Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

Carboxymethyl starch / คาร์บอกซีเมทิลสตาร์ช

คาร์บอกซีเมทิลสตาร์ช (carboxymethyl starch) เป็นสตาร์ชดัดแปร (modified starch) ด้วยทางกระบวนการทางเคมี โดยใช้ ปฏิกิริยาการแทนที่หมู่ไฮดรอกซิล (hydroxyl group, -OH) ในโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคสที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุลของสตาร์ซ (starch) ด้วยหมู่คาร์บอกซีเมทิล (-CH2COO-) โดยปฏิกิริยาอีเทอริฟิเคชัน ทำให้คาร์บอกซีเมทิลสตาร์ชมีสมบัติที่แตกต่างไปจากสตาร์ชธรรมชาติ (native starch)

 

สมบัติที่สำคัญ

  • อุณหภูมิในการเกิดเจลาติไนเซชัน (gelatinization temperature) ต่ำลง
  • สามารถละลายในน้ำเย็นได้อย่างสมบูรณ์
  • อัตราการคืนตัวหรือการเกิดรีโทรเกรเดชัน (retrogradation) ต่ำลง

การใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอาหาร

คาร์บอกซีเมทิลสตาร์ชนำมาใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ในอุตสาหกรรมอาหารการนำไปใช้ประโยชน์ ขึ้นอยู่กับระดับการดัดแปรและชนิดของสตาร์ชที่ใช้เป็นวัตถุดิบเริ่มต้นในการผลิต

 

กรรมวิธีการผลิต

ปัจจุบันคาร์บอกซีเมทิลสตาร์ชที่มีการผลิตในเชิงการค้า ส่วนใหญ่ผลิตจากแป้งข้าวโพด และแป้งมันฝรั่งโดยในกระบวนการผลิตคาร์บอกซีเมทิลสตาร์ช ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 2 ขั้นตอน คือ

1. การทำปฏิกิริยากับด่าง (alkalization) เป็นขั้นตอนการทำให้เม็ดสตาร์ชกระจายตัวอยู่ในตัวกลาง ปฏิกิริยาที่เป็นตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีน้ำในสภาวะด่าง

2. คาร์บอกซีเมทิเลชัน (carboxymethylation) ปฏิกิริยาระหว่างโมเลกุลสตาร์ชกับโซเดียมมอโนคลอโรแอซีเทต (sodium monochloro acetate, SMCA) ต่อไป

ระดับการดัดแปรนั้นจะขึ้นอยู่กับสภาวะของกระบวนการที่ใช้ในการผลิต เช่น เวลาและอุณหภูมิในการทำปฏิกิริยา ปริมาณสารที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เป็นต้น



(เข้าชม 682 ครั้ง)

สมัครสมาชิก