Celiac disease เกิดจากการอักเสบที่ลำไส้เล็ก ทำให้ไม่สามารถดูดซึมไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และสารอาหารอื่นๆ ได้อย่างเพียงพอ ผลจากการขาดสารอาหารที่ลำไส้เล็ก ทำให้ลำไส้เล็กไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และส่งผลให้เกิดภาวะโลหิตจาง อ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดลง กระดูกพรุน การเจริญเติบโตช้า (ในวัยเด็ก) ผิวหนังและระบบประสาททำงานผิดปกติ
อาการของโรค Celiac disease
ความผิดปกติที่เกิดจาก Celiac disease มีความเกี่ยวข้องและคล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ อีกหลายโรค (รวมทั้งโรคภูมิแพ้อาหาร, food allergen) คนที่เป็นโรค Celiac disease อาจมีอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องผูก เจ็บท้อง เกิดก๊าซในกระเพาะอาหาร เจ็บปาก เป็นผื่นคันบริเวณข้อศอกและ/หรือเข่า รู้สึกชาที่เท้าและขา ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ โกรธง่าย ซึมเศร้า การดูดซึมไขมันและสารอาหารอื่นๆ เกิดขึ้นน้อย อุจจาระมีกลิ่นเหม็นและสีซีดบางครั้งอาจมีไขมัน
ผู้ที่เป็นโรค Celiac disease มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของลำไส้อย่างถาวร (ไม่ใช่สาเหตุมาจากการแพ้อาหารหรือการแพ้กลูเตน (gluten) ชนิด gluten Intolerance นอกจากนี้ยังมีโอกาสสูงในการเกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และพัฒนาไปสู่โรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันอัตโนมัติอื่นๆ (เช่น ต่อมไทรอยด์) ครอบครัวที่มีผู้ป่วยเป็นโรค Celiac disease มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคนี้ (แต่ไม่ได้แพร่กระจายง่าย) การเข้ารับการตรวจรักษาตั้งแต่เริ่มแรก อาจช่วยบรรเทาอาการของโรคกระดูกพรุน การทำงานของระบบประสาทผิดปกติ โรคโลหิตจาง และโรคมะเร็งได้
การหาสาเหตุของโรค Celiac disease ทำได้อย่างไรหลังจากที่แพทย์ได้สัมภาษณ์และตรวจร่างกายอย่างละเอียดในเบื้องต้น แพทย์จะเป็นผู้ตัดสินว่าต้องเข้ารับการตรวจเลือดหรือไม่ โดยแพทย์อาจแนะนำให้เข้ารับการตรวจกับแพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินอาหารและการตัดชิ้นเนื้อในลำไส้เล็กไปตรวจวินิจฉัย
สิ่งที่ควรทำเมื่อสงสัยว่าเป็นโรค Celiac disease
1. พบแพทย์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการทั้งหมด รวมทั้งประวัติการเป็นโรคปวดท้องหรือโรคลำไส้อักเสบในครอบครัว
2. ไม่ควรบริโภคอาหารที่มีแป้งข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโอ๊ต (ควรบริโภคอาหารที่ปราศจาก กลูเตน) จนกว่าจะได้พบแพทย์ และหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีกลูเตน ก่อนเข้ารับการตรวจ เพราะอาจทำให้การวินิจฉัยเกิดความผิดพลาดได้ การตรวจเลือดและการตัดชิ้นเนื้อในลำไส้ไปตรวจจะช่วยให้ผลการวินิจฉัยถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อดูความผิดปกติของโรค
3. เมื่อพบว่าเป็นโรค Celiac disease สิ่งที่จำเป็นสำหรับการรักษา คือการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลูเตน เพราะไม่มีวิธีการรักษาอื่นนอกจากการหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลูเตน ซึ่งเป็นเรื่องที่ยากในการปฏิบัติ นอกจากนี้ควรได้รับการแนะนำจากนักโภชนาการที่มีประสบการณ์ตรงในการจัดอาหารสำหรับผู้ที่เป็นโรค Celiac disease และควรอ่านฉลากอย่างระมัดระวังก่อนที่จะบริโภคอาหารทุกชนิด
4. พึงระลึกไว้เสมอว่าผู้ที่เป็นโรค Celiac disease จำนวนมาก มีอาการแพ้นม (ไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็กโทสได้ (lactose intolerance) ซึ่งอาจส่งผลต่อความผิดปกติภายในช่องท้อง ทำให้เกิดก๊าซ และเป็นแผลในช่องท้อง หลังจากที่ได้รับการรักษาโรค Celiac disease แล้ว จะช่วยให้การแพ้นมวัวลดลง
5. มาพบแพทย์ตามที่ได้นัดหมายไว้เพื่อติดตามผลการตรวจเลือด
Reference
http://www.ifrpd-foodallergy.com/gluten-allergy-gluten-hypersensitivity-celiac-disease.html