พยาธิตืดวัว (Taenia saginata) หรือตัวตืดวัว คือปรสิต (parasite) ชนิดหนึ่ง ที่เป็นพยาธิของคน ติดต่อผ่านทางอาหาร
จัดเป็นอันตรายทางอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางชีวภาพ (biological hazard)
ลักษณะทั่วไป
พยาธิวัวตืดเป็นพยาธิตัวแบน (flat worm หรือ tape worm) ลักษณะลำตัวมี สีขาวขุ่น เป็นเส้นแบนคล้ายเส้นข้าวซอย มีความยาว
หลายเมตร ลำตัวเป็นปล้องมีลักษณะคล้าย พยาธิ ตัวตืดอีกชนิดที่พบในคนคือ ตัวตืดหมู (Taenia solium) แต่ มีขนาดใหญ่และ
มีอันตรายมากกว่า การติดต่อผ่านอาหารและการปนเปื้อนในอาหาร
เมื่อคนกินอาหารที่ประกอบจากเนื้อวัว ควายที่มีตัวอ่อนพยาธิอยู่ โดยกินดิบหรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ แหนม ตัวอ่อนจะโตเป็นพยาธิ
ตัวแก่ในลำไส้เล็กของคน ปล้องท้ายสุดของพยาธิ จะหลุดปนออกมากับอุจจาระคน หรืออาจจะคืบคลานออกมาจากทวารหนัก
ภายในปล้องมีไข่พยาธิอยู่มากมาย วัวควายหรือหมูกินไข่พยาธิเข้าไปแล้ว ไข่จะโตเป็นระยะตัวอ่อนเรียก เม็ดสาคู โดยมากพบอยู่
ในกล้ามเนื้อ หรือวัวควาย มีขนาดมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและจะมีอาการดังกล่าวได้
อันตรายจากพยาธิตืดวัว
เนื่องจากคนอาจกินไข่พยาธิเข้าไปโดยปะปนกับอาหารหรือน้ำดื่ม ไข่พยาธิก็จะโตเป็นระยะตัวอ่อนเม็ดสาคูในร่างกายคน
โดยไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆ เช่น สมอง ตา หัวใจ ปอด และกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการรุนแรง ภาวะที่มีตัวอ่อนเม็ดสาคู cysticercus
ในร่างกาย เรียกว่า ซิสติเซอร์โคซิส (cysticercosis) เมื่ออยู่ในอวัยวะที่สำคัญๆ เช่น ในสมองและไขสันหลัง (neurocysticercosis)
บางทีรุนแรงอาจถึงตายได้ หรือ ตาบอดเมื่ออยู่ในตา (ซิสติเซอร์โคซิสของนัยน์ตา ocular cysticercosis)
อันตรายจากพยาธิตืดวัวรุนแรงกว่าอันตายที่เกิดจากพยาธิตัวตืดหมู (Taenia solium)
การป้องกันและควบคุมโรคพยาธิตัวตืดวัว
การรักษา
นิโคลซาไมด์ มีเบนดาโซล พราซิควันเทล แต่ให้ปรึกษาแพทย์และรับประทานยาตามแพทย์สั่ง ไม่ควรจะซื้อยาถ่ายพยาธิมากินเอง
เพราะพยาธิตัวตืดหมูอาจทำให้เกิดการติดเชื้อโดยตนเอง จากระยะตัวอ่อนพยาธิ (เป็นซิสติเซอร์โคซิส) ได้ และอาจรุนแรงถึงกับเสียชีวิตได้
การควบคุมปรสิตในอาหาร
Reference
ผศ.เอื้อมพร รัตนชาญพิชัย ตัวตืดหมู และ ตัวตืดวัว