Food Wiki

ค้นหา 6,333 คำศัพท์

Aloe vera / ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ (Aloe vera , Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad) หรือ อาจเรียกว่า หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Aloe vera (L.) Burm.f. ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis Mill เป็นพืชในวงศ์ Asphodelaceae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ว่านหางจระเข้เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมอยู่ห่างๆ กัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใส เป็นเมือกมี สีเขียวอ่อน

   

 

ดอก ออกเป็นช่อกระจายที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกออกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผลแห้งเป็นรูปกระสวย

สารที่มีสรรพคุณทางยา

1. วุ้นและเมือกจากใบกาบ ใบของว่านหางจระเข้ อวบน้ำมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก ความชื้นมากกว่า 95% ส่วนที่เป็นของแข็งมีส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น

  • ไกลโคโปรตีน (glycoprotein) คือ แอลอกทินเอ (aloctin A) และ แอลอกทินบี (aloctin B) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ลดอาการอักเสบและช่วยสมานแผล โดยไปส่งเสริมการจับตัวและการเจริญเติบโตของเซลส์ที่บาดแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น ช่วยรักษารังแค ทำให้หนังศีรษะมีสุขภาพดี
  • แอซีแมนแนน (acemannan)

2. ยางสีเหลืองในส่วนของเปลือกใบ มีสารจำพวกแอนทราควินโนนหลายชนิด ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบาย เช่น แอโลอีโมดิน (aloe-emodin) แอโลซิน (aloesin) และ แอโลอิน (aloin) เป็นต้น

การแปรรูปว่านหางจระเข้

การผลิตน้ำว่านหางจระเข้

 

Reference

http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_17_3.htm

http://www.sld.cu/galerias/pdf/sitios/mednat/actividad_antioxidante_del_aloe_vera.pdf

http://www.aseanfood.info/Articles/11018276.pdf

http://www.pharm.chula.ac.th/osotsala/botanay-food/sub2_1.htm

 

 

ส่วนที่ใช้ประโยชน์

 

เนื้อวุ้น และน้ำวุ้น



(เข้าชม 1,104 ครั้ง)

สมัครสมาชิก