เครื่องคัดขนาด (sizer) เป็นเครื่องคัดแยก (sorter) ที่ใช้เพื่อการคัดแยก (sorting) วัตถุดิบ โดยใช้ขนาด (size) เป็นเกณฑ์ การคัดขนาดเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อการเตรียมวัตถุดิบ (raw material preparation) หรือ เป็นขั้นตอนระหว่างกระบวนการผลิต หรือหลังจากได้ผลิตภัณฑ์หลังแปรรูปที่มีขนาดแตกต่างกันออกจากกัน
- การคัดขนาดด้วยการใช้ตะแกรง (มักใช้คำว่า seiveing หรือ screening) เป็นการคัดขนาด โดยการใช้ตะแกรงที่มีช่องเปิด หรือแผ่นที่เจาะรูเป็นวงกลมให้ มีเส้นรอบวงเท่ากับเส้นรอบของวัตถุดิบ ตามเกณฑ์ที่ต้องการวัตถุดิบที่มีขนาดใหญ่กว่าจะค้างอยู่บนตะแกรง วัตถุดิบที่มีขนาดเล็กกว่าจะหลุดรอดตะแกรงได้ ลักษณะของตะแกรง เป็นแผ่นแบน ที่เรียงเป็นชุดต่อเนื่องกัน หรือ เรียงซ้อนกันเป็นชั้น มีรูเปิดไล่ขนาดกันมา เพื่อให้คัดได้หลายขนาด การคัดแยกด้วยตะแกรง มีการใช้ แรงกล เขย่าโยกหรือ หมุน ให้วัตถุดิบเคลื่อนที่ เหมาะกับวัตถุดิบที่มีรูปทรงกลม หรือใกล้เคียงทรงกลม ที่กลิ้งได้ เช่น ส้ม ส้มโอ มะนาว ตามขนาดที่ต้องการตามรูปร่างของวัสดุ ข้อจำกัดของการคัดขนาดด้วยการใช้ตะแกรง คือวิธีนี้ไม่เหมาะกับอาหารที่บอบช้ำง่าย แตกหักง่าย เพราะวัตถุดิบจะต้องมีการชนกัน กระแทกกัน ระหว่างการคัดขนาด
- เครื่องคัดขนาดแบบตะแกรงทรงกระบอก (drum screen) เครื่องคัดขนาดประเภทนี้ประกอบด้วย ตะแกรงทรงกระบอกหมุนได้ ขนาดรูเปิดของตะแกรงสอดคล้องกับขนาดของวัตถุดิบที่ต้องการคัด อาจเป็นแบบทรงกระบอกเดี่ยว หรือทรงกระบอกที่เรียงซ้อนกันเป็นชุดจำนวน 3- 4 ชั้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของรูเปิดของตะแกรงชั้นในจะมีขนาดใหญ่สุด และเล็กลงมาตามลำดับ วัตถุดิบจะถูกลำเลียงเข้าสู่เครื่องคัดด้วย เกลียวลำเลียงและหมุนอยู่ภายในตะแกรง เมล็ดพืชที่มีขนาดใหญ่จะค้างอยู่บนตะแกรงและถูกลำเลียงออก เมล็ดขนาดเล็กจะรอดผ่านรูตะแกรง ผ่านออกมาชั้นนอก เครื่องคัดขนาดแบบเป็นชุด จะแยกขนาดของวัตถุดิบได้ ตามจำนวนของตระแกรง 3 ชั้นจะแยกวัตถุดิบได้ 3 ขนาด ตามขนาดรูเปิด คือ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ เครื่องคัดขนาดแบบตระแกรงทรงกระบอก เหมาะสำหรับวัตถุดิบ ที่มีขนาดเล็ก ทนต่อแรงกระแทกได้ดี ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วลิสง เมล็ดธัญพืช กระเทียม เมล็ดกาแฟ โกโก้

เครื่องคัดขนาดด้วย

เครื่องคัดกลีบกระเทียมแบบตะแกรงทรงกระบอก
http://www.foodnetworksolution.com/knowledge/content/162
เครื่องคัดขนาดโดยใช้การกระเด้ง (bouncing properties)
โดยใช้สมบัติของการกระเด้ง (bouncing properties) ซึ่งขึ้นอยู่กับค่าสัมประสิทธิ์ของการคืนตัว (coefficient of restitution) โดยให้เมล็ดพืช ตกจากที่สูงจากสายพานลำเลียง (conveyer) ไหลลงมาตามรางส่ง (laner) ตกลงมากระทบกับลูกกลิ้ง (drum) ทำให้เมล็ดโกโก้กระเด้งออกไปตามวิถีโค้งตามขนาดของเมล็ด แล้วลงไปในที่รองรับต่อไป
Reference
นายณรงค์ พยอมแจ่มศรี นายรัฐมงคล ณ น่านนายพงศกร กาศกระโทก และ นายสุริยัน ธัญญเจริญ 2551 เครื่องคัดแยกขนาดเมล็ดสารกาแฟ
ธนิชชัย พันตาเอก กันต์นิธิ วิจิตรา และทัศนัย ว่าขานฤทธี 2536 ออกแบบและสร้างเครื่องคัดขนาดเมล็ดโกโก้ โดยใช้คุณสมบัติการกระเด้ง ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องจักรกลเกษตร คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล