Food Wiki

ค้นหา 6,333 คำศัพท์

Food label / ฉลากอาหาร

ฉลากอาหาร (food labelling) ความหมาย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 194 เรื่องฉลากอาหาร พ.ศ.2543 ให้คำนิยามของฉลากอาหาร
รูป รอยประดิษฐ์ เครื่องหมาย หรือข้อความใดๆ ที่แสดงไว้ที่อาหาร ภาชนะบรรจุ หรือหีบห่อของภาชนะที่บรรจุอาหาร (รวมถึงแผ่นพับและฉลากคอขวด)
โดยกำหนดให้อาหารทุกชนิดที่ผู้ผลิตไม่ได้เป็นผู้ขายอาหารนั้นให้กับผู้บริโภคโดยตรงต้องแสดงฉลากบนภาชนะบรรจุ

 

Food label

 

ข้อมูลที่แสดงบนฉลากอาหารนั้นสามารถจำแนd
ตามวัตถุประสงค์ได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่

  • ข้อมูลความปลอดภัย ประกอบด้วย วันที่ผลิต/หมดอายุ
    วิธีการเก็บรักษา วิธีการปรุง คำเตือนต่างๆ
    (กรณีที่กฎหมายกำหนด)
  • ข้อมูลความคุ้มค่า ประกอบด้วย ชื่อ/ประเภทของอาหาร
    ส่วนประกอบ ซึ่งเรียงลำดับตามปริมาณที่ใช้จากมากไปน้อย
    และปริมาณอาหาร (น้ำหนัก หรือปริมาตร) ในภาชนะบรรจ
  • ข้อมูลเพื่อการโฆษณา ได้แก่ รูปภาพและข้อความกล่าวอ้างต่างๆ
  • ข้อมูลเพื่อแสดงความเชื่อมั่น ได้แก่ ยี่ห้ออาหาร ชื่อและที่อยู่
    ของผู้ผลิต ผู้จำหน่ายหรือผู้นำเข้า เครื่องหมาย อย.
    (กรณีที่กฎหมายกำหนด) และตราสัญลักษณ์ต่างๆ

อาหารที่ต้องมีฉลาก

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่อง ฉลาก กำหนดให้อาหารดังต่อไปนี้ต้องมีฉลาก

กลุ่ม 1  อาหารควบคุมเฉพาะ

กลุ่ม 2 อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน

กลุ่ม 3 อาหารที่ต้องมีฉลาก

กลุ่ม 4 อาหารทั่วๆ ไป  (อาหารอื่นนอกจากอาหารกลุ่ม 1-3)

 

กลุ่มที่ 1 อาหารควบคุมเฉพาะมี 17 ชนิด ได้แก่

1.1 นมดัดแปลงสำหรับทารก และนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง สำหรับทารกและเด็กเล็ก

1.2 อาหารทารกและอาหารสูตรต่อเนื่อง สำหรับทารกและเด็กเล็ก
1.3 อาหารเสริม สำหรับทารกและเด็กเล็ก

1.4 น้ำนมโค
1.5 นมปรุงแต่ง

1.6 นมเปรี้ยว

1.7 ไอศกรีม (ice cream)

1.8 อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (hermectically sealed container)
1.9 ผลิตภัณฑ์ของนม (diary product)

1.10น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

1.11 เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

1.12 น้ำแข็ง

1.13 อาหารสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

1.14 สีผสมอาหาร

1.15 วัตถุที่ใช้ปรุงแต่งรสอาหาร

1.16 วัตถุเจือปนอาหาร

1.17 โซเดียมไซคลาเมตและอาหารที่มีโซเดียมไซคลาเมต

กลุ่มที่ 2 อาหารที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานมี 31 ชนิด ได้แก่

1. น้ำมันและไขมัน

2. น้ำมันถั่วลิสง3. เนย 4. เนยเทียม

5. กี 6. อาหารกึ่งสำเร็จรูป7. น้ำมันเนย 8. น้ำปลา

9. น้ำส้มสายชู 10. ครีม 11. น้ำมันปาล์ม 12. น้ำมันมะพร้าว 13. ชา 14. น้ำนมถั่วเหลือง ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท15. กาแฟ 16. แยม เยลลี มาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท17. เครื่องดื่มเกลือแร่18. รอยัลเยลลีและ ผลิตภัณฑ์รอยัลเยลลี 19. น้ำผึ้ง 20. น้ำแร่จากธรรมชาติ 21. เนยแข็ง

22. ซอสบางชนิด23. น้ำที่เหลือ จากผลิตภัณฑ์ โมโนโซเดียมกลูตาเมต24. ไข่เยี่ยวม้า

25. ผลิตภัณฑ์ปรุงรส ที่ได้จากการย่อยโปร.ตีน ของถั่วเหลือง26. ข้าวเติมวิตามิน27. ช๊อกโกแลต 28. เกลือบริโภค

29. อาหารที่มีสารพิษตกค้าง30. อาหารที่มีสารปนเปื้อน31. อาหารที่มีกัมมันตรังสี (ดู food irrradiation)

 

กลุ่มที่ 3 อาหารที่รัฐมนตรีประกาศให้ต้องมีฉลากมี 14 ชนิด ได้แก่

1. ผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ 2. แป้งข้าวกล้อง3. น้ำเกลือปรุงอาหาร4. ซอสในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท5. ขนมปัง

6. หมากฝรั่งและลูกอม7. วุ้นสำเร็จรูปและขนมเยลลี 8. กำหนดกรรมวิธี การผลิตอาหารซึ่งมี การใช้กรรมวิธีการ ฉายรังสี9. ผลิตภัณฑ์กระเทียม10. วัตถุแต่งกลิ่นรส 11. อาหารที่มีวัตถุที่ใช้เพื่อรักษาคุณภาพ หรือ มาตรฐานของอาหาร รวมอยู่ในภาชนะบรรจุ12 .อาหารที่มีส่วนผสมของว่านหางจระเข้ 13. อาหารมีวัตถุประสงค์พิเศษ 14. การแสดงฉลากของอาหาร พร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูป ที่พร้อมบริโภคทันที

 

 

แนวทางในการแสดงฉลากอาหาร

1. การแสดงฉลากอาหารที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคของอาหารกลุ่ม 1, กลุ่ม 2 และกลุ่ม 3 ต้องแสดงข้อความเป็นภาษาไทยจะมีภาษาต่างประเทศด้วยก็ได้ และต้องแสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้ เว้นแต่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจะยกเว้นให้ไม่ต้องระบุข้อความหนึ่งข้อความใดในฉลากของอาหารแต่ละชนิด1.1 ชื่ออาหาร ชื่ออาหารภาษาไทยต้องมีข้อความต่อเนื่องกันในแนวนอน ขนาดของตัวอักษรใกล้เคียงกัน สีเดียวกัน ถ้าแสดงบรรทัดเดียวได้ไม่หมดก็แยกเป็นหลายบรรทัดก็ได้ และชื่ออาหารภาษาไทยจะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าชื่ออาหารภาษาต่างประเทศ1.2 เลขสารบบอาหาร ในเครื่องหมาย ด้วยตัวเลขที่มีสีตัดกับสีพื้นของกรอบ และมีขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของกรอบตัดกับสีพื้นของฉลาก 1.3 ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ เพื่อจำหน่าย แล้วแต่กรณี โดยมีคำว่า "ผลิตโดย" หรือ "ผลิต-แบ่งบรรจุโดย" กำกับ สำหรับอาหารที่ผลิตภายในประเทศอาจแสดงสำนักงานใหญ่ของ ผู้ผลิตหรือของผู้แบ่งบรรจุก็ได้ ในกรณีที่เป็นอาหารนำเข้าให้แสดงชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิตด้วย1.4 ปริมาณสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก ถ้าเป็นอาหารผงหรือแห้งหรือก้อนให้แสดงน้ำหนักสุทธิ ถ้าอาหารเป็นของเหลวให้แสดงเป็นปริมาตรสุทธิ ในกรณีที่เป็นอาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ถ้าแยกเนื้ออาหารออกจากน้ำได้ให้แสดงน้ำหนักเนื้ออาหารด้วย1.5 ส่วนประกอบที่สำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ โดยแสดงจากปริมาณมากไปหาน้อย กรณีที่เป็นอาหารที่ต้องเจือจางหรือทำละลายก่อนบริโภค ให้แสดงส่วนประกอบที่สำคัญของอาหารเมื่อเจือจางหรือทำละลายตามวิธีปรุงเมื่อรับประทานตามที่แจ้งไว้ในฉลาก1.6 ข้อความว่า "ใช้วัตถุกันเสีย" ถ้ามีการใช้1.7 ข้อความว่า "เจือสีธรรมชาติ" หรือ "เจือสีสังเคราะห์" แล้วแต่กรณีที่มีการใช้1.8 ข้อความว่า "..... เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดของวัตถุปรุงแต่งที่ใช้) เช่น กรณีที่เป็นโมโนโซเดียมกลูตาเมทให้แสดงข้อความว่า "ใช้โมโนโซเดียมกลูตาเมทเป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร"1.9 ข้อความว่า "ใช้ ..... เป็นวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาล" (ความที่เว้นไว้ให้ระบุชนิดของวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้) ด้วยตัวอักษรขนาดไม่เล็กกว่า 2 มิลลิเมตร สีของตัวอักษรตัดกับสีพื้นของฉลาก เช่น กรณีที่เป็นแอสปาร์แตม (aspatame) ให้แสดงข้อความว่า "ใช้แอสปาร์แตมเป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล"1.10 ข้อความว่า "แต่งกลิ่นธรรมชาติ", "แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ", "แต่งกลิ่นสังเคราะห์","แต่งรสธรรมชาติ" หรือ "แต่งรสเลียนธรรมชาติ" แล้วแต่กรณีถ้ามีการใช้1.11 แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า "ผลิต" หรือ "หมดอายุ" หรือ "ควรบริโภคก่อน" กำกับ แล้วแต่กรณีดังต่อไปนี้ก. อาหารที่เก็บได้ไม่เกิน 90 วัน ให้แสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อนข. อาหารที่เก็บได้เกิน 90 วัน ให้แสดงเดือนปีที่ผลิต หรือวันเดือนปีที่หมดอายุ หรือวันเดือนปีที่ควรบริโภคก่อนค. อาหารที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประกาศกำหนดให้แสดงวันเดือนปีที่หมดอายุ เช่น นมเปรี้ยว นมพาสเจอร์ไรส์ ขนมปัง ผลิตภัณฑ์นมพาสเจอร์ไรส์1.12 คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี) 1.13 วิธีปรุงเพื่อรับประทาน (ถ้ามี) 1.14 วิธีการใช้และข้อความที่จำเป็นสำหรับอาหารที่มุ่งหมายจะใช้กับทารกหรือเด็กอ่อน หรือบุคคลกลุ่มใดใช้โดยเฉพาะ1.15 ข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนด (สำหรับอาหารกลุ่ม 4 อย่างน้อยต้องแสดงข้อความ1. ชื่ออาหาร2. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุเพื่อจำหน่ายแล้วแต่กรณี โดยมีคำว่า "ผลิตโดย" หรือ "ผลิต-แบ่งบรรจุโดย" กำกับ สำหรับอาหารที่ผลิตภายในประเทศอาจแสดงสำนักงานใหญ่ของผู้ผลิตหรือของผู้แบ่งบรรจุก็ได้ ในกรณีที่เป็นอาหารนำเข้าให้แสดงประเทศผู้ผลิตด้วย3. ปริมาณสุทธิของอาหารเป็นระบบเมตริก4. วันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อน โดยมีคำว่า "ผลิต" หรือ "หมดอายุ" หรือ "ควรบริโภคก่อน" กำกับ) 2. การแสดงฉลากที่มิได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค แต่จำหน่ายให้กับผู้ปรุงหรือผู้จำหน่ายอาหารให้แสดงเหมือนกับฉลากที่จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค เว้นแต่กรณีมีคู่มือหรือเอกสารประกอบที่แสดง รายละเอียดเกี่ยวกับส่วนประกอบของอาหาร คำแนะนำในการเก็บรักษา วิธีปรุงเพื่อรับประทาน วิธีการใช้ และข้อความที่จำเป็นสำหรับอาหารที่มุ่งหมายจะใช้กับทารกหรือเด็กอ่อนหรือบุคคลกลุ่มใดใช้เฉพาะ การใช้วัตถุกันเสีย วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล เจือสี แต่งกลิ่น การใช้วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร อยู่แล้ว จะแสดงฉลากเพียงชื่ออาหาร ชื่อและที่ตั้งผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ปริมาณสุทธิ เลขสารบบอาหาร และวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุการใช้ หรือควรบริโภคก่อนก็ได้3. การแสดงฉลากอาหารที่ไม่ได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภค แต่นำมาจำหน่ายเพื่อเป็นวัตถุดิบของโรงงาน ต้องมีข้อความภาษาไทย เว้นแต่อาหารที่นำเข้าอาจแสดงข้อความเป็นภาษาอังกฤษก็ได้ อย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้3.1 ชื่อและประเภทหรือชนิดของอาหาร3.2 เลขสารบบอาหาร3.3 ปริมาณสุทธิเป็นระบบเมตริก3.4 ชื่อผู้ผลิต สำหรับอาหารที่ผลิตในประเทศ ชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิต สำหรับอาหารนำเข้า แล้วแต่กรณี4. การแสดงฉลากของอาหารที่ผลิตเพื่อส่งออก จะแสดงข้อความเป็นภาษาใดก็ได้ แต่อย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้4.1 ประเทศผู้ผลิต4.2 เลขสารบบอาหาร (ถ้ามี) การแสดงฉลากจะต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่องฉลาก ทั้งนี้หากประกาศกระทรวงสาธารณสุขของอาหารควบคุมเฉพาะนั้น ๆ มีการกำหนดรายละเอียดการแสดงฉลากเพิ่มเติมจากประกาศฯว่าด้วยเรื่องฉลาก ผู้ขออนุญาตจะต้องแสดงฉลากให้มีรายละเอียดตามที่กำหนดไว้ในประกาศฯของอาหารโดยเฉพาะด้วยการแสดงข้อความในฉลากตามข้อ 1 รายละเอียดเกี่ยวกับข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดยกเว้นให้ไม่ต้องแสดง และข้อความที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากำหนดให้แสดงไว้ที่ฉลากของอาหารแต่ละชนิดดังนี้1. สูตรส่วนประกอบของอาหาร1.1 อาหารที่ได้รับยกเว้นให้แสดงเฉพาะส่วนประกอบของอาหาร โดยไม่ต้องแจ้งปริมาณเป็นร้อยละของน้ำหนัก ได้แก่ ฟรุตคอกเทล ฟรุตสลัด1.2 อาหารที่มิได้จำหน่ายโดยตรงต่อผู้บริโภคที่ต้องแจ้งส่วนประกอบของอาหาร โดยไม่ต้องแจ้งปริมาณเป็นร้อยละของน้ำหนัก ได้แก่ วัตถุเจือปนอาหาร, สีผสมอาหาร, วัตถุปรุงแต่งรสอาหารชนิดผสม1.3 อาหารที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องแสดงส่วนประกอบของอาหาร1.3.1 น้ำแข็ง1.3.2 น้ำบริโภค1.3.3 อาหารที่มีส่วนประกอบเพียงอย่างเดียว โดยไม่รวมถึงวัตถุเจือปนอาหาร1.3.4 โซดา1.3.5เครื่องดื่ม น้ำนมถั่วเหลือง ที่แสดงฉลากโดยพิมพ์พ่นทับบนภาชนะที่เป็นแก้ว1.3.6 เครื่องดื่มอัดก๊าซที่สูตรมีน้ำตาลและ flavor เพื่อใช้แต่งกลิ่นและสีที่แสดงฉลากแบบ shrink wrap และแบบพิมพ์ พ่น ประทับ1.4 อาหารที่มีเนื้อที่ของฉลากทั้งแผ่นน้อยกว่า 35 ตารางเซนติเมตร ให้แสดงส่วนประกอบของอาหารไว้ที่หีบห่อได้โดยไม่ต้องแสดงที่ฉลาก1.5 อาหารที่ต้องแสดงส่วนประกอบเมื่อเจือจางหรือทำละลายตามวิธีปรุงเพื่อรับประทานตามที่แจ้งไว้บนฉลาก ได้แก่ เครื่องดื่มชนิดเข้มข้นหรือชนิดแห้ง2. การแสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน2.1 อาหารที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแสดงวันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือควรบริโภคก่อน ได้แก่2.1.1เครื่องดื่ม น้ำนมถั่วเหลือง ที่แสดงฉลากโดยวิธีพิมพ์พ่นทับบนภาชนะบรรจุแก้ว2.1.2 เครื่องดื่มอัดก๊าซที่สูตรมีน้ำตาลและ flavor เพื่อใช้แต่งกลิ่นและสีที่แสดงฉลากแบบ shrink wrap และแบบพิมพ์ พ่น ประทับ2.1.3 น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท2.1.4 โซดา2.1.5ไอศกรีม2.1.6 น้ำแข็ง

ข้อมูลบนฉลากอาหาร



(เข้าชม 6,367 ครั้ง)

สมัครสมาชิก