มผช.739/2548
เมล็ดทานตะวันอบ
1. ขอบข่าย
1.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ครอบคลุมเมล็ดทานตะวันอบที่มีเปลือกและที่กะเทาะเปลือกออกแล้วบรรจุในภาชนะบรรจุ
ที่มา:http://www.thaitambon.com/tambon/tsmepdesc.asp?Prod=031120152654&ID=160206&SME=01112914926
2. บทนิยาม
ความหมายของคำที่ใช้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้ มีดังต่อไปนี้
2.1 เมล็ดทานตะวันอบ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำเมล็ดทานตะวันดิบที่คัดเมล็ดเสียและลีบออกมาต้มในน้ำเกลือแล้วทำให้แห้ง อาจนำมากะเทาะเปลือกแล้วคัดแยกเมล็ดออกจากเปลือก
3. ชนิด
3.1 เมล็ดทานตะวันอบ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
3.1.1 เมล็ดทานตะวันอบทั้งเปลือก
3.1.2 เมล็ดทานตะวันอบกะเทาะเปลือก
4. คุณลักษณะที่ต้องการ
4.1 ลักษณะทั่วไป
4.1.1 เมล็ดทานตะวันอบทั้งเปลือก
ในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องมีขนาดใกล้เคียงกัน อาจมีขนาดที่แตกต่างกันปะปนอยู่บ้าง และเมื่อแกะเปลือกออกแล้ว อาจมีเมล็ดลีบหรือสีผิดปกติได้บ้างเล็กน้อย
4.1.2 เมล็ดทานตะวันอบกะเทาะเปลือก
ในภาชนะบรรจุเดียวกันต้องมีขนาดใกล้เคียงกัน อาจมีขนาดที่แตกต่างกันปะปนอยู่บ้าง และอาจมีเมล็ดลีบหรือสีผิดปกติได้บ้างเล็กน้อย
4.2 กลิ่นรส
ต้องมีกลิ่นรสที่ดีตามธรรมชาติของเมล็ดทานตะวันอบ ปราศจากกลิ่นรสอื่นที่ไม่พึงประสงค์
4.3 ลักษณะเนื้อสัมผัส
ต้องกรอบ ไม่แข็งกระด้าง
เมื่อตรวจสอบโดยวิธีให้คะแนนตามข้อ 9.1 แล้ว ต้องได้คะแนนเฉลี่ยของแต่ละลักษณะจากผู้ตรวจสอบทุกคน ไม่น้อยกว่า 3 คะแนน และไม่มีลักษณะใดได้ 1 คะแนน จากผู้ตรวจคนใดคนหนึ่ง
4.4 สิ่งแปลกปลอม
ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์
4.5 ความชื้น
ต้องไม่เกินร้อยละ 5 โดยน้ำหนัก
4.6 วัตถุเจือปนอาหาร
ห้ามใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลทุกชนิด
4.7 จุลินทรีย์
4.7.1 จำนวนจุลินทรีย์ทั้งหมด ต้องไม่เกิน 1x 104 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
4.7.2 ราต้องน้อยกว่า 10 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม
5. สุขลักษณะ
5.1 สุขลักษณะในการทำเมล็ดทานตะวันอบ ให้เป็นไปตามคำแนะนำตามGMP
6. การบรรจุ
6.1 ให้บรรจุเมล็ดทานตะวันอบในภาชนะบรรจุที่สะอาด ปิดได้สนิท และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้
6.2 น้ำหนักสุทธิของเมล็ดทานตะวันอบในแต่ละภาชนะบรรจุ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก
7. เครื่องหมายและฉลาก
7.1 ที่ภาชนะบรรจุเมล็ดทานตะวันอบทุกหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นง่าย ชัดเจน
(1) ชื่อเรียกผลิตภัณฑ์ เช่น เมล็ดทานตะวันอบ เมล็ดทานตะวันอบเกลือ เมล็ดทานตะวันกะเทาะเปลือก
(2) ส่วนประกอบที่สำคัญ
(3) น้ำหนักสุทธิ
(4) ข้อแนะนำในการเก็บรักษา เช่น ควรเก็บไว้ในที่แห้ง
(5) วัน เดือน ปี ที่ทำ และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า "ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) "
(6) ชื่อผู้ทำ หรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน
ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น
8. การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสิน
8.1 รุ่น ในที่นี้ หมายถึง เมล็ดทานตะวันอบชนิดเดียวกัน ทำในระยะเวลาเดียวกัน
8.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ ให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้
8.2.1 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบสิ่งแปลกปลอมการบรรจุและเครื่องหมายและฉลากให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 4.4 ข้อ 6. และข้อ 7. จึงจะถือว่าเมล็ดทานตะวันอบรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
8.2.2 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบลักษณะทั่วไป กลิ่นรสและลักษณะเนื้อสัมผัสให้ใช้ตัวอย่างที่ผ่านการทดสอบตามข้อ 8.2.1 แล้ว จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเมื่อตรวจสอบแล้วทุกตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 4.1 ถึงข้อ 4.6 จึงจะถือว่าเมล็ดทานตะวันอบรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
8.2.3 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบความชื้นและวัตถุเจือปนอาหารให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเพื่อทำเป็นตัวอย่างรวม โดยมีน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า 200 กรัม กรณีตัวอย่างไม่พอให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันให้ได้ตัวอย่างที่มีน้ำหนักรวมตามที่กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 4.5 และข้อ 4.6 จึงจะถือว่าเมล็ดทานตะวันอบรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
8.2.4 การชักตัวอย่างและการยอมรับ สำหรับการทดสอบจุลินทรีย์ให้ชักตัวอย่างโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกัน จำนวน 3 หน่วยภาชนะบรรจุเพื่อทำเป็นตัวอย่างรวม โดยมีน้ำหนักรวมไม่น้อยกว่า 200 กรัมกรณีตัวอย่างไม่พอให้ชักตัวอย่างเพิ่มโดยวิธีสุ่มจากรุ่นเดียวกันให้ได้ตัวอย่างที่มีน้ำหนักรวมตามที่กำหนด เมื่อตรวจสอบแล้วตัวอย่างต้องเป็นไปตามข้อ 4.7 จึงจะถือว่าเมล็ดทานตะวันอบรุ่นนั้นเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด
8.3 เกณฑ์ตัดสิน
ตัวอย่างเมล็ดทานตะวันอบต้องเป็นไปตามข้อ 8.2.1 ข้อ 8.2.2 ข้อ 8.2.3 และข้อ 8.2.4 ทุกข้อ จึงจะถือว่าเมล็ดทานตะวันอบรุ่นนั้นเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนนี้
9. การทดสอบ
9.1 การทดสอบลักษณะทั่วไป กลิ่นรสและลักษณะเนื้อสัมผัส
9.1.1ให้แต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบ ประกอบด้วยผู้ที่มีความชำนาญในการตรวจสอบเมล็ดทานตะวันอบอย่างน้อย 5 คน แต่ละคนจะแยกกันตรวจและให้คะแนนโดยอิสระ
9.1.2 เทตัวอย่างเมล็ดทานตะวันอบลงในจานกระเบื้องสีขาว ตรวจสอบโดยการตรวจพินิจและชิม
9.1.3 หลักเกณฑ์การให้คะแนน ให้เป็นไปตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 หลักเกณฑ์การให้คะแนน
(ข้อ 9.1.3)
9.2 การทดสอบสิ่งแปลกปลอมภาชนะบรรจุและเครื่องหมายและฉลาก
ให้ตรวจพินิจ
9.3 การทดสอบความชื้นและวัตถุเจือปนอาหาร
ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
9.4 การทดสอบจุลินทรีย์
ให้ใช้วิธีทดสอบตาม AOAC หรือ BAM หรือวิธีทดสอบอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
9.5 การทดสอบน้ำหนักสุทธิ
ให้ใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม
Reference