1. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับ โปรตีน
- โปรตีน คือ polypeptide เป็นไบโอพอลิเมอร์ของกรดแอมิโนเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไฮโดรเจน
- โครงสร้างปฐมภูมิของโปรตีน (primary structure of protein) ถูกทำลายได้ด้วยความร้อนต่ำกว่า100 องศาเซลเซียส
- ชนิด ลำดับ และจำนวนของกรดแอมิโน ที่มาต่อกันทำให้เกิดโปรตีนชนิดต่างๆ ในธรรมชาติ ไม่เกิน 10 ชนิด
- โครงสร้างของโปรตีน (protein structure) มีได้หลายลักษณะ เช่น เป็นทรงกลม เป็นเส้นใย
- โครงสร้างโมเลกุลของโปรตีนมี คาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน กำมะถัน และ ทองแดง เป็นส่วนประกอบหลัก
2. ที่ pH = pI กรดแอมิโน จะมีสมบัติอย่างไร
- มีขั้ว ละลายได้น้อยที่สุด
- มีประจุรวมเป็นศูนย์ ละลายได้มากที่สุด
- มีประจุรวมเป็นลบ ละลายได้น้อยที่สุด
- มี pH = 7 มีประจุรวมเป็นศูนย์
- มีประจุรวมเป็นศูนย์ ละลายได้น้อยที่สุด
3. pI คือ
- Iso pH
- Electric iso point
- Iso electric point
- Personal Iphone
- ไม่มีข้อถูก
4. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการสูญเสียสภาพธรรมชาติของโปรตีน (protein denaturation)
- ทำลายพันธะเพปไทด์ / อาจย้อนกลับได้
- ทำลายโครงของโปรตีน (protein structure) /อาจย้อนกลับได้
- ทำลายพันธะไดซัลไฟด์ (disulfite bond) / อาจย้อนกลับได้
- ทำให้โปรตีนย่อยง่ายขึ้น / อาจย้อนกลับได้หรือย้อนกลับไม่ได้
- ทำให้โปรตีนตกตะกอน /อาจย้อนกลับได้หรือย้อนกลับไม่ได้
5. โปรตีนตกตะกอนเพราะ
- ประจุรวมเป็นบวก ประจุผลักกัน
- ประจุรวมเป็นลบ ประจุรวมตัวกัน
- ประจุรวมเป็นศูนย์ ประจุรวมตัวกัน
- ประจุรวมเป็นศูนย์ ประจุผลักกันรุนแรง
- ปรับ pH ให้น้อยกว่า pI มากๆ
6. ข้อใดทำให้โปรตีนตกตะกอน
- การปรับค่า pH
- การใช้ความร้อนสูง
- การใช้สารละลายเกลือเข้มข้น
- การใช้เอนไซม์ย่อย
- ถูกทุกข้อ
7. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับเอนไซม์
- เอนไซม์ทำปฏิกิริยาได้กับสารตั้งต้น (substrate) หลายชนิด
- เอนไซม์เป็นโปรตีน ทำงานโดยไปเพิ่มพลังงานกระตุ้นของปฏิกิริยา
- เอนไซม์มีอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำงานในช่วงกว้าง
- การเสียสภาพธรรมชาติของเอนไซม์ ทำให้โครงสร้างเอนไซม์เปลี่ยน
- การเสียสภาพธรรมชาติของเอนไซม์ทำให้เอนไซม์ทำหน้าที่ได้ดีขึ้น
8. ข้อใดไม่ทำให้เกิดการสูญเสียสภาพธรรมชาติของโปรตีน
- การสุกของไข่ขาวเมื่อได้รับความร้อน
- การสุกของเนื้อเมื่อนำไปย่าง
- การแข็งตัวของไข่ขาวเมื่อตีปั่นอย่างรุนแรง
- การตกตะกอนของน้ำนมเมื่อปรับให้เป็นกรด
- การนำน้ำนมไปแช่เย็น ที่ 5 องศาเซลเซียส
9. กรรมวิธีการแปรรูปอาหารใดทำให้เกิดการสูญเสียสภาพธรรมชาติของโปรตีนที่ชัดเจนที่สุด
- ขนมชั้น ขนมจีน ก๋วยเตี๋ยว
- เต้าหู้ เต้าฮวย โยเกิร์ต
- ซ่าหริ่ม ขนมตาล ปลาท่องโก๋
- นม UHT นมข้นหวาน นมเปรี้ยว
- ไวน์ เหล้า สาเก
10. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเจล
- เป็นโครงสร้างสามมิติที่กักเก็บน้ำไว้ภายใน
- ของกึ่งแข็ง (semi solid)
- โปรตีนทุกชนิดทำให้เกิดเจล
- เกิดจากไฮโดรคอลลอยด์ ที่จับกับน้ำได้ดี และมีส่วนที่จับกันเอง
- เมื่อได้รับความร้อนเจลอาจสลายตัว
11. ข้อใดเป็นเจลจากโปรตีน
- ไข่ขาวสุก
- เยลลี่จากเจลาติน
- โยเกิร์ต
- น้ำต้มขาหมูแช่เย็น
- ถูกทุกข้อ
12. ข้อใดไม่เป็นสมบัติเชิงหน้าที่ (functional properties) ของโปรตีนในอาหาร
- การเป็นอิมัลซิไฟเออร์
- การทำให้เกิดเส้นใย
- การทำให้เกิดฟอง
- การจับตัวกับน้ำ
- การให้กรดแอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย
13. โฟม
- เป็นอิมัลชันชนิดอากาศในน้ำ
- โปรตีนทำหน้าที่เป็นฟิมส์บางหุ้มอากาศให้โฟมคงตัว
- ตัวอย่างของโฟมในอาหาร เช่น ไอศกรีม เค้กไข่ขาว
- โฟมจากโปรตีนคงตัวมากที่สุดที่ pH = pI
- ถูกทุกข้อ
14. ข้อใดผิด
- โปรตีนไม่ได้เป็นสารละลายเนื้อเดียว แต่แขวนลอยเป็นไฮโดรคอลลอยด์ในน้ำ
- โปรตีนเป็นอิมัลซิไฟเออร์ได้ เพราะโมเลกุลของโปรตีนมีทั้งส่วนที่ชอบน้ำและไม่ชอบน้ำ
- โมเลกุลของโปรตีนจับกับน้ำ ซึ่งเป็นโมเลกุลที่มีขั้วได้ดี เพราะมีหมู่ R ที่มีขั้วและมีประจุ
- เมื่อโปรตีนอยู่ในน้ำจะหันหมู่ที่ชอบน้ำเข้าหาน้ำและหันหมู่ที่ไม่ชอบน้ำหนีน้ำ ทำให้เกิดโครงสร้างของโปรตีนระดับปฐมภูมิ
- โปรตีนสูญเสียสภาพธรรมชาติ ทำให้การจับกับน้ำเปลี่ยนไป อาจทำให้การละลายดีขึ้นหรือละลายไม่ดีก็ได้ ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของโปรตีน
15. ข้อใดไม่ถูกต้อง
- กลูเตน (gluten) เกิดจากโปรตีน ไกลอะดีน และกลูเตนิน
- กลูเตนเป็นโครงสร้างที่สำคัญของโด (dough) จากแป้งข้าวเจ้า
- พันธะไดซัลไฟด์ทำให้กลูเตนเกิดความยืดหยุ่นได้ดี
- กรดแอมิโนซีสเตอีนมีผลต่อโครงสร้างของกลูเตน
- กลูเตนมีเนื้อสัมผัสคล้ายเนื้อสัตว์ ใช้ในการผลิตอาหารเจที่เลียนแบบเนื้อสัตว์ได้
16. ข้อใดผิดเกี่ยวกับปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์
- มีออกซิเจนและเอนไซม์ร่วมในปฏิกิริยา
- เกิดเมื่อเซลล์ของพืช หรือ สัตว์เมื่อได้รับความร้อนสูง
- สารตั้งต้นคือ สารประกอบฟีนอล เช่น ไทโรซีน
- เกิดเป็นสารประกอบออร์โท-ควิโนน (o-quinone) ที่รวมตัวกันเป็นสารให้สีน้ำตาล
- ไม่มีข้อผิด
17. ข้อใดผิดเกี่ยวกับปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์
- ยับยั้งได้ด้วยการไม่ทำให้ให้เซลล์ฉีกขาด ช้ำ และป้องกันไม่ให้สัมผัสกับออกซิเจน
- ป้องกันได้ด้วยทำให้เอนไซม์สูญเสียสภาพธรรมชาติ เช่น การใช้ความร้อน การปรับให้เป็นกรด
- เป็นปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ช่วงต้นผันกลับได้ด้วยการใช้ reducing agent เช่น สารซัลไฟต์
- เกิดในผักผลไม้เท่านั้น เพราะเอนไซม์นี้พบเฉพาะในเซลล์พืช ไม่พบในเซลล์จากสัตว์
- เป็นปฏิกิริยาที่ไม่ต้องการทำให้อาหารเสื่อมเสีย แต่มีผลดีกับการหมัก ชา โกโก้
18. ข้อใดผิดเกี่ยวกับ PPO
- เป็นเอนไซม์ ในกลุ่ม phenolase
- เร่งการสลาย phenolic compounds
- ย่อมาจาก poly phenol oxidation
- พบในมากในพืช เช่น กล้วย มะพร้าว ชา แอปเปิล กระท้อน
- ไม่มีข้อผิด