Food Wiki

ค้นหา 6,333 คำศัพท์

กระชายผงชงดื่ม

 

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

มผช.171/2546

กระชายผงชงดื่ม

1. ขอบข่าย

1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมเฉพาะกระชายผงชนิดผสมน้ำตาลพร้อมชงดื่มทันที และกระชายแห้ง
บดเป็นผงบรรจุในซองเยื่อกระดาษสำหรับชงดื่ม

ที่มา:http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/3259

2. บทนิยาม

ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้

2.1 กระชายผงชงดื่ม หมายถึง เครื่องดื่มชนิดผงทำจากการใช้น้ำสกัดเหง้ากระชายแห้งหรือสดแล้วนำไปทำให้
เข้มข้นผสมกับน้ำตาลทำให้แห้ง หรือทำจากเหง้ากระชายแห้งที่บดเป็นผงบรรจุในซองเยื่อกระดาษ

 

3. วัตถุดิบ

เหง้ากระชายแห้งหรือสด

น้ำตาล

 

 

4. Process Flowchart

 

5. คุณลักษณะที่ต้องการ

กายภาพ

เคมี

จุลินทรีย์

ประสาทสัมผัส

1. ต้องเป็นผงหรือเกล็ด แห้ง

2. ไม่จับตัวกันเป็นก้อน

 

1. วัตถุเจือปนอาหาร

ห้ามใช้สีสังเคราะห์ทุกชนิด

2. วอเตอร์แอกทิวิตี (water activity)

ต้องไม่เกิน 0.5

 

1. จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน

1 × 103 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม

2. โคลิฟอร์ม โดยวิธีเอ็มพีเอ็น ต้องน้อยกว่า 3 ต่อตัวอย่าง 1 กรัม

3. ยีสต์และรา ต้องน้อยกว่า 10
โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม

 

1. มีสีที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้

2. มีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้ และปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์

3. การละลายหรือการสกัดด้วยน้ำเดือด ของเหลวที่ได้ต้องมีลักษณะที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้

เมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ 10.1 แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบทุกคน

ไม่น้อยกว่า 3 คะแนน และไม่มีลักษณะใดได้ 1 คะแนน จากผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง

4. ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ขนสัตว์ ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือ

สิ่งปฏิกูลจากสัตว์

 

6. สุขลักษณะ

6.1 สุขลักษณะในการทำกระชายผงชงดื่ม ให้เป็นไปตามคำแนะนำตาม GMP

7. การบรรจุ

7.1 ให้บรรจุกระชายผงชงดื่มในภาชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง ผนึกได้เรียบร้อย และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจาก

สิ่งสกปรกภายนอกได้

7.2 น้ำหนักสุทธิของกระชายผงชงดื่มในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก

8. เครื่องหมายและฉลาก

8.1 ที่ภาชนะบรรจุกระชายผงชงดื่มทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียด

ต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน

(1) ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น กระชายผงสำเร็จรูป สมุนไพรกระชาย

(2) ปริมาณน้ำตาล (เฉพาะชนิดผสมน้ำตาล)

(3) น้ำหนักสุทธิ

(4) วัน เดือน ปีที่ทำ และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า "ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) "

(5) ข้อแนะนำในการเก็บรักษาและการบริโภค

(6) ชื่อผู้ทำ หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน

ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น

9. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน

9.1 รุ่น ในที่นี้ หมายถึง กระชายผงชงดื่มชนิดเดียวกัน ที่ทำโดยกรรมวิธีเดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน

9.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้

9.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบสิ่งแปลกปลอม การบรรจุ และเครื่องหมายและฉลาก
ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุ เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็น
ไปตาม ข้อ 5.5 ข้อ 6. และข้อ 7. จึงจะถือว่ากระชายผงชงดื่มรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

9.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไป สี กลิ่นรส และการละลายหรือการสกัด
ด้วยน้ำเดือด ให้ใช้ตัวอย่างที่ผ่านการทดสอบตามข้อ 9.2.1 แล้ว จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเมื่อตรวจสอบแล้ว
ตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 5.1 ถึงข้อ 5.4 จึงจะถือว่ากระชายผงชงดื่มรุ่นนั้นเ
ป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

9.2.3 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร วอเตอร์แอกทิวิตี และจุลินทรีย์ให้
ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 5 หน่วยภาชนะบรรจุ นำมาทำเป็นตัวอย่างรวมเมื่อตรวจสอบแล้ว
ตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 5.6 ถึงข้อ 5.8 จึงจะถือว่ากระชายผงชงดื่มรุ่นนั้น
เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

9.3 เกณฑ์ตัดสิน

ตัวอย่างกระชายผงชงดื่มต้องเป็นไปตามข้อ 8.2.1 ข้อ 8.2.2 และข้อ 8.2.3 ทุกข้อ จึงจะถือว่ากระชายผงชงดื่ม
รุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้

10. การทดสอบ

10.1 การทดสอบลักษณะทั่วไป สี กลิ่นรส และการละลายหรือการสกัดด้วยน้ำเดือด

10.1.1 ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ ประกอบด้วยผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบกระชายผงชงดื่ม อย่างน้อย 5 คน
แต่ละคนจะแยกกันตรวจและให้คะแนนโดยอิสระ

10.1.2 เทตัวอย่างกระชายผงชงดื่มลงในจานกระเบื้องสีขาว ตรวจสอบลักษณะทั่วไป และสีโดยการตรวจพินิจ

10.1.3 ใส่ตัวอย่างกระชายผงชงดื่มลงในภาชนะที่เหมาะสม เติมน้ำเดือดตามปริมาณที่ระบุไว้ในฉลาก
ทิ้งให้ละลาย 30 วินาที ตรวจสอบโดยการตรวจพินิจและชิม

10.1.4 หลักเกณฑ์การให้คะแนน ให้เป็นไปตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 หลักเกณฑ์การให้คะแนน

ลักษณะที่ตรวจสอบ

เกณฑ์ที่กำหนด

ระดับการตัดสิน (คะแนน)

ดีมาก

 

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

ลักษณะทั่วไป

ต้องเป็นผงหรือเกล็ด แห้ง ไม่จับตัวกันเป็นก้อน

4

3

2

1

สี

ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้

4

3

2

1

กลิ่นรส

ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของส่วนประกอบ

ที่ใช้ และปราศจากกลิ่นรสอื่นที่พึงประสงค์

 

4

3

2

1

การละลายหรือการ

สกัดด้วยน้ำเดือด

ของเหลวที่ได้ต้องมีลักษณะที่ดีตามธรรมชาติ

ของส่วนประกอบที่ใช้

4

3

2

1

10.2 การทดสอบสิ่งแปลกปลอม ภาชนะบรรจุ และเครื่องหมายและฉลาก

ให้ตรวจพินิจ

10.3 การทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร

ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ

10.4 การทดสอบวอเตอร์แอกทิวิตี

ให้ใช้เครื่องวัดวอเตอร์แอกทิวิตีที่ควบคุมอุณหภูมิได้ที่ (25 ± 2) องศาเซลเซียส

10.5 การทดสอบจุลินทรีย์

ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือ BAM หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ

10.6 การทดสอบน้ำหนักสุทธิ

ให้ใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม



(เข้าชม 757 ครั้ง)

สมัครสมาชิก