Food Wiki

ค้นหา 6,333 คำศัพท์

Rotary drier / เครื่องอบแห้งแบบถังหมุน

เครื่องอบแห้งแบบถังหมุน (rotary drier) เป็นเครื่องอบแห้ง (drier) ซึ่งนำใช้สำหรับการทำแห้ง (dehydration) อาหาร

หลักการทำงานของเตาอบเอนกประสงค์แบบหมุน

เครื่องอบแห้งประเภทนี้ประกอบด้วย ตัวถังอบ เป็นรูปทรงกระบอกวางนอน อาจวางเอียงเล็กน้อย วัสดุที่ต้องการอบจะถูกป้อนเข้าด้านบนของเครื่อง ลมร้อนจะถูกเป่าเข้าบริเวณแกนกลางของเตาอบ หรือผ่านทางด้านล่าง ผ่านชั้นของผลิตผล ถังอบมีกลไกให้หมุนรอบตัวอย่างช้าๆ หรือหมุนแบบเป็นช่วงๆ ภายในถังอาจติดตั้งครีบตักวัสดุขึ้นไป แล้วโปรยจากด้านบน เมื่อถังหมุนวัสดุเคลื่อนที่และจะคลุกเคล้ากันตลอดเวลา ทำให้การอบแห้งสม่ำเสมอ วัสดุที่อบแห้งเสร็จแล้วจะเคลื่อนที่ออกทางช่องเปิดด้านล่าง ประลิทธิภาพของเครื่องอบมีผลมาจากจัดทิศทางลมร้อน   มีการกระจายลมร้อนให้สัมผัสกับผลิตผลได้อย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งเตา การระบายความชื้นออกจากถังอบ เครื่องอบแห้งแบบถังหมุน เหมาะสำหรับการทำแห้งอาหาร ที่ต้องการกำลังการผลิตสูง ประเภทวัสดุปริมาณมวล (bulk material) ที่ทนต่อแรง กระแทก ไม่ช้ำง่าย หรือแตกหักง่าย เช่น เมล็ดธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง อาหารสัตว์ ลำไย

ผลดี

ข้อดีของการใช้เตาอบเอนกประสงค์แบบหมุน คือ ประหยัดเชื้อเพลิง กระบวนการอบไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานในการเฝ้าพลิกกลับผลิตผล
เนื่องจากมีการกระจายลมร้อนสัมผัสกับผลิตผลได้อย่างทั่วถึง ทำให้ใช้ระยะเวลาในการอบแห้งน้อยลง ลดเวลาการทำงาน ใช้แรงงานคนน้อยเฉพาะเวลาที่เอาผลิตผลเข้าและออกเตาเท่านั้น

การใช้เพื่ออบแห้งอาหาร

 

rotary drierrotary drier

 

http://www.aeroglide.com/_Thai/rotary-dryers-th.php

 

การอบแบบถังหมุน วัสดุที่อบแห้งจะสัมผัสกับลมร้อนโดยตรง ซึ่งอาจได้จากการเผาไหม้ก๊าซ LPG หรือสัมผัสโดยทางอ้อม โดยใช้ไอน้ำวิ่งอยู่ในท่อที่ติดอยู่กับเสื้อ (jacket) ที่หุ้มอยู่รอบของตัวถัง

 

rotary drier

1. ทางเข้าของอากาศก่อนเข้าห้องเผาไหม้ โดยมีพัดลมดูดอากาศ

2. ห้องเผาไหม้

3. เชื้อเพลิงที่ใช้ (แก๊ซหุงต้ม)

4. กล่องควบคุมการทำงาน

5. ชุดส่งกำลังหมุนเตาอบ

6. ห้องอบลำไยขนาด 2,000 ถึง 2,500 กิโลกรัม

7. ช่องสำหรับขนถ่ายลำไยเข้า-ออกเตา

8. ทางออก

 

เครื่องอบแห้งเอนกประสงค์แบบหมุน พัฒนาโดยหน่วยวิจัยระบบทางอุณหภาพ (thermal system research unit) สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.ist.cmu.ac.th/riseat/nl/2003/10/04.php ได้ใช้ทดลองอบลำไยและใบกระถิน ซึ่งเกษตรกรใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ พบว่า ผลิตผลที่ได้มีคุณภาพความแห้งสม่ำเสมอทั่วทั้งเตา ความเสียหายเนื่องจากการบุบของเปลือกในกรณีของผลลำไยมีน้อย ระยะเวลาในการอบน้อยกว่าเตาอบแบบเบดนิ่ง ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิง และลดการใช้แรงงานคน เตาอบสามารถควบคุมอุณหภูมิได้แน่นอน ทำให้สามารถปรับความร้อนให้เหมาะสมกับผลผลิตแต่ละชนิดได้



(เข้าชม 2,317 ครั้ง)

สมัครสมาชิก