เอนไซม์ตรึงรูป (immobilized enzyme) คือรูปแบบของเอนไซม์ที่พัฒนาเพื่อนำมาใช้ในการแปรรูป โดยการเปลี่ยนสถานะของเอนไซม์จากสารเร่งปฏิกิริยาที่เป็นของเหลว ให้กลายมาเป็นสารเร่งปฏิกิริยาที่เป็นของแข็งที่ไม่ละลายในน้ำ หรือละลายในได้น้อยมาก โดยการนำเอาเอนไซม์อิสระมาจำกัดให้อยู่ในขอบเขตที่กำหนดหรือจัดไว้ หรือนำมาจับยึดไว้กับตัวกลางที่ไม่ละลายในน้ำ หรือทำให้โมเลกุลเอนไซม์จับเชื่อมกันเองจนมีขนาดใหญ่ขึ้น ก่อนทำปฏิกิริยาเป็นของแข็ง ขณะทำปฏิกิริยาก็เป็นของแข็ง หลังทำปฏิกิริยาก็ยังคงสภาวะเป็นของแข็งอยู่
ที่มา : http://enzymetechnology.blogspot.com/2009/10/enzyme-technology.html
เอนไซม์ตรึงรูปมีข้อดีคือ เมื่อใช้งานแล้วสามารถแยกนำกลับมาใช้งานได้อีกหลายครั้ง จนกว่าความสามารถในการเร่ง ปฏิกิริยาของเอนไซม์จะลดต่ำลงมาก ทำให้ประหยัดกว่าการใช้ในรูปเอนไซม์อิสระ และสามารถใช้สภาวะในการทำปฏิกิริยาที่แตกต่างไปจากเอนไซม์อิสระดั้งเดิมได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเลือกชนิดของตัวกลางที่ใช้จับยึด กับวิธีการตรึงรูป ดังนั้นจึงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กว้างขวางมากกว่าการใช้เอนไซม์อิสระ ซึ่งจะต้องใช้สภาวะการทำปฏิกิริยาที่จุดหนึ่งที่เหมาะสมเท่านั้น
เอนไซม์ตรึงรูปที่ใช้ในการแปรรูปอาหาร เช่น เอนไซม์เรนนิน (rennin) เพื่อย่อยโปรตีนเคซีน (casein) ในน้ำนม เพื่อผลิตเนยแข็ง