การทดสอบแรงดึง (tension test หรือ tensile test )คือ วิธีการทดสอบเนื้อสัมผัส (texture analysis) โดยใช้แรงดึง (tesile force)
ดึงวัสดุอย่างช้าๆ ทำให้วัสดุจะยึดยาวขึ้น อาจให้แรงดึง เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งชิ้นทดสอบขาด แล้วบันทึกความสัมพันธ์ระหว่าง
ความเค้นดึง (tensile stress) กับความเครียดตามแนวดึง (tesile strain) แสดงความสัมพันธ์เป็นกราฟ เรียกว่า กราฟความเค้นกับ
ความเครียด (stress-strain curve) หรือ แรงดึงกับระยะการเปลี่ยนรูป (deformation) ซึ่งเป็นระยะที่วัสดุยืดตัวออกจากระยะเดิม
การทดสอบเนื้อสัมผัส แบบการทดสอบแรงดึง (tensile test ) และการทดสอบแรงอัด (compression test) ที่ใช้แรงประเภทเดียวกัน
คือเป็นแรงตรง (direct load) กระทำผ่านจุดศูนย์ถ่วง ของหน้าตัด ต่างกันที่ การทดสอบแรงดึง ใช้หาการค่าการยืดตัว การทดสอบแรงกด
หาค่าการหดตัว
![]() |
|
ที่มา : http://www.ssi.shimadzu.com/products/product.cfm?product=eztest
การทดสอบแรงดึง ใช้ทดสอบความเหนียวของอาหารที่เป็นเส้น เช่น พาสต้า (pasta) บะหมี่ (noodle) เบคอน หรือใช้ทดสอบวัสดุ
บรรจุภัณฑ์ (packaging material) เช่น พลาสติก
มาตรฐานต่างๆ ของการทดสอบขนาดและรูปร่างของชิ้นทดสอบ ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ เพื่อให้ผลของการทดสอบเชื่อถือได้ เช่น
มาตรฐานของ ASTM (American Society of Testing and Materials)
BS (British Standards)
JIS (Japanese Industrial Standards)
มอก. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไทย)
Reference