มผช.126/2546
น้ำสับปะรด
1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมเฉพาะน้ำสับปะรดพร้อมดื่มทั้งน้ำสับปะรดแท้ และน้ำสับปะรดปรุงบรรจุในภาชนะบรรจุทั้งนี้ไม่รวมถึงน้ำสับปะรดเข้มข้นที่นำมาเจือจาง
ที่มา:http://www.quinl.com/viewProductDetail/UploadImages/GxpOlaZ-pineapple.jpg
2. บทนิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 น้ำสับปะรด หมายถึง เครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ได้จากการนำเนื้อและแกนสับปะรดที่สด สะอาด สุก มาผ่านกรรมวิธีแยกส่วนที่เป็นกากออก
นำน้ำสับปะรดที่ได้ไปต้มด้วยความร้อนที่อุณหภูมิไม่เกิน 100 องศาเซลเซียส โดยอาจเจือน้ำและแต่งรสด้วยน้ำตาล เกลือหรือไม่ก็ได้
บรรจุในภาชนะบรรจุ
2.2 น้ำสับปะรดแท้ หมายถึง น้ำสับปะรดที่ไม่มีการเจือน้ำอาจแต่งรสด้วยน้ำตาล เกลือ
2.3 น้ำสับปะรดปรุง หมายถึง น้ำสับปะรดที่ทำจากน้ำสับปะรดแท้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 โดยน้ำหนักมีการเจือน้ำปรุงแต่งรสด้วย
น้ำตาลและเกลืออาจแต่งสีและกลิ่น (flavoring agent)
น้ำสับปะรด เป็นน้ำผลไม้
กระบวนการผลิตน้ำสับปะรด
ที่คั้นจากผลสับปะรด ที่ผ่านการล้างและคั้นแยกน้ำออกจากกากเป็นอาหารประเภท acid food
3. ชนิด
3.1 น้ำสับปะรด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
3.1.1 น้ำสับปะรดแท้
3.1.2 น้ำสับปะรดปรุง
4. คุณลักษณะที่ต้องการ
4.1 ลักษณะทั่วไป
ต้องมีลักษณะเป็นของเหลวขุ่น ไม่พบชิ้นส่วนของสับปะรด
4.2 สีกลิ่น (flavoring agent) และกลิ่นรส
4.2.1 น้ำสับปะรดแท้
ต้องมีสีกลิ่น (flavoring agent) และรสชาติตามธรรมชาติของสับปะรดหรือส่วนประกอบที่ใช้ ปราศจากกลิ่นรสที่น่ารังเกียจ
4.2.2 น้ำสับปะรดปรุง
ต้องมีสีและกลิ่น (flavoring agent) ใกล้เคียงน้ำสับปะรดตามธรรมชาติ และมีรสชาติตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้ปราศจากกลิ่นรสที่น่ารังเกียจ
เมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ 9.1 แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบทุกคน ไม่น้อยกว่า 3 คะแนน และไม่มีลักษณะใดได้ 1 คะแนน จากผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง
4.3 สิ่งแปลกปลอม
ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ขนสัตว์ ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์ เช่น แมลง มด หนู นก
4.4 วัตถุเจือปนอาหาร
4.4.1 ห้ามใช้วัตถุกันเสียทุกชนิด
4.4.2 สีให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณที่กฎหมายกำหนด (กรณีน้ำสับปะรดปรุง)
4.5 สารปนเปื้อน
4.5.1 สารหนูต้องไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
4.5.2 ตะกั่วต้องไม่เกิน 0.3 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
4.5.3 เหล็ก ต้องไม่เกิน 15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
4.6 จุลินทรีย์
4.6.1 ยีสต์และราต้องน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
4.6.2 โคลิฟอร์ม (Coliform) โดยวิธีเอ็มพีเอ็น (MPN) ต้องน้อยกว่า 2.2 ต่อตัวอย่าง 100 มิลลิลิตร
5. สุขลักษณะ
5.1 สุขลักษณะในการทำน้ำสับปะรด ให้เป็นไปตามคำแนะนำตาม GMP
6. การบรรจุ
6.1 ให้บรรจุน้ำสับปะรดในภาชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง ปิดได้สนิท และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้
6.2 ปริมาตรสุทธิของน้ำสับปะรดในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก
7. เครื่องหมายและฉลาก
7.1 ที่ภาชนะบรรจุน้ำสับปะรดทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน
(1) ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำสับปะรด น้ำสับปะรด 50%
(2) ปริมาตรสุทธิ
(3) วัน เดือน ปีที่ทำ และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า "ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) "
(4) ข้อแนะนำในการเก็บรักษา เช่น ควรเก็บรักษาที่อุณหภูมิไม่เกิน 4 องศาเซลเซียส
(5) ชื่อผู้ทำ หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น
8. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
8.1 รุ่น ในที่นี้ หมายถึง น้ำสับปะรดชนิดเดียวกัน ที่ทำโดยกรรมวิธีเดียวกัน ในระยะเวลาเดียวกัน
8.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้
8.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบสิ่งแปลกปลอมการบรรจุและเครื่องหมายและฉลากให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 4.3 ข้อ 6. และข้อ 7. จึงจะถือว่าน้ำสับปะรดรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
8.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไปและสีกลิ่น (flavoring agent) และกลิ่นรสให้ใช้ตัวอย่างที่ผ่านการทดสอบตามข้อ 8.2.1 แล้ว จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 4.1 และข้อ 4.2 จึงจะถือว่าน้ำสับปะรดรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
8.2.3 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบวัตถุเจือปนอาหารสารปนเปื้อน และจุลินทรีย์ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 5 หน่วยภาชนะบรรจุนำมาทำเป็นตัวอย่างรวม โดยมีปริมาตรรวมไม่น้อยกว่า 1ลิตร เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 4.4 ถึงข้อ 4.7 จึงจะถือว่าน้ำสับปะรดรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
8.3 เกณฑ์ตัดสิน
ตัวอย่างน้ำสับปะรดต้องเป็นไปตามข้อ 8.2.1 ข้อ 8.2.2 และข้อ 8.2.3 ทุกข้อ จึงจะถือว่าน้ำสับปะรดรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้
9. การทดสอบ
9.1 การทดสอบลักษณะทั่วไปและสีกลิ่น (flavoring agent) และกลิ่นรส
9.1.1 ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ ประกอบด้วยผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบน้ำสับปะรดอย่างน้อย 5 คน แต่ละคนจะแยกกันตรวจ
และให้คะแนนโดยอิสระ
9.1.2 เทตัวอย่างน้ำสับปะรดลงในแก้วใสโดยมีกระดาษสีขาวเป็นฉากหลัง ตรวจสอบโดยการตรวจพินิจและชิม
9.1.3 หลักเกณฑ์การให้คะแนน ให้เป็นไปตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 หลักเกณฑ์การให้คะแนน
(ข้อ 9.1.3)
9.2 การทดสอบสิ่งแปลกปลอมภาชนะบรรจุและเครื่องหมายและฉลาก
ให้ตรวจพินิจ
9.3 การทดสอบวัตถุเจือปนอาหารและสารปนเปื้อน
ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
9.4 การทดสอบจุลินทรีย์
ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือ BAM หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
9.5 การทดสอบปริมาตรสุทธิ
ให้ใช้เครื่องวัดปริมาตรที่เหมาะสม
Reference
http://app.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps126_46.pdf