Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

เกลือสมุทร / Sea salt

 

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

เกลือสมุทร

1. ขอบข่าย

1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมเกลือสมุทรที่ใช้สำหรับบริโภค บรรจุในภาชนะบรรจุ

ที่มา:http://www.thaitambon.com/tambon/tsmepdesc.asp?Prod=03102413930&ID=750105&SME=0192493855

2. บทนิยาม

ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้

2.1 เกลือสมุทร หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการขังน้ำทะเลในนาพักเพื่อให้มีโคลนตมตกตะกอนและมีความเค็มเพิ่มขึ้น จากนั้นระบายน้ำเข้าสู่นาอีกแห่งเพื่อให้น้ำระเหยไปโดยกระแสลมและความร้อนจากแสงอาทิตย์จนเกลือตกผลึก ทิ้งไว้ให้แห้ง แล้วเติมไอโอดีน

3. ชนิด

3.1 เกลือสมุทร แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

3.1.1 ชนิดผง

3.1.2 ชนิดป่น

3.1.3 ชนิดเม็ด

4.วัตถุดิบ

4.1 การทำเกลือสมุทร มีวัตถุดิบดังนี้ 4.1.1 น้ำทะเล4.1.2 ไอโอดีน

5.Flow Chart

 

 

6. คุณลักษณะที่ต้องการ

6.1 ลักษณะทางด้านกายภาพ

6.1.1 ชนิดผง

ต้องเป็นเม็ดละเอียดหรือเป็นผง

6.1.2 ชนิดป่น

ต้องเป็นเม็ดเล็ก ๆ

6.1.3 ชนิดเม็ด

ต้องเป็นเม็ดหยาบ

6.1.4 สิ่งแปลกปลอม

ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูล

จากสัตว์

6.2 ลักษณะทางด้านเคมี

6.2.1 ความชื้น

6.2.1.1 ชนิดผง

ต้องไม่เกินร้อยละ 4 โดยน้ำหนัก

6.2.1.2 ชนิดป่น

ต้องไม่เกินร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก

6.2.1.3 ชนิดเม็ด

ต้องไม่เกินร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก

6.2.1.4 โซเดียมคลอไรด์

ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 โดยน้ำหนัก

6.2.1.5 ไอโอดีน

ต้องไม่น้อยกว่า 30 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม

6.2.2 สารที่ไม่ละลายน้ำ

ต้องไม่เกินร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก

6.2.3 สารปนเปื้อน

6.2.3.1 ตะกั่ว ต้องไม่เกิน 2.0 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

6.2.3.2 สารหนู ต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

6.2.3.3 ปรอท ต้องไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

6.2.3.4 ทองแดง ต้องไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

6.2.3.5 แคดเมียม ต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

 

6.3 ลักษณะทางด้านประสาทสัมผัส

6.3.1 สี

ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของเกลือสมุทร

6.3.2 รส

ต้องมีรสที่ดีตามธรรมชาติของเกลือสมุทร ปราศจากรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์

เมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ 9.1 แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบ ทุกคนไม่น้อยกว่า 3 คะแนน และไม่มีลักษณะใดได้ 1 คะแนนจากผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง

7. สุขลักษณะ

7.1 สุขลักษณะในการทำเกลือสมุทร ให้เป็นไปตามคำแนะนำตาม GMP.

8. การบรรจุ

8.1 ให้บรรจุเกลือสมุทรในภาชนะบรรจุที่สะอาด ปิดได้สนิท และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก

ภายนอกได้

8.2 น้ำหนักสุทธิของเกลือสมุทรในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก

9. เครื่องหมายและฉลาก

9.1 ที่ภาชนะบรรจุเกลือสมุทรทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้

ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน

(1) ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น เกลือสมุทร เกลือทะเล

(2) ส่วนประกอบที่สำคัญ

(3) น้ำหนักสุทธิ

(4) วัน เดือน ปีที่ทำ และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า "ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) "

(5) ข้อแนะนำในการบริโภคและเก็บรักษา

(6) ชื่อผู้ทำหรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน

ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น

10. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน

10.1 รุ่น ในที่นี้ หมายถึง เกลือสมุทรชนิดเดียวกัน ทำในระยะเวลาเดียวกัน

10.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้

10.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบสิ่งแปลกปลอม การบรรจุ และเครื่องหมายและ

ฉลาก ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุ เมื่อตรวจสอบแล้ว

ทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 6.1.4 ข้อ 8. และข้อ 9. จึงจะถือว่าเกลือสมุทรรุ่นนั้นเป็นไปตาม

เกณฑ์ที่กำหนด

 

10.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไป สี และรส ให้ใช้ตัวอย่างที่ผ่านการ

ทดสอบตามข้อ 10.2.1 แล้ว จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุ เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 6.1 ถึงข้อ 6.3 จึงจะถือว่าเกลือสมุทรรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

10.2.3 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบความชื้น โซเดียมคลอไรด์ ไอโอดีน สารที่ไม่

ละลายน้ำ และสารปนเปื้อน ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุ เพื่อทำเป็นตัวอย่างรวม โดยมีน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า 200 กรัม กรณีตัวอย่างไม่พอให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันให้ได้ตัวอย่างที่มีน้ำหนักรวมตามที่กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 6.2 จึงจะถือว่าเกลือสมุทรรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

10.3 เกณฑ์ตัดสิน

ตัวอย่างเกลือสมุทรต้องเป็นไปตามข้อ 10.2.1 ข้อ 10.2.2 และข้อ 10.2.3 ทุกข้อ จึงจะถือว่าเกลือสมุทรรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้

11. การทดสอบ

11.1 การทดสอบลักษณะทั่วไป สี และรส

11.1.1 ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ ประกอบด้วยผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบเกลือสมุทรอย่างน้อย ๕

คน แต่ละคนจะแยกกันตรวจและให้คะแนนโดยอิสระ

11.1.2 เทตัวอย่างเกลือสมุทรลงในจานกระเบื้องสีขาว ตรวจสอบโดยการตรวจพินิจและชิม

11.1.3 หลักเกณฑ์การให้คะแนน ให้เป็นไปตามตารางที่ 1

ตารางที่ ๑ หลักเกณฑ์การให้คะแนน

(ข้อ 11.1.3)

ลักษณะที่ตรวจสอบ

 

เกณฑ์ที่กำหนด

 

ระดับการตัดสิน (คะแนน)

ดีมาก

ดี

พอใช้

ต้องปรับปรุง

ลักษณะทั่วไป

ชนิดผง

ต้องเป็นเม็ดละเอียดหรือเป็นผงชนิดป่น

ต้องเป็นเม็ดเล็กๆ

ชนิดเม็ด

ต้องเป็นเม็ดหยาบ

4

 

3

2

 

1

 

 

สี

ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของเกลือสมุทร

4

3

2

1

รส

ต้องมีรสที่ดีตามธรรมชาติของเกลือสมุทร ปราศจากรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์

4

3

2

1

11.2 การทดสอบสิ่งแปลกปลอม ภาชนะบรรจุ และเครื่องหมายและฉลากให้ตรวจพินิจ

11.3 การทดสอบความชื้น

ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ

11.4 การทดสอบโซเดียมคลอไรด์ ไอโอดีน และสารที่ไม่ละลายน้ำ

ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ

11.5 การทดสอบสารปนเปื้อน

ให้ใช้อะตอมิกแอบซอร์ปชันสเปกโทรโฟโตมิเตอร์หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ

11.6 การทดสอบน้ำหนักสุทธิ

ให้ใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม



(เข้าชม 1,681 ครั้ง)

สมัครสมาชิก