มผช.1031/2548
ไตปลาหมัก
1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมไตปลาหมักที่บรรจุในภาชนะบรรจุ
ที่มา:http://www.rakbankerd.com/products/view.php?product_id=2933&category_id=5&type_id=6
2. บทนิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 ไตปลาหมัก หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำไตของปลา เช่น ปลาช่อน ปลาทู ปลามง มาล้างให้สะอาด อาจหั่นเป็นชิ้นเล็ก แล้วหมักกับเกลือในสัดส่วนที่เหมาะสมจนมีลักษณะปรากฏและกลิ่นตามต้องการ
2.2 ไตปลา หมายถึง อวัยวะในช่องท้องของปลาบางชนิด รวมทั้งเหงือกด้วย
3. คุณลักษณะที่ต้องการ
3.1 ลักษณะทั่วไป
ต้องมีส่วนที่เป็นชิ้นไตปลาและส่วนที่เป็นน้ำในสัดส่วนที่เหมาะสม
3.2 สี
ต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของไตปลาหมัก
3.3 กลิ่น (flavoring agent)
ต้องมีกลิ่น (flavoring agent) ที่ดีตามธรรมชาติของไตปลาหมัก ปราศจากกลิ่นอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นหืน กลิ่นเน่า
เมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ 8.1 แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบทุกคนไม่น้อยกว่า 3 คะแนน และไม่มีลักษณะใดได้ 1 คะแนนจากผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง
3.4 สิ่งแปลกปลอม
ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
3.5 สารปนเปื้อน
3.5.1 ตะกั่วต้องไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
3.5.2 สารหนูต้องไม่เกิน 2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
3.5.3 ปรอทต้องไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม
3.6 วัตถุเจือปนอาหาร
ห้ามใช้วัตถุกันเสียทุกชนิด
3.7 ความเป็นกรด-ด่าง (pH)
ต้องอยู่ระหว่าง 5 ถึง 6
3.8 เกลือ (โซเดียมคลอไรด์)
ต้องอยู่ระหว่างร้อยละ 12 โดยน้ำหนักถึงร้อยละ 20 โดยน้ำหนัก
3.9 จุลินทรีย์
3.9.1 สตาฟิโลคอกคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ต้องน้อยกว่า 100 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
3.9.2 เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) โดยวิธีเอ็มพีเอ็น (MPN) ต้องน้อยกว่า 10 ต่อตัวอย่าง 1 กรัม
3.9.3 ราต้องน้อยกว่า 500 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
3.10 พยาธิ
ต้องไม่พบ
4. สุขลักษณะ
4.1 สุขลักษณะในการทำไตปลาหมัก ให้เป็นไปตามคำแนะนำตาม GMP
5. การบรรจุ
5.1 ให้บรรจุไตปลาหมักในภาชนะบรรจุที่สะอาด ปิดได้สนิท และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้
5.2 น้ำหนักสุทธิของไตปลาหมักในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก
6. เครื่องหมายและฉลาก
6.1 ที่ภาชนะบรรจุไตปลาหมักทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน
(1) ชื่อผลิตภัณฑ์
(2) ส่วนประกอบที่สำคัญ
(3) น้ำหนักสุทธิ
(4) วัน เดือน ปีที่ทำ และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า "ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) "
(5) ข้อแนะนำในการบริโภคและการเก็บรักษา
(6) ชื่อผู้ทำหรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน
ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น
7. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
7.1 รุ่น ในที่นี้ หมายถึง ไตปลาหมักที่ทำในระยะเวลาเดียวกัน
7.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้
7.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบสิ่งแปลกปลอมการบรรจุและเครื่องหมายและฉลากให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.4 ข้อ 5. และข้อ 6. จึงจะถือว่าไตปลาหมักรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
7.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไป สีและกลิ่น ให้ใช้ตัวอย่างที่ผ่านการทดสอบตามข้อ 7.2.1 แล้ว จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.3 จึงจะถือว่าไตปลาหมักรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
7.2.3 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบสารปนเปื้อน วัตถุเจือปนอาหารความเป็นกรด-ด่าง (pH) และเกลือให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเพื่อทำเป็นตัวอย่างรวม โดยมีน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า 300 กรัม กรณีตัวอย่างไม่พอให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันให้ได้ตัวอย่างที่มีน้ำหนักรวมตามที่กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.5 ถึงข้อ 3.8 จึงจะถือว่าไตปลาหมักรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
7.2.4การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบจุลินทรีย์และพยาธิ ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเพื่อทำเป็นตัวอย่างรวม โดยมีน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า200 กรัม กรณีตัวอย่างไม่พอให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันให้ได้ตัวอย่างที่มีน้ำหนักรวมตามที่กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.9 และข้อ 3.10 จึงจะถือว่าไตปลาหมักรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
7.3 เกณฑ์ตัดสิน
ตัวอย่างไตปลาหมักต้องเป็นไปตามข้อ 7.2.1 ข้อ 7.2.2 ข้อ 7.2.3 และข้อ 7.2.4 ทุกข้อ จึงจะถือว่าไตปลาหมักรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้
8. การทดสอบ
8.1 การทดสอบลักษณะทั่วไป สีและกลิ่น
8.1.1 ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ ประกอบด้วยผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบไตปลาหมักอย่างน้อย 5คน แต่ละคนจะแยกกันตรวจและให้คะแนนโดยอิสระ
8.1.2 เทตัวอย่างไตปลาหมักลงในชามกระเบื้องสีขาว ตรวจสอบโดยการตรวจพินิจและดม
8.1.3 หลักเกณฑ์การให้คะแนน ให้เป็นไปตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 หลักเกณฑ์การให้คะแนน
(ข้อ 8.1.3)
8.2 การทดสอบสิ่งแปลกปลอมภาชนะบรรจุและเครื่องหมายและฉลาก
ให้ตรวจพินิจ
8.3 การทดสอบสารปนเปื้อน วัตถุเจือปนอาหารความเป็นกรด-ด่าง (pH) และเกลือ
ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
8.4 การทดสอบจุลินทรีย์
ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือ BAM หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
8.5 การทดสอบพยาธิ
ให้ใช้กล้องจุลทรรศน์หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
8.6 การทดสอบน้ำหนักสุทธิ
ให้ใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม
Reference
http://app.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps1031_48.pdf