กล้วยหิน (Kluai Hin) ชื่อสามัญ Saba ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Musa (ABB Group) เป็นผลไม้ จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ มีแหล่งกำเนิดบริเวณสองฝั่งแม่น้ำปัตตานี จัดเป็นผลไม้เขตร้อน (tropical fruit) แบ่งตามอัตราการหายใจเป็นประเภท climacteric fruit ใช้เป็นอาหารคนและนกโดยเฉพาะนกกรงหัวจุก มีเนื้อแน่นเหนียวกว่ากล้วยชนิดอื่นๆ
ลักษณะทั่วไป
ต้น กล้วยหินมีลำต้นสูงประมาณ 3-4 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร กาบด้านนอกเขียวมีนวล
ใบ ก้านไบค่อนข้างสั้น ร่องใบเปิด
ดอก ปลีค่อนข้างป้อมสั้นลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดง เมื่อกาบเปิดจะไม่ม้วนงอ
ผล ในหนึ่งเครือมี 7-10 หวี หวีหนึ่งมี 10-15 ผล ผลเป็นรูปห้าเหลี่ยมเปลือกหนา ผลเรียงกันแน่นเป็นระเบียบ ช่องว่างระหว่างหวีน้อย ปลายจุกป้าน เมื่อสุกสีเหลืองเนื้อสีขาวอมเหลือง
ประโยชน์ กล้วยหินสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่นหัวปลีสามารถนำมาใช้จิ้มน้ำพริกแทนผักได้ ผลรับประทานสุก หรือดิบโดยการนำมาทอด ทำเป็นกล้วยฉาบ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณทางยา อาทิเช่น
การแปรรูปกล้วยหิน
ผลดิบนำมาแปรรูปทำกล้วยฉาบ ได้ปริมาณมาก ชิ้นใหญ่ และสีสวย
ผลสุกนำมาทำกล้วยทับ กล้วยเชื่อม และกล้วยทอด
References
http://www.yala.doae.go.th/data/stone%20banana%20002.htm
http://www.doae.go.th/library/html/detail/banana/page93.html
ดวงจันทร์ เกรียงสุวรรณ 2548 พืชผักผลไม้ไทยมีคุณค่าเป็นทั้งอาหารและยาตอน "กล้วยหิน" บทความวิทยุรายการสาระความรู้ทางการเกษตร งานศูนย์บริการวิชาการและฝึกอบรม ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการคณะทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่