ค่าซาพอนนิฟิเคชัน (saponification number หรือ saponification value ,S.V.) คือ จำนวนมิลลิกรัมของด่าง เช่น โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ที่ใช้ในทำปฏิกิริยากับไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) ในไขมัน หรือน้ำมัน (เรียกว่า ปฏิกิริยา saponification) อย่างสมบูรณ์ จำนวน 1 กรัม ได้เป็นสบู่ ซึ่งเป็นเกลือของกรดไขมัน (fatty acid) 3 โมเลกุลและกลีเซอรอล
ปฏิกิริยา saponification
ที่มา http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/topic8/fat.html
ค่าซาพอนนิฟิเคชัน (saponification number) ใช้เป็นค่าที่ใช้ขนาดโมเลกุล หรือน้ำหนักโมเลกุลของกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบในโมเลกุลไตรกลีเซอไรด์ หากน้ำมันที่มีค่าซาพอนนิฟิเคชันสูง แสดงว่ากรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำมาก จึงมีจำนวนโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ต่อหน่วยน้ำหนักเป็นจำนวนมาก ดังนั้น จึงต้องใช้ด่างเป็นจำนวนมากในการไฮโดรไลซ์ ทำนองเดียวกันถ้าค่าซาพอนนิฟิเคชันต่ำ แสดงว่ากรดไขมันที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์มีน้ำหนักโมเลกุลมาก จึงมีจำนวนโมเลกุลของไตรกลีเซอไรด์ ต่อหน่วยน้ำหนักเป็นจำนวนน้อย ทำให้ใช้ด่างน้อยในการทำปฏิกิริยา
ค่าซาพอนนิฟิเคชันของน้ำมันพืชและไขมันที่ใช้บริโภคบางชนิด
ชนิดของน้ำมัน/ไขมัน |
ค่าซาพอนนิ ฟิเคชั่น |
---|---|
น้ำมันมะพร้าว (coconut oil) | 248-285 |
เนย (butter) |
210-233 |
น้ำมันปาล์ม (palm oil) | 190-209 |
น้ำมันฝ้าย ไขแกะ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันงา น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน |
193 192-193 191 192 191 |
น้ำมันข้าวโพด น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมัสตาร์ด |
191 190 190 170 |
Reference