มะขาม (tamarind หรือ Indian date) มีชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indicac L. อยู่ในตระกูล Leguminosae
มะขามเป็นผลไม้มีผลเป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 เซนติเมตร ฝักอ่อนเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือกเมื่อแก่ (maturity) เป็นประเภทผลแห้ง (dry fruit) ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด ซึ่งฝักหนึ่งๆ จะมีเนื้อหุ้มเมล็ดประมาณ 1-12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล
มะขามในประเทศไทยแบ่งกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
ลักษณะของฝัก
1. ฝักดาบ มีลักษณะฝักค่อนข้างแบนและโค้งเล็กน้อยคล้ายดาบ
2. ฝักฆ้อง มีลักษณะฝักโค้งวนมาเกือบจรดกัน มีลักษณะเหมือนฆ้องวง
3. ฝักดิ่ง มีลักษณะฝักเหยียดตรงค่อนข้างยาว
4. ฝักดูก มีลักษณะเป็นปล้องๆ ข้อถี่ เปลือกนูนขึ้นมาเป็นเหลี่ยมมองเห็นได้ชัดเจน
ส่วนประกอบทางเคมี
มะขาม มีวิตามินซี (Vitamin C) และมีกรดอินทรีย์ เช่น กรดทาร์ทาร์ริก (tartaric acid) กรดซิตริก (citric acid)
ยอดอ่อนและฝักสดของมะขาม มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส
References
กวิศร์ วานิชกุล1 และ สุรีวรรณ สุคนธรส. การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะประจำพันธุ์ของมะขามหวาน 5 พันธุ์
A Comparative Study on the Characteristics of 5 Cultivars of Sweet Tamarind (Tamarindus indica Linn.)