เอทิลีน เป็นแก๊สไฮโดรคาร์บอนที่มีโมเลกุลเล็ก เกิดจากการเผาไหม้และผลิตได้ตามธรรมชาติระหว่างการสุกของผลไม้ กระตุ้นการหายใจของผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว แก๊สเอทิลีนใช้เพื่อการบ่มผลไม้
ระหว่างการสุกของผลไม้ ประเภท climacteric fruit จะมีการผลิตเอทิลีนเพิ่มมากขึ้น ส่วนผลไม้ประเภท non climacteric fruit มีการสังเคราะห์เอทิลีนน้อยมาก
ผลไม้บางชนิด เช่น ส้ม ผลิตเอทิลีนระหว่างการเก็บรักษาและไปเร่งให้ผลไม้ที่ไวต่อเอทิลีน เช่น กล้วยสุกเร็วขึ้น ดังนั้น การเก็บรักษาจึงต้องระวังไม่เก็บผลไม้ที่ผลิตเอทิลีนกับผลไม้ที่ไวต่อเอทิลีนไว้ด้วยกัน
การบ่มผลไม้ด้วยก๊าซเอทิลีน
การบ่มผลไม้ด้วยก๊าซเอทิลีน ในรูปแบบเอทิลีนสังเคราะห์ ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในอุตสาหกรรมโดยใช้เอทธิลีนที่เก็บในถังบรรจุภายใต้ความดัน เปิดเข้ามาในห้องเก็บที่มีผลไม้วางเรียงอยู่ ความเข้มข้นของแก๊สเอทิลีนในห้องบ่ม อยู่ระหว่าง 10-150 ppm (ส่วนในล้านส่วน) โดยมีพัดลมหมุนเวียนอากาศให้ทั่วถึง อุณหภูมิในช่วง 15-25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในช่วง 85-95 เปอร์เซ็นต์ใช้เวลานานประมาณ 12-72 ชั่วโมง
Ethylene concentration (ppm) |
Ripening temperature °C |
Exposure time to these conditions (ชั่วโมง) |
|
10-100 |
15-18 |
12-48 |
|
100-150 |
15-18 |
24 |
|
Honeydew melon |
100-150 |
20-25 |
18-24 |
Kiwifruit |
10-100 |
0-20 |
12-24 |
100-150 |
20-22 |
12-24 |
|
10-100 |
13-25 |
12-72 |
|
100-150 |
20-25 |
24-48 |
ก๊าซเอทิลีนเพื่อบ่มผลไม้ เช่น กล้วยมะเขือเทศ ส้ม แหล่งของเอทิลีนมาจากเอทิลีนบรรจุในถัง หรือการใช้เอทิลีนจากเครื่องผลิตเอทิลีน (ethylene generator) โดยเครื่องดังกล่าวประกอบด้วยเครื่องทำความร้อนที่จะช่วยเร่งปฏิกิริยาทางเคมีเพื่อให้แอลกอฮอล์แตกตัวเป็นเอทิลีน และสามารถควบคุมอัตราการผลิตเอทิลีนได้ตามความต้องการ ขึ้นกับชนิดของผลไม้
เอทิฟอน เป็นสารที่ปลดปล่อยแก๊สเอทิลีน มีชื่อการค้าแตกต่างๆ กัน เช่น อีเทรล โปรเทรล ฟลอเรล เป็นสารมีความคงตัวที่สภาพเป็นกรด หรือ มีค่าพีเอช (pH) ต่ำกว่า 4 เมื่อนำมาละลายน้ำหรือเมื่อซึมเข้าไปในเซลล์พืช จะสลายตัวให้เอทิลีน สารเอทิฟอนจัดว่าเป็นสารที่มีพิษน้อยและสลายตัวได้ง่าย ส่วนมากนิยมให้สารนี้ก่อนเก็บเกี่ยว เช่น ใช้เพื่อเร่งการสุกหรือการเปลี่ยนแปลงสีของผลองุ่น พริกหวาน มะเขือเทศ สับปะรด ส้ม ทุเรียน การใช้ในผลทุเรียน จะทำโดยการฉีดพ่นทั้งผลหรือจุ่มที่ก้านผลเท่านั้นก็ได้ ในประเทศไทยยังไม่มีกฎระเบียบที่แน่ชัดในการควบคุมการใช้เอทิฟอน แต่พออนุโลมได้ว่าน่าจะใช้สารนี้ได้อย่างปลอดภัยกับผลไม้หลังการเก็บเกี่ยวซึ่งผู้บริโภคไม่ได้รับประทานเปลือก เช่น การใช้เอทิฟอน ความเข้มข้นสูง 2,400 พีพีเอ็ม ในการบ่มทุเรียน แต่ในผลไม้ทั่วไปใช้วิธีการแช่ในสารละลายเอทิฟอนความเข้มข้นประมาณ 600 พีพีเอ็ม 2-3 นาที ซึ่งจะทำให้ผลไม้สุกใน 3-4 วัน