ใบเตย (Pandanus,Fragrant Pandan,Pandom wangi) มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Pandanus amaryllifolius Roxb Linn.Palm อยู่ในวงศ์ PANDANACEAE เป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานและนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันกันมาก เนื่องจากหาได้ง่ายในประเทศไทย ราคาถูก เป็นพืชที่ให้สีและกลิ่น ไม่เป็นพิษภัยในการนำมาประกอบอาหารและทำขนม ใบเตยมีสารต่างๆ อยู่หลายชนิดและมีสารหอมที่ให้กลิ่นด้วย จึงมีผู้สนใจที่จะนำใบเตยมาใช้ประโยชน์กันมาก โดยทั่วไปจะนิยมเรียกว่า เตย แต่ในบางท้องถิ่นเรียกว่า หวานข้าวใหม่ (ภาคกลาง) ปาแนะวองิง (มาเลเซีย-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป
ใบเตยเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวลักษณะแตกกอเป็นพุ่มขนาดเล็ก ลำต้นเป็นข้อ ใบออกเป็นพุ่มบริเวณปลายยอด เมื่อโตจะมีรากค้ำจุนช่วย
พยุงลำต้นไว้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเป็นกระจุกเรียงสลับเวียนเป็นเกลียวขึ้นไปจนถึงยอด ลักษณะใบยาวเรียวคล้ายใบหอก ปลายใบแหลม
บริเวณกลางใบเป็นร่อง ขอบใบเรียบตรง ผิวใบเป็นมัน ด้านท้องใบจะเห็นเป็นรูปคล้ายกระดูกงูเรือใบ มีกลิ่นหอม
สารสำคัญที่พบในใบเตยประกอบไปด้วยน้ำมันหอมระเหย (essential oil) และมีสีเขียวของคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) ซึ่งใน
น้ำมันหอมระเหยประกอบไปด้วยสารหลายชนิด เช่น เบนซิลแอซีเทต (benzyl acetate) และแอลคาลอยด์ (alkaloid)
(Fatihanim et.al.,2008) ลินาลิลแอซีเทต (linalyl acetate ) ลินาโลออล (linalool) และเจอรานิออล (geraniol) และสารที่ทำให้
มีกลิ่นหอม คือคูมาริน (coumarin) และเอทิลวานิลลิน (ethyl vanillin)
สรรพคุณ ใบเตยให้กลิ่นหอมหวาน และหอมเย็น ช่วยลดการกระหายน้ำ เมื่อรับประทานน้ำใบเตยจะรู้สึกชื่นใจและชุ่มคอรักษา โรคหืด
บำรุงหัวใจ ลดน้ำตาลในเส้นเลือด และรักษาระดับความดันให้เป็นปกติ (Peungvicha et.al.,1998) ส่วนรากใช้เป็นยาบขับปัสสาวะ
และรักษาโรคเบาหวาน
References
Peungvicha, P.et.al. 1998. "4-Hydroxybenzoic acid: a hypoglycemic constituent of aqueous extract of Pandanus
odorus root." Journal of Ethnopharmacology. 62 (1998) : 70-84.
Fatihanim, M.N.et.al. 2008. "Antioxidative properties of Pandanus amaryllifolius leaf extracts in accelerated oxidation
and deep frying studies." Food Chemistry. 110 (2008) : 319-327.http://fic.ifrpd.ku.ac.th/fic/index.php/th/simplelist/475-pandan-27-10-2010.html