ปาล์มน้ำมัน เป็นพืชน้ำมัน (oil crop) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า อีเลอิส กีนีเอ็นซิส (Elaeis guineensis)
ปาล์มน้ำมันออกผลเป็นทะลาย ทะลายหนึ่งมีผลปาล์ม 1,000- 2,000 ผล และมีน้ำหนักทะลายละ 10-15 กิโลกรัม
ผลปาล์มน้ำมันมีลักษณะเป็นรูปเรียวรีหรือรูปไข่ มีขนาดกว้าง 3 เซนติเมตร และยาว 5 เซนติเมตร มีน้ำหนักผลละ 10-15 กรัม
เปลือกผิวนอกของผลปาล์มเป็นสีเขียวหรือดำเมื่อผลอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีส้มแดงเมื่อผลแก่และสุก ภายใต้เปลือกเป็นเมล็ด
ประกอบด้วยกะลาและเนื้อในซึ่งมีต้นอ่อนฝังอยู่ น้ำมันปาล์ม (palm oil) จะได้จากผลปาล์ม 2 ส่วนคือ จากส่วนที่เป็นเปลือก
หุ้มภายนอก (mesocarp) และจากเนื้อในของเมล็ด (kernel) เรียกว่า palm kernel oil
ที่มา http://qwickstep.com/search/oil-fractionation.html
พันธุ์ปาล์มน้ำมัน
พันธุ์ปาล์มน้ำมันจำแนกออกได้เป็น 3 พันธุ์ คือ
1. พันธุ์ดูรา (Dura) มีเปลือกหุ้มผลค่อนข้างบางและมีกะลาหนา มีปริมาณน้ำมันต่อทะลายต่ำเพียง 18-20%
2. พันธุ์ฟิสิเฟอรา (Pisifera) มีเปลือกหุ้มผลค่อนข้างบาง แต่ให้ผลขนาดเล็กและมีดอกตัวเมียเป็นหมัน ผลิตผลต่อต้นต่ำ
3. พันธุ์เทเนอรา (Tenera) เป็นพันธุ์ลูกผสม โดยรวมลักษณะดีจากทั้งสองพันธุ์ดังกล่าวเข้าด้วยกัน โดยใช้ดูราเป็นแม่และฟิสิเฟอรา
เป็นพ่อ ให้น้ำหนักผลปาล์มต่อทะลายสูง เนื่องจากมีเปลือกหุ้มผลหนา และมีปริมาณน้ำมันมาก
3.2.1 ชั้นพิเศษ (extra class)
ทะลายปาล์มน้ำมันชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดีที่สุด มีทะลายปาล์มสุกไม่น้อยกว่า 90% และทะลายปาล์มกึ่งสุกไม่เกิน 10% ของจำนวน
ทะลายปาล์มน้ำมันในรุ่น (lot) และ/หรือ มีสัดส่วนน้ำมันต่อทะลาย (oil/bunch) ไม่น้อยกว่า 24%
3.2.2 ชั้นหนึ่ง (class I)
ทะลายปาล์มน้ำมันชั้นนี้ต้องมีคุณภาพดี มีทะลายปาล์มสุกไม่น้อยกว่า 80% และทะลายปาล์มกึ่งสุกไม่เกิน 20% ของจำนวนทะลายปาล์มน้ำมันในรุ่น และ/หรือ มีสัดส่วนน้ำมันต่อทะลายไม่น้อยกว่า 22%
3.2.3 ชั้นสอง (class II)
ทะลายปาล์มน้ำมันชั้นนี้ต้องมีคุณภาพตามข้อ 3.1 มีทะลายปาล์มสุกไม่น้อยกว่า 70% และทะลายปาล์มกึ่งสุกไม่เกิน 30% ของจำนวน
ทะลายปาล์มน้ำมันในรุ่น และ/หรือ มีสัดส่วนน้ำมันต่อทะลาย ไม่น้อยกว่า 20%
แหล่งปลูก
ปาล์มน้ำมันชนิดที่ปลูกเป็นการค้ามีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ในประเทศไทยปลูกมากในภาคใต้และชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทย
การเก็บเกี่ยวและการแปรรูปเบื้องต้น
เมื่อผลปาล์มแก่และสุก เปลือกนอกจะเปลี่ยนเป็นสีส้มและเริ่มร่วงหล่น เป็นระยะที่เปลือกมีน้ำมันสะสมมากที่สุด ควรทำการเก็บเกี่ยวทันทีโดยใช้เสียมหรือมีดตัดที่ก้านของทะลาย รวบรวมนำส่งโรงงานหีบน้ำมัน โดยให้ได้รับการกระเทือนน้อยที่สุด ภายในเวลา24 ชั่วโมง จึงจะได้น้ำมันคุณภาพสูง
โรงงานจะนำผลปาล์มสดทั้งทะลายไปอบไอน้ำเพื่อยับยั้งกิจกรรมของเอนไซม์ลิเพส และการเปลี่ยนแปลงของน้ำมัน และยังช่วยให้ผลปาล์มหลุดออกจากทะลายและแยกเปลือกออกจากกะลาได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นจึงนำไปย่อยอีกครั้งเพื่อแยกเอาเปลือกไปสกัดน้ำมันออก นำน้ำมันที่ได้ไปทำความสะอาดและลดความชื้น แล้วจึงส่งน้ำมันดิบเข้าโรงกลั่นเพื่อทำให้น้ำมันบริสุทธิ์อีกครั้งหนึ่ง
ส่วนเมล็ดปาล์มที่แยกมาจากเปลือก นำไปกะเทาะอีกครั้งเพื่อแยกเอาเนื้อในออกจากกะลา นำเนื้อไปอบให้แห้งส่งไปยังโรงงานที่กลั่นน้ำมันออกจากเนื้อในของเมล็ดปาล์ม ได้เป็น palm kernel oil