Food Wiki

ค้นหา 6,333 คำศัพท์

สารเคมีห้ามใช้ในอาหาร / Prohibit substances

วัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร (ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) เรื่องวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร)

  • น้ำมันพืชที่ผ่านกรรมวิธีเติมโบรมีน (brominated vegetable oil)
  • กรดซาลิไซลิก(salicylic acid)
  • กรดบอริก(boric Acid)
  • บอแรกซ์ (borax)
  • แคลเซียมไอโอเดต (calcium iodate) หรือ โพแทสเซียมไอโอเดต (potassium iodate) ยกเว้นการใช้เพื่อปรับสภาวะโภชนาการเกี่ยวกับการขาดสารไอโอดีน ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
  • ไนโตรฟูราโซน (nitrofurazone)
  • โพแทสเซียมคลอเรต (potassium chlorate)
  • ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) สารละลายฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde solution) และพาราฟอร์มาลดีไฮด์ (paraformaldehyde)
  • คูมาริน (coumarin) หรือ 1,2-เบนโซไพโรน (1,2-benzopyrone) หรือ 5,6-เบนโซ-แอลฟา-ไพโรน (5-6-benzo - alpha - pyrone) หรือ ซิส-ออร์โธ-คูมาริค แอซิด แอนไฮไดร์ด (cis-o-coumaric acid, anhydride) หรือ ออร์โธ-ไฮดรอกซีซินนามิค แอซิด แล็กโทน (O-hydroxycinnamic acid, lactone)
  • ไดไฮโดรคูมาริน (dihydrocoumarin) หรือ เบนโซไดไฮโดรไพโรน (benzodihydropyrone) หรือ 3-4-ไดไฮโดรคูมาริน (3,4-dihydrocoumarin) หรือ ไฮโดรคูมาริน (hydrocoumarin)
  • เมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) หรือ เมทานอล (methanol)
  • ไดเอทิลีนไกลคอล (diethylene Glycol)

ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 154 (พ.ศ. 2537) เรื่อง อาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย

  • Cyclamate
  • Saccharin
  • Aspartame
  • Acesulframe K
  • Sucralose
  • Alitame
  • Natural Sweet Plants เช่น ชะเอม หญ้าหวาน

 

พิษภัยอันเกิดจากวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร

วัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร ประโยชน์ พิษภัยในการบริโภค
5) แคลเซียมไอโอเดต หรือโพแทสเซียมไอโอเดต ใช้เป็นสารฟอกสีแป้งข้าวสาลี และเนยแข็ง และช่วยปรับคุณสมบัติของกลูเตน (gluten) ในแป้งข้าวสาลีให้เหมาะต่อการอบใช้เสริมไอโอดีนในเกลือเพื่อป้องกันโรคคอพอก อาการพิษเฉียบพลันที่เกิดขึ้น ได้แก่ อาเจียนอย่างรุนแรง ถ่ายเหลวบ่อย ๆ ปวดท้องกระหายน้ำ ช็อค มีไข้ ถ่ายปัสสาวะไม่ออกเพ้อคลั่ง มึนงง และตายเนื่องจากโลหิตเป็นพิษ การรับประทานเป็นระยะเวลานานๆ อาจทำให้เกิดภาวะไอโอดีนเกิน โดยมีอาการเบื่ออาหาร ตาแดง ปากอักเสบ ผื่นแดง ลมพิษน้ำหนักลด นอนไม่หลับ มีอาการทางประสาท
6) ไนโตรฟูราโซน (nitrofurazone) ใช้เป็นยาต้านจุลชีพ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ผิวหนังเป็นผื่นแดง โลหิตจาง อาการดีซ่าน สมองส่วนล่าง ทำงานผิดปกติ และการไหลเวียนล้มเหลว
7) โพแทสเซียมคลอเรต (potassium chlorate) ใช้ทำหัวไม้ขีดไฟ ระคายเคืองต่อทางเดินอาหารและไต เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก (hemolysis) เลือดมี methemoglobin มาก ทำให้เกิดอาการเลือดขาดออกซิเจน ปริมาณที่ทำให้เกิดพิษ ประมาณ 5 กรัม แต่มีรายงานว่าเด็กกินเข้าไปเพียง 1 กรัมก็ทำให้ตายได้ การกินเข้าไป 15-46 กรัมจะทำให้อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ล้มฟุบและตาย เนื่องจากไตวาย
8) ฟอร์มาลดีไฮด์ เป็นแก๊ส ไม่มีสี มีกลิ่นฉุนมีขายทั่วไปในรูปฟอร์มาลิน 40%ใช้ประโยชน์เป็นยาฆ่าเชื้อทั่วไปและฆ่าเชื้อที่ผิวหนัง ทำน้ำยาดับกลิ่น และเป็นยาดองศพ ทำให้ปวดท้องอย่างรุนแรง มีอาการท้องเสีย อาเจียน ปวดคอและท้อง กระเพาะอาหารอักเสบ และเกิดแผลในกระเพาะอา หารตับไต หัวใจ และสมอง ถูกทำลาย เยื่อบุอวัยวะภายในอักเสบ หากเข้าสู่ร่างกาย 60 - 90 ml.ทำให้ตายได้
9) คูมาริน (coumarin) เป็นยาป้องกันโลหิต จับตัวกันเป็นก้อนหรือลิ่ม (anticoagulant) การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า ทำให้เกิดการทำลายตับ อัมพาต การกดประสาทส่วนกลาง ไตถูกทำลาย เลือดไม่แข็งตัว
10) ไดไฮโดรคูมาริน (dihydrocoumarin) ในอดีตมักพบปนเปื้อนในวัตถุเจือปนอาหาร ในผู้ชายการรับประทานเข้าไปในขนาด 4 กรัม ทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตได้
11) เมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol)

ใช้ในอุตสาหกรรมเคมีสังเคราะห์เป็นสารกันเยือกแข็ง (antifreeze) เป็นตัวทำละลายในเชลแล็คและวานิช

ใช้ล้างสี

เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูก oxidize ได้ช้ากว่าเอทธิลแอลกอฮอล์มาก แม้จะผ่านไป 2 วันก็ยังพบว่าเหลือตกค้างในร่างกายอีก 1 ใน 3 การเผาไหม้ในร่างกายจะทำได้ไม่สมบูรณ์จะถูกเปลี่ยนเป็นฟอร์มาลดีไฮด์ และกรดฟอร์มิคซึ่งจะมีความเป็นพิษกว่าเมธิลแอลกอฮอล์ ถึง 6- 60 เท่า เมธิลแอลกอฮอล์ มีความระคายเคืองสูงทำให้เป็นตะคริวในช่องท้อง อาเจียน สายตาพร่ามัว ม่านตาขยายและไม่ตอบสนองต่อแสงร่างกายมีความเป็นกรด การหายใจลำบากผิวหนังเป็นสีเขียว เนื่องจากเลือดขาดออกซิเจนการหายใจและระบบหมุนเวียนล้มเหลว อาจมีอาการเพ้อคลั่งหรือหมดสติ เป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือหลายวัน และตายในที่สุด หากโชคดีหายก็มักจะตาบอดถาวร
12) ไดเอทธิลีนไกลคอล (Diethylene glycol) เป็นตัวทำละลาย สำหรับสารหลายตัว ที่มีคุณสมบัติละลาย น้ำได้ รวมทั้งยาด้วย เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นกรดอ็อกซาลิก (oxalic acid) ซี่งมีพิษทำลายสมองและการทำงานของไต และทำให้เกิดโลหิตจาง พิษเฉียบพลัน ทำให้มีอาการอาเจียนปวดหัว หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ ความดันต่ำกล้ามเนื้ออ่อนกำลัง มึนงง หมดสติ ชักอาจตายภายในไม่กี่ชั่วโมงจากระบบการหายใจล้มเหลว หรือตายภายใน 24 ชั่วโมง จากน้ำขังที่ปอด ผู้ป่วยที่หมดสติหรือชักเป็นเวลานานสมองอาจถูกทำลายโดยไม่สามารถฟื้นเป็นปกติได้

Reference

  • http://www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/food/non-food.html
  • กองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, สารเป็นพิษในอาหาร , เกร็ดความรู้ ยา อาหาร เล่มที่ 3 หน้า 24 - 25, 2527.
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, อันตรายจากฟอร์มาลิน, สารที่เป็นภัยอย่างมหันต์ต่อผู้บริโภค, หน้า 9.
  • ราชกิจจานุเบกษา 111 ตอนพิเศษ 9 ง. "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ.2536) เรื่อง กำหนดวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร" กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี, 2537.


(เข้าชม 1,873 ครั้ง)

สมัครสมาชิก