กี (Ghee) เป็นผลิตภัณฑ์นมที่ได้จากการนำครีมหรือเนยมาต้มที่อุณหภูมิประมาณ 100-105 องศาเซลเซียส ในช่วงแรก
และเพิ่มขึ้นเป็น 115-120 องศาเซลเซียสในช่วงหลัง เพื่อไล่เอาน้ำออกให้หมดไป หลังจากนั้นจะนำมากรองผ่านผ้ามัสลิน
แล้วบรรจุใส่ภาชนะ
วิธีการผลิตกีที่นิยมใช้มี 2 วิธี คือ ผลิตจากครีมโดยตรง (direct cream method) และที่ได้จาก cream-butter process
บางครั้งอาจเรียก กี ว่า ไขมันนมที่ปราศจากน้ำ (anhydrous milk fat)
การใช้ความร้อนขณะต้มช่วยไล่น้ำออกไป ช่วยทำลายจุลินทรีย์ และหยุดการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ ด้วย ทำให้กีสามารถ
เก็บรักษากีได้นานกว่าเนย กีผลิตได้จากน้ำนมวัวและน้ำนมกระบือ แต่ในประเทศอินเดียนิยมผลิตจากน้ำนมกระบือ
ส่วนประกอบทางเคมีของกีประกอบด้วยไขมันนม 99.4% ความชื้น 0.3% และของแข็งปราศจากไขมันนมรวมกับกรดไขมัน
อิสระในรูปกรดโอเลอิกอีกประมาณ 0.3%
กีมีลักษณะเนื้อหยาบ (coarse appearance) เนื่องจากขณะต้มโปรตีนจะเสียสภาพธรรมชาติและจับตัวกับไขมันนมบางส่วน
ได้เป็นผลึกลอยอยู่ในส่วนที่เป็นของเหลว
กีที่ได้จากน้ำนมวัวจะมีสีเหลืองอ่อนหรือเหลือง-ส้ม เนื่องจากมีปริมาณแคโรทีนอยด์สูง แต่กีที่ได้จากน้ำนมกระบือจะมีสีขาว
หรือสีครีม เนื่องจากน้ำนมกระบือมีปริมาณแคโรทีนอยด์ต่ำ
นอกจากนี้กีที่ผลิตจากครีมโดยตรงจะมีสีคล้ำกว่ากีที่ได้จาก cream-butter process และการใช้ cultured cream จะให้สีคล้ำ
กว่า sweet cream และหากมีปริมาณของแข็งปราศจากไขมันนมสูงจะทำให้กีมีสีเข้มขึ้น
กลิ่นของกีคล้ายนัท (nutty flavour) ผสมกับกลิ่นคาราเมลและกลิ่นต้มเล็กน้อย บางครั้งอาจมีกลิ่นควันหรือกลิ่นหืน
ซึ่งจะไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค หากใช้อุณหภูมิขณะต้มสูงกว่า 130 องศาเซลเซียส กีที่ได้จะมีกลิ่นแรงและสีเข้มมาก
การใช้ครีมที่เกิดลิโพไลซิสจะทำให้ได้กีที่มีกลิ่นหืนของกรดไขมันอิสระ
เนื่องจากไขมันนมมีกรดไขมันชนิดต่างๆ ที่มีจำนวนคาร์บอนแตกต่างกันมาก ทำให้กีมีลักษณะเนื้อทั้งส่วนที่เป็นผลึก
และของเหลวผสมกันอยู่ ยกเว้นเมื่อเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำ (15 องศาเซลเซียส) การเสื่อมเสียของกีเกิดขึ้นจาก
ปฏิกิริยาทางเคมีและจุลินทรีย์ ซึ่งจะทำให้เกิด oxidized flavour และกลิ่นหืน ตามลำดับ