Food Wiki

ค้นหา 6,333 คำศัพท์

ปลาตะพัด / Malayan Bonytongue

ปลาตะพัด (Malayan Bonytongue) เป็นปลาน้ำจืดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scleropages formosus

ลักษณะทั่วไป

 

  • ปลาตะพัด มีลำตัวแบนด้านข้างส่วนท้องแบนเป็นสันคม เกล็ดมีขนาดใหญ่และหนา เกล็ดบนเส้นข้างตัวมี 21-24 เกล็ด
  • ครีบหลังและครีบก้นตั้งอยู่ค่อนไปทางปลายหาง ครีบอกค่อนข้างยาวประมาณหนึ่งในสามของความยาวลำตัว ครีบหางมนกลมปากกว้างมากเฉียงขึ้นด้านบน ที่ตอนปลายขากรรไกรล่างมีหนวดขนาดใหญ่แต่สั้น 1 คู่
  • นิสัย มีนิสัยก้าวร้าว หวงถิ่น ชอบกัดและทำร้ายปลาชนิดื่นแม้แต่ปลาชนิดเดียวกันจึงไม่ควรเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่น
  • อาหาร ปลาขนาดเล็ก กบ เขียด ลูกกุ้งและสัตว์น้ำอื่นๆ รวมทั้งสัตว์บกขนาดเล็กที่ตกลงไปในน้ำ
  • การสืบพันธุ์ ปลาชนิดนี้มีลักษณะการสืบพันธุ์ที่แปลกจากปลาอื่นๆ โดยวางไข่จำนวนน้อยฟอง แม่ปลาที่มีน้ำหนักตัว    3-6 กิโลกรัม จะวางไข่เพียง 40-100 ฟอง ไข่แต่ละฟองมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างเฉลี่ย 1.72 เซนติเมตร เมื่อวางไข่ออกมาแล้วจะฟักไข่โดยการอมเอาไว้ในปากจนกระทั่งไข่ถูกฟักออกเป็นตัว และจะคอยดูแลลูกปลาหากมีศัตรูเข้ามาใกล้ แม่ปลาจะอ้าปากออกให้ลูกปลาเข้าไปหลบภายในปากหรือ พาหนีไปให้พ้นอันตราย

 

ขนาด ลำตัวยาวประมาณ 1 เมตร น้ำหนักมากกว่า 7 กิโลกรัม

แหล่งอาศัย : แพร่กระจายพันธุ์ตั้งแต่ประเทศไทย ไปถึงมาเลเซีย และอินโดนีเซีย พบอาศัยอยู่ในลำธารน้ำไหลเอื่อยๆ ในบริเวณจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด และแม่น้ำลำคลองหลายสายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสตูล มักเป็นลำธารที่มีน้ำค่อนข้างขุ่นมีลักษณะเป็นกรดน้อยและท้องน้ำเป็นหินปนทราย

ประโยชน์ : ปลาตะพัด เนื้อใช้บริโภคเป็นอาหาร

Reference

http://www.fisheries.go.th

 



(เข้าชม 632 ครั้ง)

สมัครสมาชิก