มาลาไทออน (malathion) เป็นวัตถุมีพิษทางการเกษตร (pesticides) มีชื่อทางการค้า ได้แก่ Carbofos, Celthion, Cythion,
Emmatos, Fosfothion, Fyfanon, Karbofos, Kypfos, Malamar, Malatol, Malatox, Sadophos, Sumitox ,Zithiol,
หมายเลข CAS : 121-75-5 สูตรโมเลกุล C10H19O6PS2 มวลโมเลกุล : 330.3600
มาลาไทออนเป็นสารสังเคราะห์ เป็นของเหลวสีเหลืองถึงสีน้ำตาล กลิ่นคล้ายสกังค์หรือกระเทียม ละลายได้เล็กน้อยในน้ำ
ไม่ระเหยที่อุณหภูมิห้อง มีสูตรโครงสร้างทางเคมี : ชื่อพ้อง :Carbophos (USSR) ; Maldison (New Zealand) ;
Mercaptophion (South affrica) ; Cythion; Calmathion; Emmatos; Malacide; Malagran; Carbetox; Mercaptothion;
Diethyl [ (dimethoxyphosphinothioyl) -thio]butanedioate; o,o-dimethyldithiophosphate of diethyl mercaptosuccinate
ประโยชน์เป็นสารกำจัดแมลงกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟต ซึ่งใช้ได้กับแมลงหลายชนิด ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในแปลงเกษตร
และภายในบ้าน โรงเรียน โรงพยาบาล ใช้เพื่อควบคุมตัวเพลี้ย ไร หมัด แมลงวัน แมลงตระกูลจักจั่น ดักแด้ตัวอ่อนของแมลง แมลงศัตรูพืช
จิงโจ้น้ำ ตะขาบ เหา เห็บ แมลงศัตรูพืชตระกูลส้ม แมลงทำลายข้าว แมลงกินต้นฝ้าย ดักแด้ของผีเสื้อ มด แมงมุม และยุง ใช้ป้องกันแมลง
ในทุ่งหญ้าอัลฟาฟ่า ต้นโคลเวอร์ (clover) ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ บริเวณที่ไม่ใช่พื้นที่เกษตร การเพาะปลูกธัญพืช ฝ้าย ดอกคำฝอย ถั่วเหลือง
ซูการ์บีท ข้าวโพด ถั่ว บลูเบอรี่ การเก็บรักษาเมล็ดพืช และใช้ภายในที่พักอาศัย เช่น กำจัดยุงในที่พักอาศัยและพื้นที่ควบคุม นอกจากนั้น
ยังใช้กำจัดเหาและไข่เหาบนศีรษะมนุษย์ เห็บในสัตว์เลี้ยงอีกด้วย มาลาไทออนมีปริมาณการใช้ประมาณ 10-15 ล้านปอนด์ต่อปี
การเกิดพิษ
จัดว่ามีพิษต่ำกว่าสารในกลุ่มออร์แกนโนฟอสเฟตตัวอื่นๆ มีผลรบกวนระบบประสาททั้งของแมลงและมนุษย์ โดยยับยังเอนไซม์คอลีนเอสเทอเรส
แต่แมลงจะไวต่อมาลาไทออนมากกว่ามนุษย์
EPA (Environmental protection agency) จัดมาลาไทออนอยู่ในกลุ่มสารกำจัดแมลงที่มีความเป็นพิษ class III (อันตรายเล็กน้อย-slightly
hazardous) ให้จัดมีคำเตือนว่า "Caution" อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์มาลาไทออนที่มีส่วนผสมอื่นๆ ร่วมด้วย อาจมีคำเตือน ตั้งแต่ "Caution"
(ความเป็นพิษต่ำ) จนถึง "Danger" (ความเป็นพิษสูง) หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความเป็นพิษในประเทศไทย คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
มาลาไทออนถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสารเคมีอันตรายตามพรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit: MRLs) ของมาลาไทออน
มาลาไทออน |
|
ปริมาณสารพิษตกค้าง สูงสุด (Maximum Residue Limit: MRLs) (มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) |
---|---|---|
กะหลํ่าปลี |
8 |
|
ข้าวโพดฝักสด |
0.02 | |
ข้าวโพดฝักอ่อน |
0.02 |
|
ข้าวโพดเมล็ด |
0.05 |
|
ข้าวฟ่าง |
3 |
|
เครื่องเทศกลุ่มเมล็ด |
2 |
|
เครื่องเทศกลุ่มผล |
1 |
|
เครื่องเทศกลุ่มราก |
0.5 |
|
ดอกกะหลํ่า |
0.5 |
|
5 |
||
บรอคโคลี่ |
5 |
|
ผักกาดขาว |
8 |
|
3 |
||
พริก |
0.1 |
|
พริกแห้ง |
1 |
|
มะเขือเทศ |
0.5 |
|
มันสำปะหลัง |
0.5 |
|
ส้ม |
7 |
|
หอมแดง |
1 |
|
หอมใหญ่ |
1 |
|
อ้อย |
0.01 |
Reference