กล้วยหอม ชื่อสามัญ Gros Michel มีชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Musa sapientum Linn.Fam จัดเป็นพืชเศรษฐกิจ เป็นผลไม้เขตร้อน
(tropical fruit) ปลูกมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก แบ่งตามอัตราการหายใจ จัดเป้นผลไม้ประเภท climacteric fruit
ลักษณะทั่วไป
ลำต้นเป้น ลำต้นเทียมสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร ตามลำต้นด้านนอกมีประสีดำเล็กน้อย
ด้านในสีเขียวอ่อน เส้นลายมีสีชมพู
ใบ ก้านใบมีร่องกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบมีสีเขียว
ดอก ก้านช่อดอกมีขนใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด
ผล เครือหนึ่งมี 4-6 หวี หวีละ 12-16 ผล ปลายผลมีจุกเห็นชัด เปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุก
จะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน
ประโยชน์ กล้วยหอมมีสารน้ำตาลอยู่ 3 ชนิดได้แก่ ซูโครส (sucrose) ฟรักโทส (fructose) และกลูโคส (glucose) ให้
พลังงานแก่ร่างกายพร้อมนำไปใช้ทันที การรับประทานกล้วยหอมสุกเป็นประจำจะทำให้ร่างกายได้รับสารเพกทิน โปรตีน
วิตามินเอ วิตามินซี รวมถึงธาตุฟอสฟอรัสและแคลเซียม บำรุงสายตาให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ยับยั้งการเกิดโรคต่างๆ
ในช่องปาก ลดการเกิดตะคริว และกล้วยหอมเป็นผลไม้เย็น ผ่อนร้อนได้ เส้นใยในกล้วยหอมช่วยการย่อยในลำไส้เล็ก
นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ทางยา เช่น
ผล ขับปัสสาวะ
ผลดิบ ช่วยแก้โรคท้องเสีย
ผลสุก ใช้เป็นอาหาร กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข
ราก ใช้ต้มน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
การแปรรูปกล้วยหอม
ผลดิบและผลสุกของกล้วยหอมสามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด ดังนี้
ผลดิบ สามารถนำมาทำกล้วยหอมทอดอบเนย/น้ำผึ้ง กล้วยฉาบ
ผลสุก สามารถนำมาทำกล้วยตาก กล้วยกวน น้ำผลไม้ ทอฟฟี่ ข้าวเกรียบ
http://it.doa.go.th/vichakan/news.php?newsid=3
http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/7436
http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=8804
เบญจมาศ ศิลาย้อย 2555 การแปรรูปกล้วย สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 30