Food Wiki

ค้นหา 6,333 คำศัพท์

ข้าวตังหน้าหมูหยอง

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

มผช.28/2546

ข้าวตังหน้าหมูหยอง

1. ขอบข่าย

1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมเฉพาะข้าวตังหน้าหมูหยองที่ทำจากข้าวเจ้าเท่านั้น

ที่มา:http://www.thaitambon.com/tambon/tsmepdesc.asp?Prod=05331162649&ID=730703&SME=0279102334

2. บทนิยาม

ความหมายของคำ ที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้

2.1 ข้าวตังหน้าหมูหยอง หมายถึง อาหารว่างที่ได้จากการนำข้าวตังมาทอดให้กรอบ ทาด้วยเครื่องปรุงแต่งรสที่เหมาะสม โรยหน้าด้วยหมูหยองให้ทั่ว แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิและภายในระยะเวลาที่กำหนด

2.2 ข้าวตัง หมายถึง ข้าวสุกที่ติดเป็นแผ่นเกรียมอยู่ก้นหม้อหรือกระทะ หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากการนำข้าวเจ้ามาหุงสุก แล้วทำให้เป็นแผ่นบาง โดยอาจนำมาบดก่อนหรือไม่ก็ได้ ทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือจากแหล่งพลังงานอื่น

2.3 หมูหยอง หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อหมูปรุงรส ต้มสุกทำให้เป็นเส้นเล็กๆ แล้วผัดหรือคั่วจนแห้งมีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ หรือเป็นเส้นฝอย

3. คุณลักษณะที่ต้องการ

3.1 ลักษณะทั่วไป

ต้องเป็นแผ่น อาจแตกหักได้เล็กน้อย กรอบร่วน หมูหยองเกาะติดแผ่นข้าวตังและกระจายตัวค่อนข้างสมํ่าเสมอ

3.2 สี

มีสีสมํ่าเสมอ เป็นไปตามธรรมชาติของข้าวตังทอดและหมูหยองที่ใช้

3.3 กลิ่นรส

มีกลิ่นรสเฉพาะของส่วนประกอบที่ใช้ทำ และปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์

เมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ 8.1 แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบทุกคนไม่น้อยกว่า 3 คะแนน และไม่มีลักษณะใดได้ 1 คะแนน จากผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง

3.4 สิ่งแปลกปลอม

ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบของข้าวตังหน้าหมูหยอง เช่น เส้นผม แมลง ชิ้นส่วนของแมลง

3.5 จุลินทรีย์

3.5.1 จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1 x104 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม

3.5.2 ต้องไม่มีราปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน

4. สุขลักษณะ

4.1 สุขลักษณะในการทำ ข้าวตังหน้าหมูหยอง ให้เป็นไปตามคำแนะนำตาม GMP

5. การบรรจุ

5.1 ให้บรรจุข้าวตังหน้าหมูหยองในภาชนะบรรจุที่สะอาด แห้ง ผนึกได้เรียบร้อย สามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้

5.2 นํ้าหนักสุทธิของข้าวตังหน้าหมูหยองในแต่ละภาชนะบรรจุต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก

6. เครื่องหมายและฉลาก

6.1 ที่ภาชนะบรรจุข้าวตังหน้าหมูหยองทุกหน่วยอย่างน้อยต้องมี เลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน

(1) ชื่อผลิตภัณฑ์

(2) นํ้าหนักสุทธิเป็นกรัม

(3) วัน เดือน ปีที่ทำ โดยมีข้อความว่า "ผลิต" และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ โดยมีข้อความว่า "หมดอายุ" หรือ "ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) "

(4) ชื่อผู้ทำ หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน

ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำ หนดไว้ข้างต้น

7. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน

7.1 รุ่น ในที่นี้ หมายถึง ข้าวตังหน้าหมูหยองที่มีส่วนประกอบและกรรมวิธีในการทำ เหมือนกัน ที่ทำหรือส่งมอบหรือซื้อขายในระยะเวลาเดียวกัน

7.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้

7.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบสิ่งแปลกปลอมการบรรจุและเครอื่งหมายและฉลากให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 5 หน่วยภาชนะบรรจุเมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.4 ข้อ5. และข้อ6. จึงจะถือว่าข้าวตังหน้าหมูหยองเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

7.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำ หรับลักษณะทั่วไป สีและกลิ่นรสให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากตัวอย่างที่ผ่านการตรวจสอบตามข้อ 7.2.1 แล้ว ภาชนะบรรจุละ 1 ชิ้น และถือว่าข้าวตังหน้าหมูหยอง 1 ชิ้นนั้นเป็น 1 ตัวอย่างทดสอบ เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.3จึงจะถือว่าข้าวตังหน้าหมูหยองรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำ หนด

7.2.3 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบจุลินทรีย์ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 5 หน่วยภาชนะบรรจุนำมาทำเป็นตัวอย่างรวม เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.5 จึงจะถือว่าข้าวตังหน้าหมูหยองรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำ หนด

7.3 เกณฑ์ตัดสิน

ตัวอย่างข้าวตังหน้าหมูหยองต้องเป็นไปตามข้อ 7.2.1 ข้อ 7.2.2 และข้อ 7.2.3 ทุกข้อ จึงจะถือว่าข้าวตังหน้าหมูหยองรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้

8. การทดสอบ

8.1 การทดสอบลักษณะทั่วไป สีกลิ่นรส

8.1.1ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ ประกอบด้วยผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบข้าวตังหน้าหมูหยองอย่างน้อย 5 คน แต่ละคนจะแยกกันตรวจและให้คะแนนโดยอิสระ

8.1.2 วางตัวอย่างข้าวตังหน้าหมูหยองในจานกระเบื้องสีขาว ตรวจสอบโดยการตรวจพินิจและการชิม

8.1.3 หลักเกณฑ์การให้คะแนน ให้เป็นไปตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 หลักเกณฑ์การให้คะแนนสำ หรับลักษณะทั่วไป สีกลิ่นรส

(ข้อ 8.1.3)

8.2 การทดสอบสิ่งแปลกปลอมภาชนะบรรจุและเครื่องหมายและฉลากให้ตรวจพินิจ

8.3 การทดสอบจุลินทรีย์

ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือ BAM หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ

8.4 การทดสอบนํ้าหนักสุทธิ

ให้ใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม

Reference

http://app.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps28_46.pdf

 



(เข้าชม 660 ครั้ง)

สมัครสมาชิก