มผช.756/2548
กระชายดำในน้ำผึ้ง
1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมกระชายดำในน้ำผึ้งที่บรรจุในภาชนะบรรจุ
ที่มา:http://watpotikaram.thaitelecentremall.com/index.php?route=product/product&product_id=158
ตัวอย่างกระชายดำในน้ำผึ้ง
2. บทนิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 กระชายดำในน้ำผึ้ง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเหง้ากระชายดำมาล้างให้สะอาด ตัดแต่ง หั่นเป็น แผ่นบางหรือ
ทุบให้แตก นำไปนึ่ง อบ หรือเคี่ยวเพื่อฆ่าเชื้อ แล้วนำไปบรรจุในภาชนะบรรจุ อาจเทน้ำผึ้ง ให้ท่วมก่อนหรือหลังบรรจุ ปิดฝา
หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 1 สัปดาห์
2.2 น้ำผึ้ง หมายถึง ของเหลวรสหวานซึ่งผึ้งผลิตขึ้นจากน้ำหวานของดอกไม้หรือจากส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นไม้แล้วสะสม
ไว้ในรวงผึ้ง
3.วัตถุดิบ
3.1 กระชายดำ
3.2 น้ำผึ้ง
4.แผนผังแสดงกรรมวิธีการผลิตกระชายดำในน้ำเชื่อม (Process flow chart)
5.คุณลักษณะที่ต้องการ
คุณภาพทางกายภาพ |
คุณภาพทางเคมี |
คุณภาพทางจุลินทรีย์ |
ประสาทสัมผัส |
5.1 ลักษณะทั่วไป กระชายดำต้องมีลักษณะเดียวกันอยู่ในน้ำผึ้งที่มีลักษณะเป็นของเหลวข้นและใส •5.2 สีน้ำผึ้งต้องมีสีน้ำตาลแดงเข้ม กระชายดำต้องมีสีม่วงอมดำไปจนถึงซีดจางซึ่งขึ้นกับระยะเวลาที่หมัก 5.3 สิ่งแปลกปลอม ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูล จากสัตว์
|
5.4 สารปนเปื้อน 5.4.1 ตะกั่ว ต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 5.4.2 สารหนู ต้องไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 5.5 น้ำตาลรีดิวซิง (reducing sugar) (คำนวณเป็นน้ำตาล 5.6 ซูโครส (sucrose) ต้องไม่เกินร้อยละ 5 โดยน้ำหนักของน้ำผึ้ง 5.7 วัตถุเจือปนอาหาร ห้ามใช้สีและวัตถุกันเสียทุกชนิด |
5.8 จุลินทรีย์ 5.8.1 จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1 × 104 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม 5.8.2 เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichai coli) โดยวิธีเอ็มพีเอ็น (MPN) ต้องน้อยกว่า 3 ต่อตัวอย่าง 1 กรัม 5.8.3 ยีสต์และรา ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
|
5.9 กลิ่นรส ต้องมีรสหวานหอม ฝาด ขม และเผ็ดร้อน ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ รสเปรี้ยว 5.10 ลักษณะเนื้อสัมผัส กระชายดำต้องไม่เละเมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ 8.1 แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบทุกคนไม่น้อยกว่า 3 คะแนน และไม่มีลักษณะใดได้ 1 คะแนน จากผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง
|
6. สุขลักษณะ
6.1 สุขลักษณะในการทำกระชายดำในน้ำผึ้ง ให้เป็นไปตาม GMP
7. การบรรจุ
7.1 ให้บรรจุกระชายดำในน้ำผึ้งในภาชนะบรรจุที่สะอาด ปิดได้สนิท และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจาก
สิ่งสกปรกภายนอกได้
7.2 น้ำหนักสุทธิของกระชายดำในน้ำผึ้งในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก
8. เครื่องหมายและฉลาก
8.1 ที่ภาชนะบรรจุกระชายดำในน้ำผึ้งทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียด
ต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน
(1) ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น กระชายดำในน้ำผึ้ง กระชายดำหมักน้ำผึ้ง กระชายดำดองน้ำผึ้ง
(2) ส่วนประกอบที่สำคัญ
(2) น้ำหนักสุทธิ
(4) วัน เดือน ปีที่ทำ และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า "ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) "
(5) ข้อแนะนำในการบริโภคและการเก็บรักษา
(6) ชื่อผู้ทำ หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น
9. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
9.1 รุ่น ในที่นี้ หมายถึง กระชายดำในน้ำผึ้งที่ทำในระยะเวลาเดียวกัน
9.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้
9.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบสิ่งแปลกปลอม การบรรจุ และเครื่องหมายและฉลาก ให้ชักตัวอย่าง
โดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุ เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 5.5 ข้อ 7. และข้อ 8.
จึงจะถือว่ากระชายดำในน้ำผึ้งรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่ กำหนด
9.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไป สี กลิ่นรส และลักษณะเนื้อสัมผัสให้ใช้ตัวอย่างที่ผ่าน
การทดสอบตามข้อ 9.2.1 แล้ว จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุ เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 5.1 ถึงข้อ 5.4
จึงจะถือว่ากระชายดำในน้ำผึ้งรุ่นนั้นเป็นไปตาม เกณฑ์ที่กำหนด
9.2.3 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบสารปนเปื้อน วัตถุเจือปนอาหาร น้ำตาลรีดิวซิง (reducing sugar)
และซูโครส (sucrose) ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุ เพื่อทำเป็นตัวอย่างรวม โดยมี
น้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า 500 กรัม กรณีตัวอย่างไม่พอให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันให้ได้ตัวอย่างที่มีน้ำหนักรวม
ตามที่กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไป ตามข้อ 5.6 ถึงข้อ 5.9 จึงจะถือว่ากระชายดำในน้ำผึ้งรุ่นนั้นเป็นไปตาม
เกณฑ์ที่กำหนด
9.2.4 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบจุลินทรีย์ ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียว กัน จำนวน 3 หน่วย
ภาชนะบรรจุ เพื่อทำเป็นตัวอย่างรวม โดยมีน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า 200 กรัม กรณีตัวอย่างไม่พอให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่ม
จากรุ่นเดียวกันให้ได้ตัวอย่างที่มีน้ำหนัก รวมตามที่กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 5.10 จึงจะถือว่า
กระชายดำใน น้ำผึ้งรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
9.3 เกณฑ์ตัดสิน
ตัวอย่างกระชายดำในน้ำผึ้งต้องเป็นไปตามข้อ 9.2.1 ข้อ 9.2.2ข้อ 9.2.3 และข้อ 9.2.4 ทุกข้อ
จึงจะถือว่ากระชายดำในน้ำผึ้งรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้
10. การทดสอบ
10.1 การทดสอบลักษณะทั่วไป สี กลิ่นรส และลักษณะเนื้อสัมผัส
10.1.1 ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ ประกอบด้วยผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบกระชายดำในน้ำผึ้งอย่างน้อย 5 คน
แต่ละคนจะแยกกันตรวจและให้คะแนนโดยอิสระ
10.1.2 เทตัวอย่างกระชายดำในน้ำผึ้งลงในแก้วใสโดยมีกระดาษสีขาวเป็นฉากหลัง ตรวจสอบโดยการตรวจ
พินิจและชิม
10.1.3 หลักเกณฑ์การให้คะแนน ให้เป็นไปตามตารางที่ 1
10.2 การทดสอบสิ่งแปลกปลอม ภาชนะบรรจุ และเครื่องหมายและฉลาก
ให้ตรวจพินิจ
10.3 การทดสอบสารปนเปื้อน วัตถุเจือปนอาหาร น้ำตาลรีดิวซิง และซูโครส
ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
10.4 การทดสอบจุลินทรีย์
ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือ BAM หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
10.5 การทดสอบน้ำหนักสุทธิ
ให้ใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม