การล้างสัตว์น้ำ เป็นการทำสะอาดสัตว์น้ำหลังการจับ เพื่อลดการปนเปื้อนที่ติดมาจากสิ่งแวดล้อม จากคนและอุปกรณ์
เป็นการลดปริมาณจุลินทรีย์เริ่มต้น และจุลินทรีย์ก่อโรคทึ่มีโอกาสตรวจพบ เช่น ได้แก่ Vibrio spp., Escherichia coli
และ Salmonella spp. การล้างจึงช่วยยืดอายุของอาหาร ทำให้อาหารมีคุณภาพที่ดีขึ้นและมีความปลอดภัยต่อ
สุขภาพของผู้บริโภค ลดค่าใช้จ่ายในกรณีที่มีการเรียกคืนสินค้าหรือทำลายสินค้า
สารฆ่าเชื้อที่ใช้ล้างสัตว์น้ำ
การล้างด้วยน้ำสะอาดเพียงอย่างเดียว ช่วยลดการปนเปื้อน แต่ไม่สามารถกำจัดการปนเปื้อนโดยเฉพาะจุลินทรีย์
ชนิดก่อโรคให้ออกไปได้หมดจึงมีการผสมสารฆ่าเชื้อในน้ำล้าง สารฆ่าเชื้อที่ใช้เพื่อการล้างสัตว์น้ำได้แก่
1. คลอรีนหรือสารประกอบคลอรีน เช่น โซเดียมไฮโพคลอไรต์ คลอรีนไดออกไซด์ และแคลเซียมคลอไรต์
2. สารฆ่าเชื้อ ชนิดในกลุ่มสารออกซิไดส์ซิง ได้แก่ โอโซน น้ำอิเล็กโทรไลซ์ชนิดกรด
อัจฉรา และคณะ ได้ทดลองใช้น้ำโอโซนที่ได้จากเครื่องผลิตโอโซนมาทำให้เจือจาง เพื่อล้างกุ้งขาว ปลาหมึก และเ
นื้อปลานิลแล่ พบ่ว่าความเข้มข้นเหมาะสมที่ให้ประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมด (standard plate count)
และเชื้อ Escherichia coli ที่ดีที่สุด คือการใช้น้ำโอโซน ความเข้มข้น 0.5 พีพีเอ็ม ระยะเวลาล้าง 15 นาที ที่อุณหภูมิ 25
องศาเซลเซียส ร่วมกับการเขย่า ย่างต่อเนื่องที่ความเร็วรอบ 150 rpm
Indun (2005) ได้รายงานว่าเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของน้ำโอโซนจาก 0.2 พีพีเอ็ม เป็น 0.8 พีพีเอ็ม และเพิ่มระยะเวลาในการล้าง
จาก 5 นาทีเป็น 15 นาที เพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ได้ดี แต่มีผลต่อคุณภาพเนื้อสัมผัสของกุ้ง โดยทำให้
เนื้อกุ้งเปลี่ยนเป็นสีแดงที่ 0.8 พีพีเอ็ม นอกจากนี้ พบว่ากุ้งที่ได้มีกลิ่นเหม็นของก๊าซโอโซนตกค้างอยู่ ทำให้คุณภาพกุ้งที่ได้
ไม่เป็ ที่ยอมรับของผู้บริโภค
References
อัจฉรา แสนคม, น้ำทิพย์ ขันตยาภรณ์ และ วราภา มหากาญจนกุล. การประยุกต์ใช้สารฆ่าเชื้อกลุ่มออกซิไดส์ซิ่งเพื่อลด
จุลินทรีย์ก่อโรคในผลิตภัณฑ์สัตว์นํ้า The Application of Oxidizing Sanitizers to Reduce Microbial of Fishery Products.
Indun, D. 2005. Study of the efficacy of peroxyacetic acid, chlorine dioxide and ozone for inactivating Vibrio
parahaemolyticus and Escherichia coli on Black Tiger Shrimp . M.S. Thesis, Kasetsart University.