Food Wiki

ค้นหา 6,332 คำศัพท์

เมรัย

มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน 2

มผช.35/2546

เมรัย

1. ขอบข่าย

1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ไม่ครอบคลุมถึงสุราแช่ชนิดเบียร์ ไวน์ผลไม้ ไวน์สมุนไพร สาโท อุ สุรากลั่นชุมชน และสุราแช่อื่นที่ได้มีการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนขึ้น

ที่มา:http://www.thaitambon.com/tambon/tsmepdesc.asp?ID=640603&Prod=0442111332&SME=04421193

2. บทนิยาม

ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้

2.1 เมรัย หมายถึง สุราแช่ที่ทำจากน้ำตาลเมาหรือวัตถุดิบทางการเกษตรอื่นที่มีแป้งหรือน้ำตาล เช่น เผือก มัน น้ำผึ้ง และให้หมายรวมถึงเมรัยที่ผสมสมุนไพรหรือเครื่องเทศ หรือผลผลิตทางการเกษตรอื่นด้วย มีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี/ร้อยละโดยปริมาตร และหากมีการผสมสุรากลั่น ต้องมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี/ร้อยละโดยปริมาตร

2.2 สุรากลั่น หมายถึง สุราที่ได้จากการกลั่นน้ำส่า ทั้งนี้รวมถึงสุรากลั่นที่ผสมกับของอื่นหรือเครื่องดื่มชนิดอื่นด้วย

3. คุณลักษณะที่ต้องการ

3.1 คุณลักษณะทางเคมี

3.1.1 แรงแอลกอฮอล์ต้องไม่เกิน 15 ดีกรี/ร้อยละโดยปริมาตรและมีเกณฑ์ความคลาดเคลื่อนจากที่ระบุไว้ที่ฉลากได้ไม่เกิน ± 2 ดีกรี/ร้อยละโดยปริมาตร

3.1.2 เมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol) ต้องไม่เกิน 420 มิลลิกรัมต่อลิตร

3.1.3 ฟูเซลออยล์ (กรณีผสมสุรากลั่น) ต้องไม่เกิน 5,500 มิลลิกรัมต่อลิตร

3.1.4 แอลดีไฮด์ (กรณีผสมสุรากลั่น) คิดเป็นแอซีทัลดีไฮด์ ต้องไม่เกิน 160 มิลลิกรัมต่อลิตร

3.1.5 เอทิลคาร์บาเมต (กรณีผสมสุรากลั่น) ต้องไม่เกิน 400 ไมโครกรัมต่อลิตร

3.1.6 ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร

3.1.7 กรดซอร์บิกหรือเกลือของกรดซอร์บิก (คำนวณเป็นกรดซอร์บิก) ต้องไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร

3.1.8 กรดเบนโซอิกหรือเกลือของกรดเบนโซอิก (คำนวณเป็นกรดเบนโซอิก) ต้องไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อลิตร

3.1.9 ทองแดงต้องไม่เกิน 5 มิลลิกรัมต่อลิตร

3.1.10 เหล็กต้องไม่เกิน 15 มิลลิกรัมต่อลิตร

3.1.11 ตะกั่วต้องไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร

3.1.12 สารหนูต้องไม่เกิน 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร

3.1.13 เฟอร์โรไซยาไนด์ ต้องไม่พบ

3.2 คุณลักษณะทางกายภาพ

3.2.1 ความใส/ขุ่น

ให้เป็นไปตามลักษณะเฉพาะของเมรัยที่ทำได้

3.2.2 สี

มีสีเป็นไปตามธรรมชาติของวัตถุดิบหรือสีสังเคราะห์ที่ใช้

3.2.3 กลิ่น (flavoring agent)

ต้องมีกลิ่นหอมของวัตถุดิบที่ใช้ตามที่ระบุไว้ที่ฉลากและไม่มีกลิ่นน้ำส้มสายชูหรือกลิ่น (flavoring agent) อื่น ที่ไม่พึงประสงค์ปรากฏเด่นชัด

3.2.4 รสชาติ

มีความเป็นกรด หวาน ฝาด เฝื่อน และกลมกล่อมตามธรรมชาติของวัตถุดิบที่ใช้

3.2.5 คุณภาพโดยรวมของเมรัย

มีความใส/ขุ่น สี กลิ่น (flavoring agent) และรสชาติ เป็นที่ยอมรับ

เมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ 8.2 แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบทุกคนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 และไม่มีลักษณะใดได้น้อยกว่าร้อยละ 30 ของคะแนนเต็ม จากผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง

3.3 สิ่งแปลกปลอม

ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่วัตถุดิบที่ใช้

3.4 ความเสถียร

ต้องไม่ปรากฏฟองอันเนื่องมาจากการหมักซ้ำ

3.5 วัตถุเจือปนอาหาร (ยกเว้นซัลเฟอร์ไดออกไซด์กรดซอร์บิกและกรดเบนโซอิก)

ถ้ามีการใช้สีสังเคราะห์หรือวัตถุเจือปนอาหารอื่นใด ให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณที่กฏหมายกำหนด

4. สุขลักษณะ

4.1 สุขลักษณะในการทำเมรัย ให้เป็นไปตามคำแนะนำตาม GMP

5. การบรรจุ

5.1 ให้บรรจุเมรัยในภาชนะบรรจุที่เหมาะสม สะอาด แห้ง ปิดได้สนิท และไม่ทำปฏิกิริยากับเมรัยที่บรรจุอยู่

5.2 ปริมาตรสุทธิของเมรัยในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก

6. เครื่องหมายและฉลาก

6.1 ที่ภาชนะบรรจุเมรัยทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมี เลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน

(1) ชื่อผลิตภัณฑ์

(2) ชนิดของเมรัย เช่น กะแช่ น้ำตาลเมา ไวน์น้ำผึ้ง

(3) แรงแอลกอฮอล์ เป็นดีกรี หรือ ร้อยละโดยปริมาตร

(4) ปริมาตรสุทธิ

(5) ส่วนประกอบหลัก หรือวัตถุดิบที่ใช้

(6) กรณีใช้สีสังเคราะห์หรือวัตถุเจือปนอาหารให้ระบุ

(7) คำเตือนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด เช่น การดื่มสุราทำให้ความสามารถในการขับขี่ยานพาหนะลดลง

(8) วัน เดือน ปีที่บรรจุ

(9) ชื่อผู้ทำ หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน

ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น ยกเว้นข้อ (7) ต้องเป็นภาษาไทย

7. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน

7.1 รุ่น ในที่นี้ หมายถึง เมรัยที่ทำจากวัตถุดิบและกรรมวิธีในการทำเดียวกัน และบรรจุในคราวเดียวกัน

7.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้

7.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบคุณลักษณะทางเคมี สิ่งแปลกปลอมความเสถียร วัตถุเจือปนอาหารการบรรจุและเครื่องหมายและฉลากให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 6 หน่วยภาชนะบรรจุในกรณีที่เป็นภาชนะบรรจุขนาดเล็ก ให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่มจนได้ตัวอย่างปริมาตร 4 ลิตร เมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.1 ข้อ 3.3 ข้อ 3.4 ข้อ 5. และข้อ 6. จึงจะถือว่าเมรัยรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

7.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบคุณลักษณะทางกายภาพ ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันจำนวน 4 หน่วยภาชนะบรรจุเมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 3.2 จึงจะถือว่าเมรัยรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

7.3 เกณฑ์ตัดสิน

ตัวอย่างเมรัยต้องเป็นไปตามข้อ 7.2.1 และข้อ 7.2.2 ทุกข้อ จึงจะถือว่าเมรัยรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้

8. การทดสอบ

8.1 การทดสอบคุณลักษณะทางเคมี

ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ

8.2 การทดสอบคุณลักษณะทางกายภาพ

8.2.1 ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ 10 คน และแต่ละคนจะแยกกันตรวจและให้คะแนนโดยอิสระ

8.2.2 คุณสมบัติของคณะผู้ตรวจสอบ ให้เป็นไปตาม GMP

8.2.3 หลักเกณฑ์การให้คะแนน ให้เป็นไปตาม GMP

8.3 การทดสอบสิ่งแปลกปลอมความเสถียร ภาชนะบรรจุและเครื่องหมายและฉลาก

ให้ตรวจพินิจ

8.4 การทดสอบปริมาตรสุทธิ

ให้ใช้เครื่องวัดปริมาตรที่เหมาะสม

8.5 การทดสอบวัตถุเจือปนอาหาร

ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ

Reference

http://app.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps34_46.pdf

 



(เข้าชม 259 ครั้ง)

สมัครสมาชิก