น้ำแร่ธรรมชาติ (natural mineral water) หมายถึง น้ำที่ได้จากแหล่งน้ำใต้ดินในธรรมชาติซึ่งมีแร่ธาตุละลายอยู่โดยมีต้นกำเนิดจากน้ำบนพื้นดินไหลซึมผ่านชั้นดินและชั้นหินพร้อมทั้งดูดซับ แร่ธาตุต่างๆ ลงไปขังในแอ่งน้ำใต้ดินและถูกแรงกดดันภายในโลกทำให้ผุดหรือพ่นขึ้นมาเป็นแหล่งน้ำบนผิวดินในรูปของน้ำพุร้อน บ่อน้ำร้อน และไอน้ำร้อน ในประเทศไทยพบแหล่งน้ำพุร้อน 112 แหล่ง กระจายอยู่มากที่สุดในภาคเหนือ รองลงมาคือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก และภาคกลาง มีช่วงอุณหภูมิ 40-100 องศาเซลเซียส ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 6.4-9.5
ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำแร่
น้ำแร่จะมีแร่ธาตุต่างๆ เป็นส่วนประกอบมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับชั้นหินที่น้ำไหลผ่าน ดังนั้น น้ำแร่ธรรมชาติแต่ละแหล่งจะมีแร่ธาตุทีแตกต่างกัน ซึ่งแร่ธาตุที่พบเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม โพแทสเซียม ไบคาร์บอเนต คลอไรด์ และซัลเฟต ส่วนแร่ธาตุอื่นๆ ที่พบในปริมาณน้อยได้แก่ ฟลูออไรด์ ซีลีเนียม แมงกานีส เป็นต้น
มาตราฐานน้ำแร่เพื่อบริโภค
น้ำแร่ธรรมชาติเป็นเครื่องดื่มเพื่อบริโภคนั้นต้องมีคุณภาพเหมาะสมที่จะบริโภคได้อย่างปลอดภัยตามมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำแร่ธรรมชาติ มาตราฐานเลขที่ มอก.2208-2547 โดยนำแร่ที่ดีต้องมีคุณลักษณะใส ไม่มีตะกอน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีแร่ธาตุในปริมาณที่ไม่เกินเกณฑ์มาตราฐาน ไม่พบเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคและมีปริมาณสารปนเปื้อนอัน ได้แก่ กัมมันตภาพรังสี รวม แอลฟา-บีตา และไซยาไนด์ ไม่เกินเกณฑ์มาตราฐาน โดยน้ำแร่ธรรมชาติที่นำมาบริโภคมีอยู่ 5 ประเภท ดังนี้
1. น้ำแร่ประเภทไม่มีคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วมีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับหรือใกล้เคียงกับปริมาณที่มีอยู่ในแหล่งธรรมชาตินั้น
2. น้ำแร่ประเภทไม่มีคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วไม่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณที่จะทำให้เกิดการละลายของเกลือไฮโดรเจนคาร์บอเนตที่มีอยู่ในน้ำ
3. น้ำแร่ประเภทขจัดคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์น้อยกว่าปริมาณที่มีอยู่ในแหล่งธรรมชาติ
4. น้ำแร่ประเภทเติมคาร์บอนไดออกไซด์จากแหล่งกำเนิด หมายถึง น้ำแร่ที่หลังจากการบรรจุแล้วมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าปริมาณที่มีอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ
5. น้ำแร่ประเภทเติมคาร์บอเนต หมายถึง น้ำแร่ที่มีการเติมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการบรรจุ
ตารางแสดงปริมาณสารในน้ำแร่ธรรมชาติตาม มอก. 2208-2547
ลำดับที่ | รายการ | เกณฑ์ที่กำหนดสูงสุดหน่วย มก./ต่อ ดม.3 |
---|---|---|
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 |
ทองแดง แมงกานีส สังกะสี สารหนู แบเรียม โครเมียม ตะกั่ว ซีลีเนียม ไนเทรต (คำนวณเป็น NO3) ซัลไฟต์ (คำนวณเป็น H2S) ไบคาร์บอเนต คาร์บอนไดออกไซด์อิสระ โซเดียมคลอไรด์ ปริมาณสารที่ละลายทั้งหมด ซัลเฟต ฟลูออไรด์ |
1 2 5 0.05 1.0 0.003 0.05 0.01 0.001 0.05 50 0.05 600 250 1,000 1,000 600 2.0 |
สำหรับผู้ที่สนใจบริโภคน้ำแร่ธรรมชาติเพื่อสุขภาพนั้น นอกจากจะต้องพิจารณาถึงคุณภาพของน้ำแร่ตามมาตราฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำแร่ธรรมชาติ มาตรฐาน เลขที่ มอก. 2208-2547 แล้ว ยังควรคำนึงถึงด้วยว่าน้ำแร่นั้นมีคุณสมบัติใดเป็นพิเศษ อย่างเช่น มีแร่ธาตุใดเพิ่มขึ้นที่ทำให้สภาพแตกต่างจากน้ำแร่ชนิดอื่นๆ ซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษเหล่านั้นอาจไม่เหมาะสมสำหรับผู้บริโภคบางราย เช่น
ในส่วนของผู้บริโภคที่ทำงานหนักหรือเป็นนักกีฬาที่สูญเสียเกลือแร่ต่อวันในปริมาณที่สูง การดื่มน้ำแร่ธรรมชาติที่มีปริมาณแร่ธาตุที่สมดุลและมีสภาพเป็นกลางในบางครั้งคราว จะช่วยชดเชยเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไปได้
นอกจากนี้ การพิจารณาเครื่องหมายรับรองคุณภาพและฉลากที่ระบุรายละเอียด ได้แก่ สถานที่แหล่งน้ำแร่ธรรมชาติ ส่วนประกอบของแร่ธาตุที่สำคัญ วันหมดอายุโดยเฉพาะประเภทน้ำแร่เติมคาร์บอเนต จะทำให้ผู้บริโภคไดดื่มน้ำแร่ธรรมชาติแท้ๆ อย่างปลอดภัย และมีสุขภาพที่ดี
Reference