connect networks, collect information, compare solutions, and compile knowledge for your best solution สร้างเครือข่าย รวบรวมข้อมูล เปรียบเทียบโซลูชั่น เพื่อพิจารณา เลือกโซลูชั่นที่ดีที่สุด

Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Garlic / กระเทียม

กระเทียม (garlic) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Allium sativum Linn. เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวอยู่ใต้ดิน อยู่ใน วงศ์ Alliaceae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับ หอมหัวใหญ่ หอมแดง ส่วนที่ใช้รับประทานคือ ลำต้น ดอก และหัว หัวของกระเทียมเป็นทั้งเครื่องเทศ (spice) และสมุนไพร (herb) ที่มีสารประกอบที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบในปริมาณมาก ทำให้กระเทียมมีกลิ่นรสเฉพาะตัว ใช้ปรุงอาหาร (cooking) หลายชนิด ทั้ง ต้ม ผัด น้ำพริกแกง ทอด และยังใช้เป็นวัตถุดิบนำมาแปรรูป (food processing) เพื่อการถนอมอาหารและเพิ่มมูลค่า เป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด กระเทียมมีกรดแอมิโน อาร์จินีน (arginine) oligosaccharides, flavonoid, and selenium ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ

กระเทียมจำหน่ายในรูปหัวกระเทียมแห้ง ประกอบด้วยกลีบเรียงซ้อนกันประมาณ 4-15 กลีบ บางพันธุ์จะมีเพียงกลีบเดียว เรียกว่า "กระเทียมโทน" แต่ละกลีบมีกาบเป็นเยื่อบางๆสีขาวอมชมพูหุ้มอยู่โดยรอบ กลิ่นหอมฉุน รสชาติเผ็ดร้อน

มาตรฐานขนาดของกระเทียม

กระเทียมหัว

garlic

กระเทียมกลีบ

garlic

ที่มา: http://www.acfs.go.th/standard/download/garlic.pdf

 

การใช้ประโยชน์ในอาหาร

  • กระเทียม ใช้ในการปรุงอาหาร (cooking) หลายชนิด ทั้งการผัด การทอด การต้ม การตุ๋น เป็นส่วนประกอบของอาหาร เช่น น้ำพริกแกงชนิดต่างๆ เช่น น้ำพริกแกงแดง น้ำพริกแกงเขียวหวาน น้ำพริกแกงแพนง น้ำยาขนมจีน น้ำพริกกะปิ
  • กระเทียมเจียว คือการนำกระเทียมมาเจียวในน้ำมันพืช หรือน้ำมันหมู ให้หอม มีสีเหลือง ก่อนใส่เนื้อสัตว์หรือผัก เป็นวิธีดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์และเพิ่มรสชาติให้กับอาหารประเภทผัดชนิดต่างๆ ใช้โรยหน้าอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ ข้าวต้ม
  • กระเทียมดองเป็นการถนอมอาหาร

 

ส่วนประกอบและสรรพคุณของกระเทียม

  • กระเทียม ประกอบด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรท แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ประกอบด้วยสารอินทรีย์ที่มีกำมะถันหลายชนิด เช่น แอลลิซิน 0.6-1.0% แอลลิอิน (alliin) ไดแอลลิลไดซัลไฟด์ (diallyl disulfide) เมทิลแอลลิลไตรซัลไฟด์ (methyl allyl trisulfide) คูมาริน (coumarin) เอส-แอลลิลซีสเตอีน (S-allylcysteine) เป็นต้น
  • กระเทียม มีน้ำมันหอมระเหย มีสารประกอบมากกว่า 200 ชนิด
  • กระเทียมมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย โดยเฉพาะจุลินทรีย์ก่อโรค (pathogen) ได้แก่ Salmonella typhymurium, Bacillus subtilis, Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, เชื้อรา ได้แก่ Aspergillus ยีสต์ Candida albicans และปรสิต (parasite) ใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) ในอาหาร
  • กระเทียม สามารถลดความดันโลหิตสูง ลดไขมันและคอเลสเตอรอล ป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว ลดน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ ยังเป็นยาขับเสมหะ รักษาไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ และยังมีฤทธิ์ขับเหงื่อ และขับปัสสาวะ
  • กระเทียมมีธาตุเจอร์เมเนียมค่อนข้างสูง ซึ่งมีสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง โรคหืด โรคไต โรคตับอ่อนและอาการท้องผูก

กระเทียมมีสารชักนำวิตามินบี 1 (Vitamin B1) เข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นเท่าตัว โดยรวมเป็นสารแอลลิลไทอะมิน ทำให้ vitamin B1 ออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น

 

Nutrient Units Value per
100 grams
 
Water g 58.58
Energy kcal 149
Protein g 6.36
Total lipid (fat) g 0.5
Ash g 1.5
Carbohydrate, by difference g 33.06
Dietaryfiber g 2.1
Sugars, total g 1
Minerals    
Calcium, Ca mg 181
Iron, Fe mg 1.7
Magnesium, Mg mg 25
Phosphorus, P mg 153
Potassium, K mg 401
Sodium, Na mg 17
Zinc, Zn mg 1.16
Copper, Cu mg 0.299
Manganese, Mn mg 1.672
Selenium, Se mcg 14.2
Vitamins    
Vitamin C, total ascorbic acid mg 31.2
Thiamin mg 0.2
Riboflavin mg 0.11
Niacin mg 0.7
Pantothenic acid mg 0.596
Vitamin B-6 mg 1.235
Folate, total mcg 3
Folate, food mcg 3
Folate, DFE mcg_DFE 3
Choline, total mg 23.2
Vitamin B-12 mcg 0
Carotene, beta mcg 5
Vitamin A, IU IU 9
Lutein + zeaxanthin mcg 16
Vitamin E (alpha-tocopherol) mg 0.08
Vitamin K (phylloquinone) mcg 1.7

 

 

Reference



(เข้าชม 2,058 ครั้ง)

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก