มิโซ (miso) |
Miso หรือ miso paste คือ เต้าเจี้ยวญี่ปุ่นบด เป็นอาหารหมัก (fermented food) พื้นเมืองของประเทศญี่ปุ่น ที่ได้จากการหมัก (fermentation) ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเหลือง (soybean) ถั่วดำ หรือเมล็ดธัญพืช (cereal grain) ใช้เป็นเครื่องปรุงรสเพื่อประกอบอาหารญี่ปุ่น เช่น ซุปมิโซ (miso soup) |
|
จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการหมัก |
จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องกับการหมัก มิโซ มีทั้งรา ยีสต์ และแบคทีเรีย โดยหัวเชื้อสำหรับหมักเป็นเชื้อรา Aspergillus oryzae ซึ่งเตรียมอยู่ในรูปของหัวเชื้อแห้ง เรียกว่า โคจิ (koji) ระหว่างการหมัก เชื้อราจะผลิตเอนไซม์หลายชนิดเช่น โปรตีเอส (protease) ย่อยโปรตีนในถั่ว และเมล็ดธัญพืช ให้เป็นกรดแอมิโนและเอนไซม์อะไมเลส (amylase) ย่อยสตาร์ช |
กรรมวิธีการผลิตมิโซ |
วีดีโอแสดงการผลิตมิโซ แบบดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่น จากถั่วเหลืองและถั่วดำ |
วัตถุดิบและการเตรียมวัตถุดิบ |
การเตรียมถั่วเมล็ดแห้งหรือเมล็ดธัญพืช เริ่มจากการนำถั่วเมล็ดแห้ง หรือ เมล็ดธัญพืช แช่ในน้ำก่อน เพื่อให้ดูดน้ำได้เต็มที่ จากนั้นนำไปต้มหรือนึ่ง (steam) ให้สุก สตาร์ชในถั่วเกิด gelatinization เชื้อราจะเจริญได้ง่ายและทั่วถึง จากนั้นจึงปล่อยให้ถั่วสะเด็ดน้ำ แล้วบดให้ละเอียด และปล่อยให้ถั่วมีอุณหภูมิเย็นลงจนถึงประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส ก่อนการผสม เกลือ ปกติมิโซจะใช้ เกลือเข้มข้น 10-12% ต่อน้ำหนักของวัตถุดิบบดละเอียด เกลือในการหมักมีหน้าที่ให้รสชาติ และทำให้เกิดการออสโมซีส (osmosis) โดยน้ำจากวัตถุดิบ จะถูกขับออกมา ได้สารละลายเกลือซึ่งจะไปยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียหลายชนิดที่ทำให้อาหารเน่าเสีย (microbial spoilage) รวมทั้งแบคทีเรียก่อโรค (pathogen) |
การผสม และการหมัก |
ผสมถั่วหรือเมล็ดพืชที่บดละเอียด กับนำโคจิและเกลือ กวนให้ส่วนผสมเข้ากันจนเนียนแล้ว อัดลงภาชนะให้แน่น ปิดผิวหน้าด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันการปนเปื้อน และให้เกิดภาวะที่ไม่มีอากาศ เพื่อการหมักให้เกิดกรดแล็กทิก (lactic acid fermentation) บ่มในที่อุณหภูมิประมาณ 25-28 องศาเซลเซียส การหมักและบ่มมิโซ |