ปลากราย หรืออาจเรียกว่า ปลาหางแพน หรืออาจเรียกว่า ปลาตองกราย (Spotted Featherback) เป็นปลาน้ำจืดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chitara ornata
ลักษณะทั่วไป

ปลากราย เป็นปลาน้ำจืดรูปร่างคล้ายปลาฉลาก
- ท้องแบน ลำตัวด้านข้างแบนมากสันหลังส่วนต้นสูงชันและค่อย ๆ ลาดลงไปยังส่วนหางคล้ายมีด พื้นที่ลำตัวสีเทาเงิน ลำตัวส่วนบนสีคล้ำกว่าด้านล่าง เกล็ดละเอียด หัวมีขนาดเล็กปลายหัวแหลมมน ปากกว้างสั้นทู่ นัยน์ตาเล็ก มีฟันแหลมคมบนขากรรไกรทั้ง 2 ข้าง
- ครีบหลังขนาดเล็กปลายมนคล้ายขนนก ครีบท้องยาวเป็นแพรเชื่อมกับครีบหาง เหนือครีบก้นมีจุดดำกลางขนาดใหญ่ล้อมรอบ ด้วยวงแหวนสีขาวเรียบเป็นแถวอยู่ 5-10 จุด ลูกปลากรายเมื่อยังเล็กมีแถบสีดำประมาณ 10-15 แถบ พาดขวางลำตัว เมื่อโตขึ้นแถบดำเหล่านี้จะค่อยจางหายไปกลางเป็นจุดขึ้นมา แทนที่
- นิสัย ชอบอยู่รวมเป็นฝูงเล็กๆ และหลบพักตามตอไม้ หรือซอกหิน ไม่ชอบแสงสว่างมากจึงมักออกหากินในเวลากลางคืน ชอบผุดขึ้นมาทำเสียงที่ผิวน้ำแล้วม้วนตัวกลับให้เห็นข้างสีเงินขาว
- อาหาร แมลงน้ำ ลูกกุ้ง ปลาผิวน้ำตัวเล็กๆ
ขนาดมีความยาวประมาณ 48-85 เซนติเมตร
แหล่งอาศัย : ประเทศไทย พม่า อินเดีย มาเลเซีย ในไทยพบทั่วไปตามแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ภาคเหนือเรียกว่า ปลาแพน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า ปลาตองกราย
ประโยชน์ : ปลากราย เนื้อใช้บริโภคเป็นอาหาร ทำลูกชิ้นปลา
Reference
http://www.fisheries.go.th