ไฟโตอีสโตรเจน (Phytoestrogen) เป็นสารประกอบเคมีธรรมชาติที่พบได้ในพืช (phytochemical) พบมากกว่า 300 ชนิด มีโครงสร้างและการออกฤทธิ์คล้ายคลึงฮอร์โมน estradiol
ไฟโตอีสโตรเจนไม่ใช่สารอาหาร เนื่องจากไม่ให้พลังงานและไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย แต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ (functional food) เนื่องจากมีโครงสร้างและการออกฤทธิ์ที่คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง คืออีสโตรเจน (estrogen) โดยออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง และกระตุ้นการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์ตัวเมีย แต่ออกฤทธิ์ได้ต่ำกว่าอีสโตรเจนของคน สามารถแย่งที่กับอีสโตรเจนในการจับกับตัวรับอีสโตรเจนที่มีอยู่ในทุกเซลล์ของร่างกาย และชักนำให้เกิดการตอบสนองเฉพาะต่ออีสโตรเจน
สำหรับผู้ชาย ไม่ควรบริโภคน้ำนมถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองมากเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายได้รับไฟโตอีสโตรเจนเพิ่มสูงขึ้น อาจส่งผลกระทบต่อภาวะสมดุลของฮอร์โมนเพศในร่างกายได้
ไฟโตอีสโตรเจน สามารถป้องกันการเติบโตของเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วยอีสโตรเจนได้ อาจช่วยลดหรือยับยั้งการออกฤทธิ์ของอิสโตรเจนที่มีต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่ตอบสนองต่ออีสโตรเจนได้ เช่น เนื้อเยื่อเต้านม เป็นต้น การบริโภคไฟโตอีสโตรเจน จึงอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมได้ รวมถึงการปกป้องการเกิดโรคหัวใจและ หลอดเลือดรวมถึงโรคกระดูกพรุน
ไฟโตเอสโตรเจนที่พบในอาหาร ได้แก่
ไฟโตอีสโตรเจนที่พบมากในอาหารที่กินเป็นประจำวัน คือ ไอโซฟลาโวน ซึ่งมีมากในถั่วเมล็ดแห้งหลายชนิด แหล่งอาหารสำคัญของ
ไฟโตอีสโตรเจนที่ร่างกายของคนได้รับ คือ ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ ซีอิ้ว เต้าเจี้ยว ไอโซฟลาโวน ที่สำคัญคือ
ในถั่วเหลืองคือ เดดซีน (daidzein) และจีนีสทีน (genistein)
Reference
http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=210&Itemid=242