ปลาเสือสุมาตรา (Sumatran Tiger Barb) เป็นปลาน้ำจืดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Systomus partipentazona
ลักษณะทั่วไป

ปลาเสือสุมาตราเป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็ก จัดอยู่ในสกุลเดียวกับปลาตะเพียน มีรูปร่างคล้ายคลึงกัน
- ลำตัวเรียวยาวและแบนข้าง พื้นลำตัวสีเหลืองอมน้ำตาล ปากและครีบทุกครีบจะมีสีแดง เกล็ดสีเหลืองอมเขียวและสีเหลืองอมน้ำตาล
- ลักษณะเด่นของปลาชนิดนี้คือ มีแถบดำพาดขวางลำตัว 5 แถบ โดยพาดผ่านตา พาดผ่านหน้าครีบหลัง พาดผ่านโคนครีบหลัง พาดผ่านโคนครีบก้น และ บริเวณโคนหาง ปลาเสือสุมาตราตัวเมียจะมีลำตัวที่ใหญ่และป้อมกว่าตัวผู้ แต่ตัวผู้จะมีรูปร่างเล็กเพรียวบางกว่าและมีสีเข้มจัดกว่าตัวเมีย
- นิสัย เป็นปลาที่ว่องไวปราดเปรียวไม่ค่อยอยู่นิ่ง ว่ายน้ำได้รวดเร็ว ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มีนิสัยก้าวร้าว
- อาหาร ลูกกุ้ง ลูกน้ำ ลูกไร แมลงน้ำและเศษซากพืชและสัตว์เน่าเปื่อย
ขนาด มีความยาวประมาณ 3-6 เซนติเมตร
แหล่งอาศัย : ประเทศไทย เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหลและน้ำนิ่ง อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม พบตามแม่น้ำ ลำธารและหนองบึง แพร่กระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย ชาวนครสวรรค์เรียกว่าปลาข้างลาย ทางภาคใต้เรียกว่า เสือสุมาตรา
ประโยชน์ : ปลาเสือสุมาตราเนื้อใช้บริโภคเป็นอาหาร
Reference
http://www.fisheries.go.th