เบคเคอเรล (Becquerel ย่อว่า Bq) คือหน่วย ในระบบ SI ที่ใช้ วัดปริมาณกัมมันตรังสีที่เกิดจากการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี ตั้งเพื่อเป็นเกียรติ แด่ Antoine Henri Becquerel นักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปีพ.ศ. 2446 ร่วมกับปีแยร์ กูรี และมารี กูรี คำนิยามของเบคเคอเรล หมายถึงจำนวนนิวเคลียสของสารกัมมันตรังสีที่แตกตัวในหนึ่งวินาที (decays per second)
หน่วยวัดปริมาสารกัมมันตรังสีใน เครื่องดื่มหรือของเหลวจะใช้หน่วย "เบคเคอเรลต่อลิตร" ส่วนอาหารหรือของแข็งจะมีหน่วยเป็น "เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม"
ปกติอาหารทั่วไปจะวัดได้ 0 นั่นหมายความว่าไม่มีสารกัมมันตรังสีปนเปื้อนอยู่
ปัจจุบัน อย.กำหนดให้ตรวจปริมาณการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสีในอาหาร 3 ชนิดคือ ไอโอดีน 131 (Iodine-131) ซีเซียม 137 (Cesium-137) และซีเซียม 134 (Cesium-134)
เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดคือ อาหารเหล่านั้นต้องมี ไอโอดีน 131 ไม่เกิน 100 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม ซีเซียม 134 และซีเซียม 137 รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม
การวัดกัมมันตรังสี วัดได้ด้วยเครื่องแกมมาสเปกโตรสโคปีสามารถตรวจวัดได้ละเอียดตั้แต่ 0.1 เบคเคอเรล
กรณีโรงงานไฟฟ้าผลิตพลังงานจากนิวเคลียร์ ฟุกุชิม่า ไดอิจิ ได้ระเบิดเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2554 และเกิดการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีจากโรงงานลงสู่บรรยากาศ และ พื้นทะเลโดยรอบ จากการตามติดรายงานพบว่า น้ำทะเลที่ห่างจากโรงงานออกไปถึง 60 ไมล์ ยังพบสารกัมมันตภาพรังสีคาดว่าจะเป็น ซีเซี่ยม-137 (Cesium-137) และ ไอโอดีน-131 (Iodine-131)
กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นตรวจพบสารกัมมันตรังสีเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดในปลาที่จับได้นอกชายฝั่งจังหวัดฟูกูชิม่า และผักอีก 11 ชนิด ที่ปลูกในจังหวัดฟูกูชิม่า ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และได้สั่งห้ามจำหน่ายเห็ดชิตาเกะที่ปลูกกลางแจ้งในฟุกุชิมะแล้ว ขณะที่ปลาในน้ำบริเวณใกล้เคียงตรวจพบมีสารกัมมันตรังสีซีเซียม จำนวน 12,500 เบคเคอเรลต่อกิโลกรัม หรือมากกว่าที่กฎหมายกำหนดถึง 25 เท่า และพบสารกัมมันตรังสีไอโอดีนในปลาตัวนี้อีก 12,000 เบคเคอเรล หรือมากกว่าที่กฎหมายกำหนด 6 เท่า
Reference
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/E/042/26.PDF