กรดแล็กทิก (lactic acid) เป็นกรดอินทรีย์ (organic acid) ชนิดหนึ่ง มีสูตรโมเลกุลคือ C3H6O3 อาจเรียกว่า 2-Hydroxy propionic acid หรือ 1-Hydroxyethane-1-carboxylic acid
กรดแล็กทิกที่ได้จากการหมัก |
กรดแล็กทิก สร้างได้โดยแบคทีเรียที่ผลิตกรดแล็กทิก (lactic acid bacteria) ระหว่างกระบวนการหมัก (fermentation) อาหารหลายชนิด ได้แก่
|
การใช้กรดแล็กทิกเพื่อเป็นวัตถุเจือปนในอาหาร |
กรดแล็กทิกใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) เพื่อปรับความเป็นกรดในอาหาร |
อาหาร |
ปริมาณสูงสุดที่ให้ใช้ได้ (มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม) |
มะกอกดอง |
15,000 |
เห็ดสเตอริไลซ์ |
5,000 ใช้อย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับกรดซิตริก แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินปริมาณดังกล่าว |
อาหารเสริมสำหรับเด็กชนิดแป้ง |
15,000 ในอาหารที่ปราศจากน้ำ |
ผลิตภัณฑ์นม ยกเว้น นมจืดชนิดเหลว นมเปรี้ยวไม่ปรุงแต่งครีมพาสเจอร์ไรซ์ ครีมสเตอริไลซ์ ครีมยูเอชที วิปปิ้งครีม และครีมไขมันต่ำ |
ปริมาณที่เหมาะสม |
ผลิตภัณฑ์ประเภทน้ำผสมน้ำมัน (อิมัลชัน) เช่น เนยเทียม มินารีน รวมทั้งขนมหวานทำนองนี้ |
ปริมาณที่เหมาะสม |
ปริมาณที่เหมาะสม |
|
ผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น ผลไม้แห้ง ผลไม้ผ่านกรรมวิธีบรรจุกระป๋อง (canning) ขนมหวานจากผลไม้ เป็นต้น |
ปริมาณที่เหมาะสม |
พืชผัก สาหร่าย ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืชต่าง ๆ ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น พืชผักแห้ง พืชผักที่ผ่านกรรมวิธีบรรจุกระป๋อง เป็นต้น ยกเว้นกรรมวิธีแช่เยือกแข็ง มะกอกดอง และเห็ดสเตอริไลซ์ |
ปริมาณที่เหมาะสม |
ผลิตภัณฑ์ขนมหวาน เช่น ลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลต หมากฝรั่ง เป็นต้น |
ปริมาณที่เหมาะสม |
ผลิตภัณฑ์จากธัญพืช ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ธัญพืชอาหารเช้า ขนมหวานจากธัญพืช แป้งสำหรับชุบอาหารทอด และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง |
ปริมาณที่เหมาะสม |
ปริมาณที่เหมาะสม |
|
ผลิตภัณฑ์เนื้อ ยกเว้นเนื้อสด |
ปริมาณที่เหมาะสม |
สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ยกเว้นสัตว์น้ำสดและสัตว์น้ำแช่เยือกแข็ง |
ปริมาณที่เหมาะสม |
ผลิตภัณฑ์ไข่ ยกเว้นไข่สด ไข่เหลว และไข่แช่เยือกแข็ง |
ปริมาณที่เหมาะสม |
ผลิตภัณฑ์ประเภทซอส ซุป สลัด และผลิตภัณฑ์โปรตีนสกัด |
ปริมาณที่เหมาะสม |
อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร |
ปริมาณที่เหมาะสม |
เครื่องดื่ม ยกเว้นน้ำผักผลไม้ น้ำแร่ธรรมชาติ ชา กาแฟ เครื่องดื่มสมุนไพรชนิดชงและเครื่องดื่มจากธัญพืช |
ปริมาณที่เหมาะสม |
อาหารทารก |
ปริมาณที่เหมาะสม |
Reference
1 ตารางการใช้วัตถุเจือปนอาหาร แนบท้ายประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2547