แคดเมียม เป็นโลหะหนัก (heavy metal) ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถปนเปื้อนกับสิ่งแวดล้อมและตกค้างในอาหาร เป็นอันตรายในอาหาร (food hazard) ประเภทอันตรายทางเคมี (chemical hazard)
การใช้โลหะแคดเมียมในอุตสาหกรรม
โลหะแคดเมียมถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวาง
พิษของแคดเมียมและโรคที่เกิดขึ้น
การได้รับแคดเมียมจำนวนมากอาจทำให้เกิดพิษฉับพลันได้ พิษเฉียบพลันส่วนใหญ่เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นหรือฟูมแคดเมียม ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อแคดเมียมถูกทำให้ร้อน โดยทั่วไประยะเวลาหลังจากสัมผัสสารจะยาวนาน 2-3 ชั่วโมงก่อนแสดงอาการ อาการเริ่มแรกจะมีการระคายเคืองเล็กน้อยของทางเดินหายใจส่วนต้น อีก 2-3 ชั่วโมงต่อมาจะมีอาการไอ เจ็บปวดในทรวงอก เหงื่อออกและหนาวสั่น ซึ่งเป็นอาการที่คล้ายกับการติดเชื้อทั่วไปของทางเดินหายใจส่วนต้น ต่อมา 8-24 ชั่วโมง หลังจากสัมผัสสารอย่างฉับพลัน อาจเห็นอาการระคายเคืองอย่างแรงที่ปอด เจ็บปวดในทรวงอก หายใจลำบาก ไอ และอ่อนเพลีย อาการหายใจลำบากจะรุนแรงขึ้น เมื่อเกิดน้ำท่วมปอดตามมา อันตรายจากกรณีเช่นนี้มีถึง 15% ผู้ป่วยที่รอดชีวิตอาจมีฟองอากาศในเนื้อเยื่อ และเนื้อปอดปูดนูนออกมา ซึ่งต้องใช้เวลานานในการรักษาให้หาย มีรายงานว่าพบพิษเรื้อรังเกิดขึ้นหลังจากสัมผัสฟูมแคดเมียมออกไซด์เป็นเวลานาน
หลังจากที่แคดเมียมถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะมีครึ่งชีวิตที่ยาวนานและคงอยู่ในตับและไต เคยมีชื่อเรียกโรคพิษของแคดเมียม เป็นภาษาญี่ปุ่นว่า " อิไต-อิไต " ซึ่งแปลว่า " โอ๊ย โอ๊ย " ปรากฎขึ้นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น แถบแม่น้ำจินสุ เขตโตยามา เนื่องมาจากมีการทิ้งขี้แร่ที่มีแคดเมียมปนเปื้อนอยู่ ชาวบ้านที่ใช้น้ำจากแม่น้ำหรือได้รับแคดเมียมทางอ้อมจากแม่น้ำ เกิดเป็นโรคไต กระดูกผุ เจ็บปวดบริเวณหลังและเอวอย่างรุนแรงมาก และการมีเด็กพิการในอัตราสูงผิดปกติเมื่อได้รับแคดเมียมสะสมมากๆ
ผู้ที่ได้รับแคดเมียมสะสมในร่างกาย จะสังเกตเห็นวงสีเหลืองที่โคนของซี่ฟัน ซึ่งจะขยายขึ้นไปเรื่อยๆ จนอาจเต็มซี่ ถ้าขนาดของวงยิ่งกว้างและสียิ่งเข้ม แสดงว่ามีแคดเมียมสะสมมาก มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าแคดเมียมออกไซด์ เป็นสารก่อมะเร็งที่ไตและต่อมลูกหมาก นอกจากนั้นยังทำอันตรายต่อไต ทำให้สูญเสียประสาทการดมกลิ่น และทำให้เลือดจาง แต่ส่วนใหญ่โรคที่เกิดจากแคดเมียมมักเป็นชนิดเรื้อรัง โดยการได้รับแคดเมียมติดต่อกันเป็นเวลานาน
โรคที่เกิดอาจแบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
1. โรคปอดเรื้อรัง การได้รับแคดเมียมนานๆ และในปริมาณมากโดยเฉพาะจากการหายใจ จะทำให้เกิดการอุดตันภายในปอด ซึ่งเป็นเพราะมีการอักเสบของหลอดลม มีพังผืดจับในทางเดินหายใจส่วนล่าง และมีการทำลายของถุงลมซึ่งจะกลายเป็นโรคถุงลมโป่งพองในที่สุด ผู้ที่มีความเสี่ยงมาก คือคนทำงานกับผงแคดเมียมโดยตรง เช่น โรงงานแบตเตอรี่ขนาดเล็ก
2. โรคไตอักเสบ จะแสดงออกโดยมีการอักเสบของไต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ท่อในไต ซึ่งจะพบแคดเมียมในปัสสาวะสูง มีโปรตีน กลูโคสสูงในปัสสาวะ การทำงานทางท่อในไตเสียการทำงาน พบว่ามีการสะสมของแคดเมียมที่หมวกไต ก่อให้เกิดการอักเสบและเป็นอันตรายต่อไป และอาจเป็นไตวายได้ในที่สุดการเกิดโรคไตอักเสบนี้จะเป็นแบบถาวร
เกณฑ์มาตรฐานปลอดภัย
เกณฑ์มาตรฐานปลอดภัยที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ว่าคนปกติไม่ควรได้รับแคดเมียมเกินสัปดาห์ละ 0.40-0.50 มิลลิกรัม
ปริมาณแคดเมียมสูงสุดในอาหารชนิดต่างๆ ที่กำหนดโดย EU
ที่มา COMMISSION REGULATION (EC) No 1881/2006 of 19 December 2006
Cadmium |
Maximum levels (mg/kg wet weight) |
Meat (excluding offal) of bovine animals, sheep, pig and poultry |
0.050 |
Horsemeat, excluding offal |
0.20 |
Liver of bovine animals, sheep, pig, poultry and horse |
0.50 |
Kidney of bovine animals, sheep, pig, poultry and horse |
1.0 |
Muscle meat of fish, excluding species listed in points 3.2.6, 3.2.7 and 3.2.8 |
0.050 |
Muscle meat of the following fish bonito (Sarda sarda) common two-banded seabream (Diplodus vulgaris) eel (Anguilla anguilla) grey mullet (Mugil labrosus) horse mackerel or scad (Trachurus species) louvar or luvar (Luvarus imperialis) mackerel (Scomber species) sardine (Sardina pilchardus) sardinops (Sardinops species) tuna (Thunnus species, Euthynnus species, Katsuwonus pelamis) wedge sole (Dicologoglossa cuneata) |
0.10 |
Muscle meat of the following fish bullet tuna (Auxis species) |
0.20 |
Muscle meat of the following fish: anchovy (Engraulis species) swordfish (Xiphias gladius) |
0.30 |
Crustaceans, excluding brown meat of crab and excluding head and thorax meat of lobster and similar large crustaceans (Nephropidae and Palinuridae) |
0.50 |
Bivalve molluscs |
1.0 |
Cephalopods (without viscera) |
1.0 |
0.10 |
|
0.20 |
|
Soybeans |
0.20 |
Vegetables and fruit, excluding leaf vegetables, fresh herbs, fungi, stem vegetables, root vegetables and potatoes |
0.050 |
Stem vegetables, root vegetables and potatoes, excluding celeriac. For potatoes the maximum level applies to peeled potatoes. |
0.10 |
Leaf vegetables, fresh herbs, celeriac and the following fungi: Agaricus bisporus (common mushroom) , Pleurotus ostreatus (Oyster mushroom) , Lentinula edodes (Shiitake mushroom) |
0.20 |
Fungi, excluding those listed in point 3.2.17 |
1.0 |
Food supplementsexcl. food supplements listed in point 3.2.20 |
1.0 |
Food supplements consisting exclusively or mainly of dried seaweed or of products derived from seaweed |
3.0 |
การปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อมและอาหาร
โลหะแคดเมียมจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จะปนเปื้อน กระจายไปในสิ่งแวดล้อม ดินอากาศ น้ำ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูก พืช ผัก และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ สามารถตกค้างในอาหารที่คนเรากินโดยทั่วไป มนุษย์เราจึงได้รับแคดเมียมเข้าไปในร่างกายจากอาหารที่กินเข้าไปเป็นหลัก และได้รับจากอากาศเล็กน้อย
สำหรับแคดเมียมในอาหารนั้นจะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแหล่งผลิตอาหาร และการปนเปื้อนของแคดเมียมในสิ่งแวดล้อม ซึ่งเข้าไปปนอยู่ในน้ำ และในดิน บริเวณใดที่มีโลหะแคดเมียมในดินสูงและมีการปลูกพืชบริเวณนั้น จะมีปริมาณแคดเมียมในพืชนั้นสูงตามไปด้วย ตัวอย่างเช่น กรณีของบางเมืองในประเทศญี่ปุ่นที่อยู่บริเวณตอนใต้ของการทำเหมืองแร่ จะมีโลหะแคดเมียมถูกชะลงมาตามน้ำและสะสมในดิน เมื่อปลูกข้าวในบริเวณนั้นจะพบว่ามีปริมาณของแคดเมียมในข้าวสูงมาก จนทำให้คนญี่ปุ่นที่รับประทานข้าวจากบริเวณนั้นป่วยเป็นโรคพิษจากแคดเมียมกันมากมาย เพราะฉะนั้นน้ำจึงเป็นตัวพาแคดเมียมไปสะสมในที่ต่างๆ ถ้ายิ่งน้ำฝนที่เป็นกรดด้วย จะเพิ่มปริมาณการสะสมแคดเมียมในดิน พืชจึงดูดไปสะสมได้มากขึ้น
ภาวะการปนเปื้อนของแคดเมียมในอาหาร
การปนเปื้อนของแคดเมียมในข้าว
รศ.ดร. ทรงศักดิ์ ศรีอนุชาตและคณะพบว่า ปริมาณแคดเมียมในข้าวของไทยอยู่ระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวของประเทศต่างๆ ในแถบเอเชีย และพบว่าทั้งคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและในต่างจังหวัดได้รับแคดเมียมจากการกินอาหารและน้ำดื่มในแต่ละวันใกล้เคียงกัน คือคนกรุงเทพฯ ได้รับเฉลี่ย 0.113 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์ ในขณะที่คนต่างจังหวัดได้รับเฉลี่ย 0.105 มิลลิกรัมต่อสัปดาห์
การปนเปื้อนของแคดเมียมในผลิตภัณฑ์อาหารทะเล
สุชาดา มะแส (2538) ได้รายงานการศึกษาการสะสมของแคดเมียมในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อการส่งออกของโรงงานทีผลิตในเขตภาคใต้ตอนล่าง ระหว่างเดือนตุลาคม 2536-กันยายน 2537 จำนวน 965 ตัวอย่าง พบว่าปลาหมึกกระป๋องและปลาหมึกแช่เยือกแข็ง มีปริมาณการสะสมของแคดเมียมสูงกว่าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำชนิดอื่น โดยมีค่าเฉลี่ย 0.44 และ 0.62 มก./กก. ตามลำดับ ซึ่งเป็นระดับต่ำกว่ามาตรฐานสากล
ปริมาณแคดเมียมในผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำบรรจุกระป๋องและแช่เยือกแข็ง
ประเภทผลิตภัณฑ์ | จำนวน
ตัวอย่าง |
ปริมาณ (มก./กก.) |
||
ค่าต่ำสุด-ค่าสูงสุด |
ค่าเฉลี่ย |
ค่าเฉลี่ย + ค่าเบี่ยงเบนจากมาตรฐาน |
||
บรรจุกระป๋อง |
403 |
|||
ทูน่า/ซาร์ดีน |
213 |
0.001-0.38 |
0.09 |
0.09 ± 0.08 |
กุ้ง |
79 |
0.006-0.67 |
0.08 |
0.08 ± 0.10 |
41 |
0.03-1.60 |
0.13 |
0.13 ± 0.49 |
|
อาหารทะเลรวมมิตร |
8 |
0.01-1.0 |
0.12 |
0.12 ± 0.29 |
ปู |
34 |
0.01-0.28 |
0.08 |
0.08 ± 0.07 |
28 |
0.01-0.55 |
0.08 |
0.08 ± 0.12 |
|
124 |
||||
ปลา |
8 |
0.015-0.18 |
0.08 |
0.08 ± 0.06 |
กุ้ง |
57 |
0.008-0.36 |
0.018 |
0.18 ± 0.15 |
51 |
0.010-1.57 |
0.62 |
0.62 ± 0.43 |
|
อาหารทะเลรวมมิตร |
8 |
0.001-0.55 |
0.16 |
0.16 ± 0.07 |
ที่มา : สุชาดา มะแส (2538)
ปีพ.ศ. 2543 ทัศนีย์ได้เก็บตัวอย่างปลาหมึกที่เป็นวัตถุดิบที่โรงงานแช่เยือกแข็งและผลิตภัณฑ์แช่เยือกแข็ง 4 ชนิด ได้แก่ ปลาหมึกกล้วย ปลาหมึกหอม ปลาหมึกกระดอง และปลาหมึกสาย จำนวน 659 ตัวอย่าง มาวิเคราะห์หาปริมาณแคดเมียม พบการสะสมที่ลำไส้ของปลาหมึกสายจะมีมากที่สุด รองลงมาเป็นปลาหมึกกระดอง ปลาหมึกกล้วย และปลาหมึกหอม สำหรับในผลิตภัณฑ์พบการปนเปื้อนในปลาหมึกสายมากที่สุดแต่ไม่เกิน 1.2 มก./กก.
นิรชาและคณะ (2540) ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการตรวจสอบคุณภาพผลผลิตสัตว์น้ำ กรมประมง โดยตรวจสอบโลหะหนักแคดเมียม ปรอท และตะกั่วในปลาหมึกกล้วย ปลาหมึกกระดองและปลาหมึกสายโดยแยกวิเคราะห์เป็นส่วนหนวด (tentacle) และลำตัว (mantle) จากสะพานปลากรุงเทพฯ สมุทรปราการและสมุทรสาครระหว่างปีพ.ศ. 2539-2540
ปริมาณแคดเมียม ปรอท และตะกั่วในปลาหมึกจากสะพานปลา 3 แห่งระหว่างปีพ.ศ. 2539-2540
ชนิด |
ปริมาณ (มก./กก.) |
|||||
แคดเมียม |
ปรอท |
ตะกั่ว |
||||
ต่ำสุด-สูงสุด |
เฉลี่ย-เบี่ยงเบน |
ต่ำสุด-สูงสุด |
เฉลี่ย-เบี่ยงเบน |
ต่ำสุด-สูงสุด |
เฉลี่ย-เบี่ยงเบน |
|
หมึกกระดอง หนวด
ลำตัว |
0.252-1.322 0.147-1.500 |
0.523± 0.285 0.373± 0.320 |
0.003-0.162 0.005-0.183 |
0.028 ± 0.040 0.026 ± 0.035 |
0.219-0.878 0.363-0.880 |
0.529 ± 0.163 0.604 ±0.519 |
หมึกกล้วย หนวด
ลำตัว |
0.115-0.634 0.124-0.600 |
0.281 ± 0.175 0.228 ± 0.113 |
0.004-0.023 0.006-0.033 |
0.013± 0.005 0.015 0.007 |
0.292-0.826 0.236-0.828 |
0.513± 0.148 0.555 ± 0.169 |
หมึกสาย หนวด
ลำตัว |
0.066-0.565 0.573-2.425 |
0.284± 0.149 1.038± 0.556 |
0.004-0.080 0.006-0.042 |
0.018± 0.018 0.015± 0.010 |
0.042-0.656 0.100-0.560 |
0.310± 0.203 0.348± 0.163 |
ปีพ.ศ. 2545 มีรายงานปริมาณตะกั่ว ปรอท และแคดเมียมในปลาทะเลเศรษฐกิจ 16 ชนิด ได้แก่ ปลากระบอก ปลากะพงแดง ปลากะพงขาว ปลากะรัง ปลาจักรผาน ปลาจาระเม็ด ปลาทรายแดง ปลาทู ปลาน้ำดอกไม้ ปลาใบขนุน ปลาลัง ปลาสำลี ปลาสีกุน ปลาหางแข็ง และปลาโอ จำนวน 107 ตัวอย่าง ที่จำหน่ายในตลาดสดในเขตกรุงเทพมหานคร 7 แห่ง และสะพานปลา 3 แห่ง ระหว่างปีพ.ศ. 2541-2542 (ตารางที่ 5 ) โดยสุภาพรและคณะ พบว่าปริมาณตะกั่วอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยต่อผู้บริโภค (< 1 มก./กก.) คืออยู่ในช่วง 0.053-0.874 มก./กก. โดยมีค่าเฉลี่ย 0.256±0.128 มก./กก. ปรอทอยู่ในช่วง 0.004-0.581 มก./กก. มีค่าเฉลี่ยในช่วง 0.099±0.111 มก./กก. โดยปลาจักรผาน 2 ตัวอย่าง และปลาน้ำดอกไม้ 1 ตัวอย่าง มีปริมาณปรอทเกินมาตรฐาน คือ 0.501, 0.581 และ 0.510 มก./กก. ซึ่งเกินมาตรฐาน (0.5 มก./กก.) คิดเป็นร้อยละ 2.8 ของตัวอย่างทั้งหมด อาจเป็นเพราะเป็นปลาหน้าดิน ส่วนปริมาณแคดเมียมอยู่ในช่วง 0.017-2.067 มก./กก. มีค่าเฉลี่ย 0.094±0.205 มก./กก. โดยมีปลากะพงขาวเพียง 1 ตัวอย่าง ที่มีแคดเมียมเกินมาตรฐาน (2 มก./กก.) คือมีปริมาณ 2.067 มก./กก. จากผลการศึกษานี้อาจกล่าวได้ว่าร้อยละ 96.27 ของปลาทะเลที่สุ่มตรวจมีปริมาณตะกั่ว ปรอท และแคดเมียมอยู่ในเกณฑ์กำหนด
Reference