มผช.1069/2548
กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง
1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงพร้อมชงดื่ม อยู่ในลักษณะเป็นเกล็ดและ เป็นผง บรรจุในภาชนะบรรจุ
ที่มา:http://www.ubuyme.com/img_prod/176/pic1.jpg
2. บทนิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกาแฟสำเร็จรูป (instant coffee) มาผสมให้เข้ากันกับส่วนประกอบอื่นที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ครีมเทียม น้ำตาล ดอกคำฝอยผงสำเร็จรูป อาจบดอีกครั้งก่อนบรรจุในภาชนะบรรจุ
3.วัตถุดิบ
1.กาแฟสำเร็จรูป (instant coffee)
2.ครีมเทียม
3.น้ำตาล หรือสารให้ความหวาน (sweetener)
4 ส่วนผสมอื่นๆ เช่น โสมสกัด ดอกคำฝอย
4.Processing Flow Chart
5. คุณลักษณะที่ต้องการ
5.1ทางกายภาพ
1. ลักษณะทั่วไป
ต้องเป็นเกล็ดหรือเป็นผง ส่วนประกอบต้องผสมคลุกเคล้ากันอย่างสม่ำเสมอ
2. สี
ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง
3. สิ่งแปลกปลอม
ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
5.2ทางเคมี
1. การละลาย
ต้องละลายได้หมดและไม่มีสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้เมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ8.1 แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบทุกคนไม่น้อยกว่า 3 คะแนน และไม่มีลักษณะใดได้ 1 คะแนนจากผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง
2.ความชื้น ต้องไม่เกินร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก
3. วัตถุเจือปนอาหารห้ามใช้สีสังเคราะห์ทุกชนิด
4. กาเฟอีน (caffeine)
เมื่อละลายหรือผสมน้ำตามข้อแนะนำที่ระบุไว้ที่ฉลากแล้ว ต้องไม่เกิน100 มิลลิกรัมต่อ100 ลูกบาศก์เซนติเมตร
5.3 ทางจุลินทรีย์
1.จุลินทรีย์
1.1 จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1 × 103 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
1.2 รา ต้องไม่เกิน 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
5.4ทางประสารทสัมผัส
1. กลิ่นรส
ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน รสเปรี้ยว
6. สุขลักษณะ
6.1 สุขลักษณะในการทำกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง ให้เป็นไปตามคำแนะนำตาม GMP
7. การบรรจุ
7.1 ให้บรรจุกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงในภาชนะบรรจุที่สะอาด ปิดได้สนิท สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก
ภายนอกได้
7.2 น้ำหนักสุทธิของกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก
8. เครื่องหมายและฉลาก
8.1 ที่ภาชนะบรรจุกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน
(1) ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงผสมสมุนไพร
(2) ส่วนประกอบที่สำคัญ
(3) น้ำหนักสุทธิ
(4) วัน เดือน ปีที่ทำ และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า "ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) "
(5) ข้อแนะนำในการบริโภคและการเก็บรักษา
(6) ชื่อผู้ทำหรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น
9. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
9.1 รุ่น ในที่นี้ หมายถึง กาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงที่มีส่วนประกอบเดียวกัน ทำในระยะเวลาเดียวกัน
9.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้
9.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบสิ่งแปลกปลอม การบรรจุ และเครื่องหมายและฉลาก ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุ เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 5.4 ข้อ 5. และข้อ 6. จึงจะถือว่ากาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
9.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไป สี กลิ่นรส และการละลาย ให้ใช้ตัวอย่างที่ผ่านการทดสอบตามข้อ 9.2.1 แล้ว จำนวน3 หน่วยภาชนะบรรจุ เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 5.1 ถึงข้อ 5.4 จึงจะถือว่ากาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
9.2.3 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบความชื้น วัตถุเจือปนอาหาร และกาเฟอีน ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน3 หน่วยภาชนะบรรจุ เพื่อทำเป็นตัวอย่างรวม โดยมีน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า 300 กรัม กรณีตัวอย่างไม่พอให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันให้ได้ตัวอย่างที่มีน้ำหนักรวมตามที่กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 5.6 ถึงข้อ5.8 จึงจะถือว่ากาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
9.2.4 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบจุลินทรีย์ ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุ เพื่อทำเป็นตัวอย่างรวม โดยมีน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า 200 กรัม กรณีตัวอย่างไม่พอให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันให้ได้ตัวอย่างที่มีน้ำหนักรวมตามที่กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 5.9 จึงจะถือว่ากาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
9.3 เกณฑ์ตัดสินตัวอย่างกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงต้องเป็นไปตามข้อ 9.2.1 ข้อ 9.2.2 ข้อ 9.2.3 และข้อ 9.2.4 ทุกข้อจึงจะถือว่ากาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้
10. การทดสอบ
10.1 การทดสอบลักษณะทั่วไป สี กลิ่นรส และการละลาย
10.1.1 ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ ประกอบด้วยผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงอย่างน้อย 5 คน แต่ละคนจะแยกกันตรวจและให้คะแนนโดยอิสระ
10.1.2 เทตัวอย่างกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงลงในจานกระเบื้องสีขาว ตรวจสอบลักษณะทั่วไปและสีโดยการตรวจพินิจ
10.1.3 เทตัวอย่างกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผงลงในภาชนะที่เหมาะสม เติมน้ำเดือดตามปริมาณที่ระบุไว้ที่ฉลากคนให้ละลายเป็นเวลา 30 วินาที ตรวจสอบกลิ่นรสและการละลายโดยการตรวจพินิจและชิม
10.1.4 หลักเกณฑ์การให้คะแนน ให้เป็นไปตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 หลักเกณฑ์การให้คะแนน
(ข้อ 10.1.4)
ลักษณะที่ตรวจสอบ
|
เกณฑ์ที่กำหนด
|
ระดับการตัดสิน (คะแนน) |
|||
ดีมาก |
ดี |
ปานกลาง |
ต้องปรับปรุง |
||
ลักษณะทั่วไป |
ต้องเป็นเกล็ดหรือเป็นผงส่วนประกอบต้องผสมคลุกเคล้ากันอย่างสม่ำเสมอ |
4 |
3 |
2 |
1 |
สี |
ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของกาแฟปรุง สำเร็จชนิดผง |
4 |
3 |
2 |
1 |
กลิ่นรส |
ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของกาแฟปรุงสำเร็จชนิดผง ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่ พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน รสเปรี้ยว |
4 |
3 |
2 |
1
|
การละลาย |
ต้องละลายได้หมดและไม่มีสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ |
4 |
3 |
2 |
1 |
10.2 การทดสอบสิ่งแปลกปลอม ภาชนะบรรจุ และเครื่องหมายและฉลาก
ให้ตรวจพินิจ
10.3 การทดสอบความชื้น วัตถุเจือปนอาหาร และกาเฟอีน
ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
10.4 การทดสอบจุลินทรีย์
ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือ BAM หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
10.5 การทดสอบน้ำหนักสุทธิ
ให้ใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม