การแยกส่วน (fractionation) เป็นกระบวนการ เพื่อแยกส่วนไขมันและน้ำมัน ซึ่งเป็นส่วนผสมของไตรกลีเซอร์ไรด์ (triglyceride)
หลายชนิด ที่มีจุดหลอมเหลวต่างกันออกจากกัน เพื่อให้ได้น้ำมันหรือไขมัน ที่มีจุดหลอมเหลวใกล้เคียงกัน มีส่วนของ กรดไขมันอิ่มตัว
และกรดไขมันไม่อิ่มตัวในสัดส่วนใกล้เคียงกัน
การแยกส่วนทำโดยหลอมหรือละลายไขมันและน้ำมันให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วลดอุณหภูมิลงจะทำให้ทำให้น้ำมันและไขมัน
เกิดการตกผลึก (crystallization) หลังจากนั้นนำมาผ่านการกรอง
น้ำมันปาล์มแยกส่วนจะได้น้ำมัน เรียกว่า ปาล์มโอเลอิน (palm olein) และไขมันหรือปาล์มสเตียริน
วิธีการแยกส่วน แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ
1.1 Dry fractionation เป็นวิธีการแยกส่วนโดยใช้วิธีให้ความร้อนแก่น้ำมันปาล์ม ให้มีอุณหภูมิประมาณ 75-90 องศาเซลเซียส
เพื่อให้น้ำมันปาล์มหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นนำเข้าถัง ตกผลึก (crystallization) โดย ทำให้เย็นที่อุณหภูมิ 25-30
องศาเซลเซียส อย่างช้าๆ น้ำมันปาล์มจะฟอร์มผลึกสเตียริน จากนั้นแยกผลึกออกโดยใช้เครื่องกรอง (filter press) ซึ่งจะได้
โอเลอิน (จุดขุ่น 8 องศาเซลเซียส) ประมาณร้อยละ 60 และสเตียรินประมาณร้อยละ 40
โอเลอีนที่มีคุณภาพสูง (super olein) ต้องแยกส่วนครั้งที่ 2 ซึ่งโอเลอินที่แยกส่วนในครั้งที่ 2 มีจุดขุ่นต่ำลง (4 องศาเซลเซียส)
เช่นเดียวกับสเตียรินเมื่อมีการแยกส่วนหลายครั้ง จะได้สเตียรินที่มีค่า Iodine value (IV) แตกต่างกันไป ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้สามารถ
นำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย สำหรับ PMF (palm mid fraction) สามารถนำไปใช้ในการผลิตเนยโกโก้เทียม (cocoa butter
equivalent) มาการีน
http://it.doa.go.th/palm/linkTechnical/oil%20palm%20processing.html
1.2 Lanza fractionation ค้นพบโดย Fractelli Lanza เป็นการแยกส่วนโดยการเติมสาร detergents หรือ wetting agents
เช่น sodium lauryl sulphate ในน้ำมันพืช เพื่อทำให้พื้นผิวหน้าของผลึกเปียกและตกตะกอน ผลึกที่เปียกจะชอบน้ำและ
ตกตะกอนในส่วนที่มีน้ำ น้ำจะมีส่วนของไขมัน น้ำมันหยดใหญ่จะรวมตัวกันใหญ่ขึ้น และจะเห็นเป็น 2 ชั้น ชั้นน้ำมันประกอบ
ด้วยน้ำมันโอเลอิน และส่วนชั้นน้ำมีน้ำและสเตียริน วิธีการแยกส่วนแบบนี้เป็นวิธีที่แยกผลึกขนาดเล็กออกได้ง่ายกว่า
dry fractionation และใช้เวลาในการตกผลึกสั้นกว่า
1.3 Wet fractionation เป็นวิธีที่อาศัยความสามารถในการละลายของไขมันและน้ำมันที่แตกต่างกัน การแยกส่วนด้วยตัวทำละลาย
จะให้การแยกที่ชัดเจนกว่า เพราะไม่ต้องใช้การตกผลึก แต่ใช้การเปลี่ยนอุณหภูมิและปริมาณตัวทำละลาย ทำโดยการผสม
ตัวทำละลายกับไขมันและปั๊มผ่านไปสู่เครื่องเกิดผลึก (crystallizer) ซึ่งทำให้เย็นที่อุณหภูมิที่จะแยกส่วน ผลึกที่เกิดขึ้นจะถูก
กรองแยกออกมา จากนั้นระเหยตัวทำละลายจะได้สเตียริน ส่วนโอเลอินและตัวทำละลายจะถูกเก็บทันที หรือไม่ก็ปั๊มไปเครื่อง
เกิดผลึกเพื่อให้ตกผลึกและแยกออกอีกตัวทำละลายที่นิยมใช้คือ เฮกเซน แอซีโตน และ 2-nitropropane ตัวทำละลาย
ที่แยกส่วนได้ชัดเจนที่สุดคือ แอซีโตนจากการเปรียบเทียบสมบัติของปาล์มโอเลอินที่ถูกแยกส่วนด้วยวิธีต่าง ๆ พบว่า
การแยกส่วนแบบ Lanza จะให้ผลผลิตสูงที่สุดและมีจุดที่มีของแข็งต่ำที่สุด น้ำมันปาล์มโอเลอินที่ได้มีกรดไขมันอิสระต่ำ
และมีจุดหลอมเหลวต่ำกว่าวิธีอื่น ๆ
References
http://it.doa.go.th/palm/linkTechnical/oil%20palm%20processing.htm
l