กระชายดำ มีชื่อวิทยาศาสตร์ Kaempferia parviflora เป็นพืชสมุนไพร (herb) เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Zingiberaceae
เช่นเดียวกับขิงและขมิ้น มีถิ่นกำเนิดในประเทศเขตร้อนบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ พบได้ตามบริเวณป่าดิบร้อนชื้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์กระชายดำแตกต่างจากกระชายคือ กระชายทั่วไปใช้ส่วนที่เป็นราก (tuber) ซึ่งงอกออกมาจากเหง้า
(ลำต้นที่อยู่ใต้ดิน) มีกาบใบและใบซ้อนโผล่ขึ้นอยู่เหนือดิน ส่วนกระชายดำมีลำต้นอยู่ใต้ดิน (rhizome) หรือที่เรียกกันทั่วไป
ว่าหัว ลักษณะคล้ายขิงหรือขมิ้น แต่มีขนาดเล็กกว่า หัวมีสีเข้มแตกต่างกัน ตั้งแต่สีม่วงจาง ม่วงเข้ม และดำสนิท (ยังไม่ทราบ
แน่ชัดว่า ความแตกต่างของสีขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม อายุ หรือพันธุกรรม) สีของหัวเมื่อนำไปดองสุราจะถูกฟอกออกมาพันธุ์
ในปัจจุบันยังไม่มีการรวบรวมและจำแนกพันธุ์อย่างเป็นทางการ แต่หากจำแนกตามลักษณะของสีของเนื้อหัว พอจะแยกได้
3 สายพันธุ์ คือ
ส่วนใหญ่แล้วจะพบกระชายที่มีสีม่วงเข้มและสีม่วงอ่อน ส่วนกระชายที่มีสีดำสนิทจะมีลักษณะหัวค่อนข้างเล็ก ชาวเขาเรียกว่า
กระชายลิง ซึ่งมีไม่มากนักจัดว่าเป็นกระชายที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด
สารสำคัญ
สารที่พบในเหง้ากระชาย ได้แก่ borneol, sylvestrene ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านจุลชีพ และสาร 5,7-ไดเมทอกซีฟลาโวน
(5,7-dimethoxyflavone = 5,7 DMF) ซึ่งแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบ นอกจากนี้ยังพบสารพอลิฟีนอล (polyphenol)
พวกฟลาโวนอยด์ (flavonoid) เช่น สาร 5,7,4'-trimethoxyflavone, 5,7,3',4'-tetramethoxyflavone, และ 3,5,7,4' -
tetramethoxyflavone เป็นต้น
สรรพคุณทางยาในปัจจุบัน กระชายดำจัดว่าเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ทั้งผู้บริโภค และวงการ
แพทย์แผนไทย เพราะเชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานทางการแพทย์อย่างเป็นทางการ แต่จากประสบการณ์
ของผู้ใช้กระชาย มีรายงานว่าใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุง หัวใจ แก้ใจสั่น แก้บิด แก้ปวดข้อ แก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก
แก้แผลในปาก ทำให้โลหิตหมุนเวียนดีขึ้นผิวพรรณผุดผ่องสดใส ขับปัสสาวะแก้โรคกระเพาะ และปวดท้อง เป็นต้น แต่ที่
กล่าวกันมากคือ บำรุงกำหนัด จึงได้ฉายาว่า โสมไทย
ผลผลิต โดยเฉลี่ยหัวพันธุ์ 1 กิโลกรัม สามารถให้ผลผลิตได้ 5-8 กิโลกรัม ดังนั้น 1 ไร่ จะได้ผลผลิต ประมาณ
1,000-2,000 กิโลกรัม
การแปรรูป
References
http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=22
http://kukr.lib.ku.ac.th/Fulltext_kukr/KU0248001c.pdf