การพาสเจอไรซ์แบบต่อเนื่อง (in-line pasteurization อาจเรียกว่า continuous pasteurization) หมายถึง การพาสเจอไรซ์
(pasteurization) โดยที่อาหารไหลอยู่ในท่อ (in-line) อย่างต่อเนื่อง ด้วยระบบ aseptic processing มีขั้นตอนหลัก คือ
การทำให้อุณหภูมิของอาหารสูงขึ้นจนถึงอุณหภูมิที่ต้องการฆ่าเชื้อระดับพาสเจอไรซ์ด้วยอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน
(heat exchanger) แล้วคงอุณหภูมิไว้ในท่อคงอุณหภูมิ (holding tube) ระยะเวลาหนึ่ง แล้วจึงทำให้เย็นลง
การพาสเจอไรซ์ด้วยระบบ in-line pasteurization เป็นการพาสเจอไรซ์แบบใช้อุณหภูมิสูง ระยะเวลาสั้น (high-temperature
short-time (HTST) เพื่อรักษาคุณภาพอาหารอาหารที่ผ่านการพาสเจอไรซ์แล้วอาจนำมาบรรจุแบบปลอดเชื้อ (aseptic
packaging) และเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ (cold storage) หรืออาจนำไปแปรรูปในกระบวนการต่อไป เช่น น้ำนมที่ผ่าน
การพาสเจอไรซ์ นำไปแปรรูปต่อเป็น นมผง นมข้นไม่หวาน โยเกิร์ต ไอศกรีม เนยแข็ง เป็นต้น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
การพาสเจอไรซ์ (pasteurization)
ผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปด้วยระบบการพาสเจอไรซ์แบบต่อเนื่อง
การพาสเจอไรซ์แบบ in-line pasteurization เหมาะสำหรับการพาสเจอไรซ์อาหารเหลว เช่น เครื่องดื่ม น้ำนม เบียร์ ไอศกรีม
น้ำผลไม้ที่ต้องการกำลังการผลิตสูง และทำอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาหารเหลวที่ใช้ฆ่าเชื้อระบบนี้ ต้องไหลผ่านท่อได้ ปั๊มได้
ขั้นตอนหลักของการพาสเจอไรซ์แบบต่อเนื่อง
1. ช่วงให้ความร้อน (heating section) ขั้นตอนนี้เป็นการทำให้อุณหภูมิของอาหารร้อนขึ้นจนได้อุณหภูมิสูงกว่าหรือเท่ากับ
อุณหภูมิที่ใช้เพื่อการพาสเจอไรซ์ (pasteurization temperature) โดยอาหารเหลวจะถูกปั๊มจากถังเก็บวัตถุดิบ (balance tank)
ด้วยปั๊มป้อน (feed pump) เข้าสู่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (heat exchanger) ซึ่งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่นิยมใช้ ได้แก่
2. ช่วงคงอุณหภูมิ (holding section) อาหารเหลวที่มีอุณหภูมิสูงกว่า หรือเท่ากับอุณหภูมิพาสเจอไรซ์จะผ่านเข้าท่อคงอุณหภูมิ
(holding tube) เพื่อรักษาอุณหภูมิพาสเจอไรซ์ไว้ให้ได้ระยะเวลาที่กำหนดโดยระยะเวลา ควบคุมด้วยเครื่องควบคุมอัตราการไหล
(flow controller) โดยระยะเวลาการคงอุณหภูมิกำหนดจากขนาดของท่อ และอัตราการไหลของอาหารเหลว เพื่อให้อาหารผ่าน
การพาสเจอไรซ์อย่างสมบูรณ์ เช่น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานความร้อน โดยใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน
เพื่อแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพาสเจอไรซ์แล้ว
3. ช่วงลดอุณหภูมิ (cooling section)
4. Regenerative preheating sections วัตถุดิบที่ยังไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ เพื่อเพิ่มอุณหภูมิเริ่มต้นให้กับวัตถุดิบ
หรือลดอุณหภูมิของผลิตภัณฑ์
ระบบการฆ่าเชื้อ |
|||
Batch pasteurization (LTLT) |
heating temperature |
holding time |
อุณหภูมิ เก็บรักษา |
น้ำนมพาสเจอไรซ์ | 63 | 30 นาที | < 4 ซ |
น้ำนมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ | 63 | 30 นาที | < 4 ซ |
ไอศกรีมผสม (ice cream mix) |
69 | 30 นาที | < 4 ซ |
(HTST) |
heating temperature ( oC) |
holding time |
อุณหภูมิ เก็บรักษา |
น้ำนมพาสเจอไรซ์ (ไขมันนมน้อยกว่า 10%, นมวัว นมแพะ เวย์) : |
72 |
15 วินาที |
< 4 ซ |
น้ำนมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ |
72 |
15 วินาที |
< 4 ซ |
ผลิตภัณฑ์นม-ไขมันนมมากกว่าหรือเท่ากับ 10% หรือเติมน้ำตาล (ครีม นมช๊อกโกแลต, น้ำนมปรุงแต่ง เป็นต้น) |
75 |
15 วินาที |
< 4 ซ |
Frozen Dairy Product Mixes, Egg Nog |
80 |
25 วินาที |
< 4 ซ |
Ultra High Temperature (UHT) |
ส่วนประกอบที่สำคัญของเครื่องพาสเจอไรซ์แบบต่อเนื่อง
การบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพาสเจอไรซ์แบบต่อเนื่อง
หลังผ่านช่วงคงอุณหภูมิ อาหารเหลวจะถูกทำให้เย็นลงอย่างรวดเร็ว เพื่อยับยั้งการเจริญและเพิ่มจำนวนของจุลินทรีย์
โดยเฉพาะแบคทีเรียที่ทนอุณหภูมิสูง (thermophilic bacteria) และสปอร์ของแบคทีเรีย (bacterial spore) ซึ่งไม่ได้ถูกทำลาย
ระหว่างการพาสเจอไรซ์ และหลังผ่านการพาสเจอไรซ์แล้วอาหารประเภทกรดต่ำ (low acid food) จะต้องเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ
ตลอดระยะเวลาการเก็บรักษา