Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Tapioca starch / แป้งมันสำปะหลัง

แป้งมันสำปะหลัง (tapioca starch) อาจเรียกว่าสตาร์ชมันสำปะหลัง (cassava starch) คือสตาร์ซ (starch) ที่ผลิตได้จากหัวมันสำปะหลัง (tapioca)

การผลิตแป้งมันสำปะหลัง (native tapioca starch) มีดังนี้

 

 

http://www.thaitapiocastarch.org/gallery/Tapioca_Manufactory/

การรับและตรวจสอบคุณภาพหัวมันสำปะหลังหลังจากที่หัวมันสำปะหลังส่งมายังโรงงานและผ่านการชั่งน้ำหนัก และการสุ่มตัวอย่าง
นำมาวัดความหนาแน่น เพื่อปริมาณของแป้งในหัวมัน โดยอาศัยหลักการลอยตัว ( Bouyancy ) ของวัตถุในของเหลวแล้วจึงเข้ากระบวนการ
แปรรูปดังนี้

1. การเตรียมวัตถุดิบคือการทำความสะอาดหัวมันสำปะหลังและปอกเปลือก

  • ร่อนดินทราย ใช้รถตักป้อนหัวมันสำปะหลังสู่ถังป้อน ( root hopper ) สายพานลำเลียง (belt conveyor) จะพาหัวมันเข้าสู่
    เครื่องร่อนดินทราย (root siever) เป็นการทำความสะอาด เพื่อทรายและหินที่ติดมากับมันสําปะหลัง ด้วยการร่อน (sieve)
    และทำให้ผิวหน้าของหัวมันหลุดออก
  • สับแยกเหง้า (chopping) เพื่อแยกเหง้าของหัวมันสําปะหลังออก ซึ่งแข็งเป็นอุปสรรคในการโม่หัวมัน
  • การปอกเปลือก (peeling)
  • ล้างทําความสะอาด (washing) โดยทั่วไปใช้น้ำพ่นฝอยฉีดที่หัวมัน

2. โม่หัวมัน (rasping) : หลังจากมันสําปะหลังผ่านกระบวนการทําความสะอาดแล้ว จะถูกนําเข้าส่เครื่องโม่หัวมัน ( root hopper )
ก่อนเพื่อสับเป็นชิ้นเล็กๆ ขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว จากนั้นเข้าเข้าเครื่องโม่ ( rasper ) เพื่อบดหัวมันพร้อมเติมน้ำให้สามารถโม่ได้ง่ายขึ้น
ได้มันบดมีลักษณะเป็น ของเหลวข้น ( middle fresh pulp ) ที่มีส่วนผสมของแป้ง น้ำ กากมัน และสารอาหรต่างๆ รวมทั้งสิ่งเจือปนต่างๆ

3. เครื่องแยกกากหยาบ (coarse extractor) : เครื่องแยกกากจะทําการแยกกากมันสําปะหลังที่ ไม่ได้ใช้ในกระบวนการผลิตออกจากน้ำแป้ง
โดยน้ำแป้งที่ได้จากเครื่องโม่หัวมัน จะมาผ่านเครื่องแยกกากหยาบ 2 ครั้ง กากหยาบที่ได้จากกระบวนการผลิตนี้จะถูกส่งต่อไปยังโรงอัดกาก

4. เครื่องแยกกากละเอียด (fine extractor) : น้ำแป้งภายหลังจากผ่านเครื่องแยกกากหยาบ มาแล้วนั้น ยังมีเยื่อของมันสําปะหลังหรือกากอ่อน
รวมอยู่ในน้ำแป้ง ซึ่งจะทําให้น้ำแป้งที่ได้มีคุณภาพไม่ดี ดังนั้นน้ำแป้งภายหลังผ่านเครื่องแยกกากหยาบมาแล้ว จะถูกนํามาผ่านเครื่องแยก
กากละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

5. น้ำแป้ง 20 โบเม่ : น้ำแป้งที่ผ่านกระบวนการแยกกากละเอียด จะถูกนํามาปรับความเข้มข้น และความบริสุทธิ์ โดยการผ่านเครื่องแยกน้ำ
(separator) 2 ครั้ง ซึ่งจะทําให้น้ำแป้งที่ผ่านกระบวนการนี้ จะมีความเข้มข้นประมาณ 20 โบเม่

6. เครื่องสลัดแป้ง (centrifuge) : น้ำแป้งที่ได้จะไหลเข้าส่เครื่องสลัดแป้ง ซึ่งจะทําการแปรสภาพน้ำแป้งเป็นแป้งหมาด โดยแป้งหมาดจะถูก
ส่งเข้าไปใน 2 กระบวนการผลิตคือ การผลิตแป้งมันสําปะหลังดิบ (native tapioca starch)

7. เครื่องอบแห้ง (flash dryer ) : แป้งหมาดจะถูกลําเลียงตามสายพานเข้าสู่เครื่องอบแป้ง เพื่อผ่านลมร้อน ทําให้แป้งหมาดมีความชื้นลดลง
จากนั้นก็จะทําให้เย็นลง แล้วส่งผ่านไปตามไซโลไปยังเครื่องร่อนแป้ง ซึ่งปัจจุบันเครื่องอบแป้งใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงในการอบแป้ง

8. เครื่องร่อนแป้ง (sieve) : แป้งที่ผ่านเครื่องอบแห้งมานั้น จะถูกนํามาผ่านเครื่องร่อนแป้ง เพื่อคัดขนาดเม็ดแป้ง ให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ

9. เครื่องบรรจุแป้ง : แป้งที่ผลิตได้จะถูกนํามาบรรจุใส่ถุงขนาด 25, 50, 500 หรือ 1,000 กิโลกรัม แล้วแต่ คําสั่งของลูกค้า

การใช้ประโยชน์ของแป้งมันสำปะหลังในอาหาร

Reference

1 http://sahamitr.com/about.html

2 วนิดา เผอิญโชค การผลิตสตาร์ชมันสำปะหลังออกซิไดซ์-พรีเจลาติไนซ์เพื่อเป็นสารเพิ่มการเกาะติดในแป้งชุบทอด

 

 

 

 

 



(เข้าชม 6,033 ครั้ง)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก