Food Wiki

ค้นหา 6,333 คำศัพท์

Thai dessert / ขนมไทย

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

มผช.1/2546

ขนมไทย

1. ขอบข่าย

1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ไม่ครอบคลุมขนมไทยประเภทอื่นที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้น

Thai dessertThai dessert

ที่มา:http://soft2.me/wp-content/uploads/2012/02/sweet.jpg

http://www.foodnetworksolution.com/uploaded/1_24.jpg

2. บทนิยาม

ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้

2.1 ขนมไทย หมายถึง อาหารที่ทำจากวัตถุดิบต่างๆ เช่น แป้ง ข้าว กะทิ น้ำตาล ไข่ หรืออื่นๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว สีสันสวยงาม
มีรสหวานอร่อย มีกลิ่นหอม อาจมีการเติมแต่งสี กลิ่น และรส

3. ประเภท

3.1 ขนมไทย แบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ

3.1.1 ขนมกวน เช่น ขนมลูกชุบ ขนมเปียกปูน ขนมลืมกลืน ขนมกะละแม ขนมตะโก้ ข้าวเหนียวแก้ว ผลไม้กวนชนิดต่างๆ

3.1.2 ขนมเชื่อมสด เช่น ขนมทองหยิบ ขนมทองหยอด ขนมฝอยทอง ขนมเม็ดขนุน ขนมกล้วยเชื่อม ขนมมันสำปะหลังเชื่อม
ขนมลูกตาลเชื่อม
ขนมสาเกเชื่อม

3.1.3 ขนมเชื่อมแห้ง เช่น ขนมฟักกรอบ มะยมเชื่อมแห้ง ลูกหยีเชื่อมแห้ง

3.1.4 ขนมทอด (frying) เช่น ขนมดอกจอก ขนมฝักบัว ขนมมันรังนกข นมกล้วยแขก ขนมกง ขนมทองพลุ

3.1.5 ขนมผิง เช่น ขนมหม้อแกง ขนมบ้าบิ่น ขนมผิง

3.1.6 ขนมต้ม เช่น ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ขนมข้าวต้มน้ำวุ้น

3.1.7 ขนมปิ้ง/ย่าง (grilling) เช่น ขนมทองม้วน ขนมทองพับ

3.1.8 ขนมนึ่ง เช่น ขนมชั้น ขนมปุยฝ้าย ขนมถ้วยฟู ขนมใส่ไส้ ขนมตาล ขนมกล้วย ขนมถ้วย

3.1.9 อื่นๆ เช่น ขนมจ่ามงกุฎ ขนมทองเอก ขนมกลีบลำดวน วุ้นกะทิ แป้งจี่

4. คุณลักษณะที่ต้องการ

4.1 ลักษณะทั่วไป

มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวถูกต้องตรงตามชื่อเรียกขนมไทยที่ระบุไว้ที่ฉลาก

4.2สี กลิ่นรส

ต้องมีสี กลิ่นรส เป็นไปตามเอกลักษณ์เฉพาะตัวของขนมไทยนั้นๆ

4.3 ลักษณะเนื้อสัมผัส

ต้องเป็นไปตามเอกลักษณ์เฉพาะของขนมไทยนั้นๆเมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ 9.1 แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ย
ของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบทุกคนไม่น้อยกว่า3.25 คะแนน และไม่มีลักษณะใดได้ 1คะแนน จากผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง

4.4 สิ่งแปลกปลอม

ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอม เช่น ลวดเย็บกระดาษ ไม้กลัด เส้นผม ชิ้นส่วนของแมลง

4.5 วัตถุเจือปนอาหาร

4.5.1 วัตถุกันเสีย ให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณตามที่กฎหมายกำหนด

4.5.2 สีผสมอาหาร ให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณตามที่กฎหมายกำหนด

4.6 จุลินทรีย์

4.6.1 จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1×104 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม

4.6.2 ต้องไม่มีราปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน

5. สุขลักษณะ

5.1 สุขลักษณะในการทำขนมไทย ให้เป็นไปตามคำแนะนำตาม GMP

6. การบรรจุ

6.1 ให้บรรจุขนมไทยในภาชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง ผนึกได้เรียบร้อย โดยต้องไม่ใช้ลวดเย็บกระดาษ ป้องกันการปนเปื้อน
ากสิ่งสกปรกภายนอก หรือความชื้น และไม่ดูดซึมไขมันจากขนมไทย กรณีใช้ภาชนะบรรจุที่ทำด้วยโลหะต้องไม่เป็นสนิม

6.2 ปริมาณสุทธิของขนมไทยในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก

7. เครื่องหมายและฉลาก

7.1 ที่ภาชนะบรรจุขนมไทยทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมี เลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน

(1) ชื่อเรียกขนมไทย

(2) ชนิดและปริมาณวัตถุเจือปนอาหาร (ถ้ามี)

(3) ปริมาณสุทธิ

(4) ข้อแนะนำในการเก็บรักษา เช่น ควรเก็บไว้ในตู้เย็น

(5) วัน เดือน ปีที่ทำ และ วัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า "ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) "

(6) ชื่อผู้ทำ หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมาย
ตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น

8. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน

8.1 รุ่น ในที่นี้ หมายถึง ขนมไทยที่มีชื่อเรียกอย่างเดียวกัน ทำโดยกรรมวิธีเดียวกัน ที่ทำหรือส่งมอบหรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน

8.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้

8.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไป สี กลิ่นรส ลักษณะเนื้อสัมผัส สิ่งแปลกปลอม การบรรจุ และเครื่องหมายและฉลากให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน3 หน่วยภาชนะบรรจุ เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตาม
ข้อ 4.1 ถึงข้อ 4.4 ข้อ 6. และข้อ 7. จึงจะถือว่าขนมไทยรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

8.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร และจุลินทรีย์ ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน
จำนวน 5 หน่วยภาชนะบรรจุนำมาทำเป็นตัวอย่างรวม เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 4.5 และข้อ 4.6 จึงจะถือว่า
ขนมไทยรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

8.3 เกณฑ์ตัดสิน

ตัวอย่างขนมไทยต้องเป็นไปตามข้อ 8.2.1 และข้อ 8.2.2 ทุกข้อ จึงจะถือว่าขนมไทยรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้

9. การทดสอบ

9.1 การทดสอบลักษณะทั่วไป สี กลิ่นรส และลักษณะเนื้อสัมผัส

9.1.1 ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ ประกอบด้วยผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบขนมไทยอย่างน้อย 5 คนแต่ละคนจะแยกกันตรวจ
และให้คะแนนโดยอิสระ

9.2 การทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร จุลินทรีย์ และปริมาณสุทธิ ให้ปฏิบัติตามวิธีวิเคราะห์ที่หน่วยตรวจสอบใช้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ

9.3 การทดสอบสิ่งแปลกปลอม ภาชนะบรรจุ และเครื่องหมายและฉลาก ให้ตรวจพินิจ

 

Reference

http://app.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps1_46.pdf



(เข้าชม 4,181 ครั้ง)

สมัครสมาชิก