให้เป็นผงต่อไป
การสัมผัสโดยตรงระหว่างน้ำนมเข้มข้นกับลูกกลิ้งร้อน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในน้ำนม เช่น การเกิดสีน้ำตาล (browining reaciton) จากปฏิกิริยาคาราเมไลเซชัน (caramelization) ปฏิกิริยาเมลลาร์ด (Maillard reaction) จากปฏิกิริยาของน้ำตาลแล็กโทส (lactose) และกรดแอมิโนไลซีน (lysine) ทำให้เกิดกลิ่นไหม้ (scorched flavor) และการสูญเสียสภาพธรรมชาติของโปรตีน (protein denaturation) ทำให้นมผงละลายไม่ดี การใช้ระบบการทำแห้งภายใต้สุญญากาศ การทำแห้งของนมผงที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส ที่ความดัน 91-98 กิโลพาสคาล สามารถลดผลอันเกิดจากออกซิเจนละอุณหภูมิที่สูงเกินไป นมผงจะมีคุณภาพดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับระบบของความดันบรรยากาศ
การทำแห้งระบบฉีดพ่นฝอย
ระบบฉีดพ่นฝอยได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์นม นมเข้มข้นจะถูกพ่นเป็นฝอย (atomized) และสัมผัสกับลมร้อนในห้องทำแห้ง ห้องทำแห้งอาจจะเป็นแบบแนวนอนหรือแนวตั้ง แม้ว่าแบบแนวนอนจะเป็นที่นิยมใช้ในบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ในขณะที่แบบแนวตั้งที่เป็นทรงกรวยตอนล่างจะได้รับความนิยมมากกว่า ลมหรืออากาศจะถูกกรองก่อนทำให้ร้อนด้วยไอน้ำหรือน้ำมันหรือก๊าซ ซึ่งทำให้มีอุณหภูมิระหว่าง 150-300 องศาเซลเซียส ปล่อยลมร้อนไปสู่ห้องทำแห้งด้วยความเร็ว 50 เมตรต่อวินาที ลมร้อนอาจไหลในทิศทางเดียวกับทิศทางของน้ำนม (concurrent flow) หรือไหลสวนทิศทางกัน (countrecurrent flow) หรือมีทิศทางทำมุมซึ่งกัน (mixed flow)
ข้อดีของระบบไหลสวนทิศของลมร้อนกับนมผง คืออากาศที่ร้อนที่สุดสัมผัสกับนมผงที่แห้งเป็นบางส่วน ซึ่งจะเพิ่มการถ่ายเทความร้อนและมวลดีขึ้น ช่วยประหยัดพลังงาน อย่างไรก็ตาม นมผงที่ได้ถูกทำให้ร้อนขึ้นจนถึงสิ้นสุดของการทำแห้ง เคซีน (casein) ในปริมาณความเข้มข้นสูงถูกทำให้สูญเสียสภาพธรรมชาติ (protein denaturation) ได้ง่าย ในทางตรงข้ามระบบไหลในทิศทางเดียวกันมีจุดด้อยที่ค่าใช้จ่ายในส่วนของพลังงานความร้อน แต่ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมนมเนื่องจากคุณภาพของการละลายดีกว่า ข้อดีของการทำแห้งแบบฉีดพ่นฝอยมีมากกว่าวิธีทำแห้งอื่นๆ สามารถสรุปได้ว่าใช้เวลาทำแห้งสั้นที่อุณหภูมิต่ำกว่า จึงทำให้ได้นมผงมีคุณภาพดี ไม่เกิดออกซิเดชันได้ง่าย ไม่สูญเสียวิตามิน และโปรตีนไม่ถูกทำให้สูญเสียสภาพธรรมชาติ ข้อเสียของการทำแห้งระบบฉีดพ่นฝอยคือ ห้องทำแห้งมีขนาดใหญ่ อุปกรณ์ราคาแพง ใช้พลังงานไฟฟ้าและไอน้ำมาก การลงทุนสูงจึงเหมาะกับการผลิตขนาดใหญ่กว่า 100,000 กิโลกรัม หรือประมาณ 500,000 กิโลกรัมของนมดิบต่อวัน ปัจจุบันพัฒนาโรงงานทำแห้งด้วยเครื่องมือทันสมัยสามารถผลิตนมผงได้ 18 ตันต่อชั่วโมง หรือประมาณ 5 กิโลกรัมต่อวินาที
ที่มา: http://www.dairy-equipments.com
กรรมวิธีการผลิตนมผง |
ชนิดของนมผง
Source: Dairy Processing Handbook. Published by Tetra Pak Processing Systems AB, S-221 86 Lund, Sweden.
วัตถุเจือปนอาหารที่อนุญาติให้ใช้ในผลิตภัณฑ์นมผง
วัตถุประสงค์ | วัตถุเจือปนอาหาร | ปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ (มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม) |
สเตบิไลเซอร์
(Stabilizers) |
|
|
วัตถุทำให้คงรูป (Firming agents) |
|
|
สารปรับความเป็น กรด - ด่าง (Acidity Regulators) |
|
|
อีมัลซิไฟเออร์ (Emulsifiers) |
|
|
วัตถุกันการรวมตัวเป็นก้อน (Anticaking Agents) |
|
|
วัตถุกันหืน
(Antioxidants) |
|
500 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม คำนวณเป็นกรดแอสคอร์บิก (ascorbic acid) |
|
100 มิลลิกรัม ต่อกิโลกรัม |