บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแห้ง (pakaging for dried foods)
วัตถุประสงค์เพื่อให้อาหารแห้ง (dried food) ซึ่งผ่านการทำแห้ง (dehydration) และอาจจะมีลักษณะเป็นผง เป็นก้อน หรือเป็นชิ้น
มีค่า water activity น้อยกว่า 0.6
สมบัติของ บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแห้ง
1. สามารถป้องกันความชื้น (moisture barrier) บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแห้งจะต้องป้องกันการดูดซึมกลับความชื้นจากบรรยากาศ
อากาศรอบๆ คือควรมีค่าอัตราการดูดซึมกลับความชื้น (water vapor transmission rate) ต่ำ ซึ่งค่านี้ขึ้นอยู่กับ ชนิด และคุณภาพ
ตลอดจนความหนาของวัสดุที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์
อาหารแห้งที่มีส่วนประกอบที่ดูดน้ำได้ดี (hydroscopic) เช่น น้ำตาล โดยเฉพาะน้ำตาลฟรักโทส (fructose) ความชื้นจะเป็นเหตุ
สำคัญที่ทำให้อาหารแห้งเน่าเสีย (food spoilage) ได้ดังนี้
2. สามารถป้องกันอากาศ อากาศโดยเฉพาะออกซิเจน เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี เช่น lipid oxidation
ซึ่งทำให้อาหารเกิดกลิ่นหืน และยังเป็นผลให้อาหารสูญเสียคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะกรดไขมันที่จำเป็น (essential
fatty acid) บรรจุภัณฑ์อาหารแห้งที่ดีจะต้องสามารถป้องกันก๊าซออกซิเจนจากสภาวะอากาศรอบๆ ผ่านเข้าไปในภาชนะบรรจุ
นอกจากนี้อาจใช้สารดูดซับออกซิเจน (oxygen absorber) เพื่อช่วยดูดซับออกซิเจนที่มีอยู่แล้วในบรรจุภัณฑ์ก่อนปิดผนึก
และจะซึมผ่านบรรจุภัณฑ์ระหว่างการเก็บรักษา
3. มีความทนทานต่อการกดหรือการกระแทก บรรจุภัณฑ์อาหารแห้งที่ดีจะต้องทนต่อการกดและการกระแทกได้ดี ทั้งนี้
เนื่องจากเนื้ออาหารแห้งมักแข็ง เปราะ แตกง่าย และมีส่วนแหลมคมสามารถทิ่มแทงภาชนะบรรจุได้
วัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารแห้ง
วัสดุบรรจุภัณฑ์ (packaging material) ที่เหมาะสมสำหรับอาหารแห้ง ได้แก่
![]() |
|
การระบุอายุการเก็บรักษา
อายุการเก็บรักษาอาหารแห้ง มักพิมพ์รหัส (coding) ลงบนบรรจุภัณฑ์ โดยใช้คำว่า ควรบริโภคก่อนวันที่ (best before date)
Reference |
Paine Albert Frank and Heather Y. Paine. A Handbook of Food Packaging. Blackie Academic & Professional |