connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Mercury / ปรอท

ปรอท (mercury, Hg) เป็นโลหะหนัก มีความหนาแน่นสูง (13.534 กรัม./ซม.³) เป็นสารพิษที่อาจปนเปื้อน (contamination) ในอาหารที่ได้จากสิ่งแวดล้อม
จัดเป็นอันตรายทางอาหาร (
food hazard)

 

 

อันตรายจากการปนเปื้อนของสารปรอท

การปนเปื้อน (contamination) ของสารปรอทไปยังอาหารมักเกิดจากน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมไปยังแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นแหล่งของสัตว์น้ำ เช่น ปลาหอย
ปลาหมึก และปรอทจะสะสมในอาหารดังกล่าว การรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารปรอท ผู้บริโภคจะไม่รู้ตัวและไม่มีอาการอะไรเลย จนกระทั่งร่างกาย
สะสมจนถึงระดับหนึ่ง สารปรอทค่อยๆ สะสมเป็น จะมีการสะสมในร่างกายก้อนใหญ่จับตัวกับเนื้อเยื่อในระบบประสาทตับและไตที่มีหน้าที่ขับของเสีย
ออกจากร่างกายไม่สามารถขับสารปรอทออกจากร่างกาย การสะสมของสารปรอทในร่างกาย จะมีอันตรายต่อสมองและอวัยวะต่างๆ และส่งผลกระทบโดยตรง
ต่อระบบประสาท ทำให้สมองฝ่อ แขนขาอ่อนแรง คล้ายคนพิการ จนส่งผลให้กลายเป็นโรคสมองฝ่อ หรือร่างกายพิการ

การปนเปื้อนของสารปรอทจะมีความคงตัวสูง ไม่ว่าจะนำอาหารไปปรุงรส หรือผ่านความร้อนก็ไม่สามารถทำให้สารปรอทหายไปได้

โรคมินามาตะ (MINAMATA) เป็นโรคที่เกิดจากพิษสารปรอทที่สะสมในร่างกาย ทำอันตรายต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ถ้าสะสมไว้ในปริมาณมาก
จะทำให้ตายได้ พบครั้งแรกที่เมืองมินามาตะ ประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียที่มีสารปรอทเจือปนลงในอ่าวมินามาตะ สารปรอทจึงเข้าไป
สะสมอยู่ในปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นนำปลาและสัตว์ทะเลมารับประทาน จนประชาชนบริเวณอ่าวมินามาตะกว่า 2,000 คนมีอาการ
ปวดท้อง ท้องร่วง ระบบกล้ามเนื้อถูกทำลาย ประสาทตา และหูเสื่อม โดยตรวจพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้รายแรกเมื่อปี พ.ศ. 2499 มีผู้เสียชีวิตจากโรคมินามาตะแล้ว
กว่า 2,000 คน

ค่ามาตรฐานความปลอดภัย

  • ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) กำหนดให้ปริมาณความเข้มข้นสูงสุด ในสิ่งแวดล้อมที่อาจยอมให้มีได้
    ไม่ว่าระยะเวลาใดของการทำงานปกติ ต้องไม่เกิน0.05 มิลลิกรัมต่ออากาศ 1 ลูกบาศก์เมตร
  • จาก ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ.2529) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อนมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการปนเปื้อนของ ปรอท ในอาหาร ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัม
    ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับ
    อาหารทะเล และไม่เกิน 0.02 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม สำหรับอาหารทั่วไป

 

ประเภท

ระดับของโลหะหนักที่อนุญาตให้มีได้ในเนื้อเยื่อสัตว์น้ำ (มิลลิกรัม / กิโลกรัม (น้ำหนักเปียก)

 

สารหนู

โครเมียม

แคดเมียม

ทองแดง

ปรอท

ตะกั่ว

สังกะสี

อาหารทั่วไป

2

2

-

20

0.02

1

100

ปลา

-

-

0.05

-

0.5

0.2

-

กุ้ง (รวมทั้งกั้ง/ปู)

-

-

2.0

-

0.5

0.5

-

หอยและปลาหมึก

-

-

2.0

-

0.5

1

-

 

3.3

Mercury

Maximum levels

(mg/kg wet weight)

3.3.1

Fishery products (26) and muscle meat of fish (24) (25) , excluding species listed in 3.3.2. The maximum level applies to crustaceans, excluding the brown meat of crab and excluding head and thorax meat of lobster and similar large crustaceans (Nephropidae and Palinuridae)

0.50

3.3.2

Muscle meat of the following fish (24) (25) :

Anglerfish (Lophius species)

Atlantic catfish (Anarhichas lupus)

Bonito (Sarda sarda)

Eel (Anguilla species)

Emperor, orange roughy, rosy soldierfish (Hoplostethus species)

Grenadier (Coryphaenoides rupestris)

Halibut (Hippoglossus hippoglossus)

Kingklip (Genypterus capensis)

Marlin (Makaira species)

Megrim (Lepidorhombus species)

Mullet (Mullus species)

Pink cusk eel (Genypterus blacodes)

Pike (Esox lucius)

Plain bonito (Orcynopsis unicolor)

Poor cod (Tricopterus minutes)

Portuguese dogfish (Centroscymnus coelolepis)

Rays (Raja species)

Redfish (Sebastes marinus, S. mentella, S. viviparus)

Sail fish (Istiophorus platypterus)

Scabbard fish (Lepidopus caudatus, Aphanopus carbo)

Seabream, pandora (Pagellus species)

Shark (all species)

Snake mackerel or butterfish (Lepidocybium flavobrunneum, Ruvettus pretiosus, Gempylus serpens)

Sturgeon (Acipenser species)

Swordfish (Xiphias gladius)

Tuna (Thunnus species, Euthynnus species, Katsuwonus pelamis)

1.0

3.3.3

Food supplements (39)

0.10

ภาวะการปนเปื้อน

ผลการศึกษาปริมาณโลหะหนักในบริเวณพื้นที่อุตสาหกรรมในช่วงปี พ.ศ. 2539-2540 พบว่าปริมาณสารปรอทในตะกอนดิน มีค่าเกินมาตรฐาน
ที่อาจจะเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีค่า 2.8 ไมโครกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง

ในปี พ.ศ. 2542 พบสารปรอทปนเปื้อนในตะกอนดิน/พื้นที่ที่มีค่าสูงสุด คือ 0.339 ไมโครกรัมต่อกรัม (น้ำหนักแห้ง)

  • พบปรอทปนเปื้อนในเนื้อเยื้อปลากระบอกและปลาทูในปี พ.ศ. 2541 ปริมาณ 0.063 , 0.014 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (น้ำหนักเปียก) ตามลำดับ
  • พบสารปรอทปนเปื้อนในเนื้อเยื้อกุ้งแชบ๊วย และกุ้งตะกาด < 0.003 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (น้ำหนักเปียก) เท่ากัน ส่วนกุ้งหลังขาวพบ 0.02 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (น้ำหนักเปียก)
  • ปี พ.ศ. 2541 พบปรอทปนเปื้อนในเนื้อเยื่อหอยแมลงภู่และหอยแครง 0.02 และ 0.027 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (น้ำหนักเปียก) ตามลำดับ
  • การปนเปื้อนของ ปรอท ในตัวอย่างเนื้อเยื่อหอยแมลงภู่ (Perna viridis) หอยนางรม (Saccostrea commercialis) และหอยตลับ (Meretrix meretrix) จากบริเวณดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำลำดับที่ 1099 ในอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน และมิถุนายนถึงสิงหาคม พ.ศ. 2551 โดยวิธีอะตอมมิกแอบซอพชั่นสเปคโตรโฟโตเมตรี พบปริมาณความเข้มข้นเฉลี่ยของปรอทเท่ากับ 0.16+0.70 , 0.13+0.80 และ 0.31+0.16 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (น้ำหนักเปียก)

 

References

 

 



(เข้าชม 3,793 ครั้ง)

สมัครสมาชิก